นักกฎหมายเผยความจริงโต้ข้ออ้างผู้ต่อต้านหน้ากาก

A pedestrian wears a mask in Melbourne on Thursday.

A pedestrian wears a mask in Melbourne on Thursday. Source: Getty Images

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย อธิบายข้อเท็จจริง เกี่ยวกับข้ออ้างที่ผู้ต่อต้านการสวมหน้ากาก เพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ในเมลเบิร์น นำมาอ้าง


สิ่งหนึ่งที่เพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในเมลเบิร์นคือ การเพิ่มขึ้นของผู้คนที่ถ่ายวิดีโอตนเองในหลายๆ สถานที่ ขณะต่อต้านการถูกบอกให้สวมหน้ากากปกคลุมปากและจมูก โดยบุคคลเหล่านี้ใช้ข้ออ้างที่เหมือนๆ กันในการไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัยตามที่รัฐออกคำสั่ง เอสบีเอส ได้ไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพื่อพิสูจน์ว่าข้ออ้างของผู้คนเหล่านี้มีมูลหรือไม่

กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงาน

ในวิดีโอหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ไปเป็นวงกว้างในโลกออนไลน์ เป็นเหตุพิพาทของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ห้างบันนิงส์ (Bunnings) ในเมลเบิร์น ซึ่งพนักงานขอให้เธอสวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าปกคลุมปากและจมูกขณะเข้าไปในห้าง

“คุณไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะมาถามฉันหรือตั้งคำถามกับฉันในเรื่องนี้” หญิงผู้นั้น กล่าว

ผู้ที่ต่อต้านการสวมหน้ากากจำนวนมากอ้าง “ข้อโต้แย้งปลอมๆ ทางกฎหมาย” ที่เผยแพร่อยู่ตามเว็บไซต์ทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ และตามสื่อสังคมออนไลน์

ข้ออ้างผิดๆ: การบังคับให้สวมหน้ากากไม่ได้ผ่านการอนุมัติเป็นกฎหมาย

หนึ่งในข้ออ้างแรกๆ ที่พวกเขานำมาใช้คือ: การบังคับให้สวมหน้ากากไม่ได้ผ่านการอนุมัติให้ตราเป็นกฎหมาย

นับตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์นและมิตแชลล์ ไชร์ ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าปกคลุมปากและจมูก เมื่อออกจากเคหสถาน โดยมีข้อยกเว้นให้บางอย่างเท่านั้น

ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามอาจถูกปรับ 200 ดอลลาร์

แต่ข้ออ้างที่ เอสบีเอส นิวส์ ได้เห็นผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากนำมาใช้คือ “มันยังไม่ถูกอนุมัติให้ตราเป็นกฎหมาย มันไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาให้ตราเป็นกฎหมาย”

รศ.ลุค เบ็ก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช กล่าวว่า นี่เป็นหนึ่งใน “ข้อโต้แย้งปลอมๆ ทางกฎหมาย” ที่ผิดอย่างสิ้นเชิง
แน่นอนที่สุดว่า มันเป็นกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติด้านสาธารณสุขและสวัสดิภาพ (Public Health and Wellbeing Act) ในรัฐวิกตอเรียได้ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาให้ตราเป็นกฎหมาย
"กฎหมายนี้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของรัฐบาลสามารถกำหนดข้อบังคับต่างๆ ได้ เช่น ขณะนี้พวกเราต้องสวมหน้ากาก และออกจากบ้านได้ด้วยเหตุผลเพียง 4 ข้อที่กำหนดไว้เท่านั้น กฎหมายนี้ยังกล่าวต่อไปว่า ผู้ใดที่ขัดคำสั่ง ผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบการเสียค่าปรับ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้” รศ.เบ็ก ชี้แจง

รศ.โจนาธาน ลิเบอร์แมน จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า ข้อบังคับใหม่นี้ “ถูกต้องตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์”

“คำสั่งเหล่านี้ออกภายใต้ พรบ.ด้านสาธารณสุขและสวัสดิภาพ (Public Health and Wellbeing Act) ซึ่งอยู่ภายในขอบเขตอำนาจของรัฐบาล และสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการซึ่งรัฐบาลต่างๆ ใช้อำนาจของตนในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของเชื้อโรคในขณะนี้” รศ. ลิเบอร์แมน กล่าว

Image

ข้ออ้างผิดๆ: การบังคับให้สวมหน้ากากละเมิดสิทธิมนุษยชน

ข้อโต้แย้งอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากนำมาอ้างคือ “มันละเมิดสิทธิมนุษยชนของฉัน”

หญิงผู้นี้ที่ห้างบันนิงส์ ในเมลเบิร์น ที่ถูกพนักงานห้างขอให้เธอสวมหน้ากากขณะเข้าไปในห้าง ใช้ข้ออ้างนี้

“มันละเมิดกฎบัตรด้านสิทธิมนุษยชนปี 1948 ด้วยการเลือกปฏิบัติต่อชายและหญิง” หญิงผู้นี้กล่าว

แต่ รศ.เบ็ก ปัดตกข้ออ้างนี้ไป

“อย่างแรกคือ เธออ้างผิด เธออ้างถึงปี 1948 ซึ่งมีเอกสารที่เรียกว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่นั่นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายออสเตรเลีย กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาด ไม่มีสิทธิ์ใดภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่าจะไปห้างบันนิงส์ได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากาก ไม่มีอะไรแบบนั้น”
แต่กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักว่า การจำกัดเสรีภาพด้านทางเลือกของบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน หากข้อจำกัดนั้นเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย นั่นคือ การปกป้องสุขภาพของสาธารณะ
“แต่กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักว่า การจำกัดเสรีภาพด้านทางเลือกของบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน หากข้อจำกัดนั้นเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย นั่นคือ การปกป้องสุขภาพของสาธารณะ ซึ่งความจริงแล้วเป็นการปกป้องสิทธิ์ของผู้อื่น คือสิทธิ์ที่จะมีสุขภาพดี” รศ.เบ็ก ระบุ

รศ.ลิเบอร์แมน เห็นด้วย

“สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำขณะนี้คือ กำหนดให้ผู้คนต้องสวมหน้ากาก เพื่อปกป้องสุขภาพของชุมชน และมีส่วนช่วยทำให้พวกเรายังคงสามารถมีสิทธิ์ของเราที่จะมีชีวิตอยู่และมีสิทธิ์ที่จะมีสุขภาพดี” รศ.ลิเบอร์แมน อธิบาย

ข้ออ้างผิดๆ: หากไม่ยอมรับกฎหมายอะไร ก็แค่ให้บอกว่า ฉันไม่ยินยอม

ข้อโต้แย้งที่สามที่ผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากนำมาใช้คือ: “ฉันไม่ยินยอม” (I don’t consent.)

มีวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ออกมาและถูกอภิปรายกันทางสื่อสังคมออนไลน์คือ แนวคิดที่ว่า ผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากไม่จำเป็นต้องยินยอมหรือยอมรับในสิ่งที่ตำรวจพูด

แนวทางปฏิบัติที่ผิดๆ ซึ่งถูกแชร์ออนไลน์ กล่าวว่า ให้ผู้คนเพียงแค่บอกว่า “ฉันไม่ยินยอมสำหรับค่าปรับ 200 ดอลลาร์นี้”

แต่ รศ.ลิเบอร์แมน ชี้แจงในประเด็นนี้ว่า
กฎหมายไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ทุกคนเลือกได้ว่า จะยินยอมสำหรับกฎหมายใด และกฎหมายใดที่ไม่ยินยอม
Lizzy Rose
Anti-masker Lizzy Rose appeared on The Today Show after posting a video in Bunnings where she refused to wear a face mask. Source: Instagram/ lizzyroseoracle

ข้ออ้างผิดๆ: พลเมืองไม่จำเป็นต้องตอบคำถามของตำรวจ

ผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากหลายคน ยังแชร์ข้ออ้างที่ว่าพลเมืองไม่จำเป็นต้องตอบคำถามของตำรวจ

“มันเป็นหลักการเก่าแก่ของกฎหมายจารีตประเพณี (the common law) ที่ว่าบุคคลไม่มีข้อผูกพันใดที่จะต้องหยุดให้ตำรวจตรวจ หรือตอบคำถามของตำรวจ” ข้อมูลของผู้ต่อต้านระบุ

แต่ รศ. เบ็ก กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า

“เนื่องจากการบัญญัติกฎหมายได้มาแทนที่กฎหมายจารีตประเพณี และกฎหมายที่บัญญัติขึ้นได้บังคับให้ประชาชนต้องแจ้งชื่อและรายละเอียดกับตำรวจ” รศ. เบ็ก ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ชี้แจง

ข้ออ้างผิดๆ: ฉันจะฟ้องร้องเพราะคุณเลือกปฏิบัติ

ข้ออ้างที่สี่คือ: “ฉันจะฟ้องร้อง”

ในวิดีโอหญิงผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากขู่จะดำเนินการฟ้องร้องบันนิงส์

“มันเป็นเงื่อนไขการอนุญาตให้เข้าที่ไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งทำให้คุณและบันนิงส์เสี่ยงถูกฟ้องร้องข้อหาเลือกปฏิบัติได้” หญิงผู้ต่อต้านการสวมหน้ากากขู่

รศ.เบ็ก กล่าวว่า บันนิงส์ไม่ได้ละเมิดกฎหมายใดๆ ด้วยการกำหนดให้ลูกค้าต้องสวมหน้ากาก

“กฎหมายสำหรับพื้นที่ส่วนบุคคลอนุญาตให้เจ้าของพื้นที่นั้นกำหนดให้ผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ของพวกเขาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พวกเขากำหนด เช่น คุณเห็นป้ายหน้าร้านค้า ที่บอกว่า มีเงื่อนไขในการอนุญาตให้เข้า เช่น ต้องสวมรองเท้าในผับ หรือห้ามสวมเสื้อกล้าม หรือในร้านค้าปลีก ที่มีเงื่อนไขว่า คุณต้องเปิดกระเป๋าให้ตรวจ นั่นเป็นลักษณะทั่วไปทางกฎหมายของพื้นที่ส่วนบุคคล” รศ.เบ็ก กล่าว

เขากล่าวต่อไปว่า ในสถานการณ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาพุ่งสูงในเมลเบิร์น แนวคิดการต่อต้านการสวมหน้ากากอนามัยหรือการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเหล่านี้ จะก่อให้เกิดอันตรายตามมา

ผู้คนเหล่านี้กำลังพยายามส่งเสริมให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่สร้างความเสี่ยงภัยด้านสุขภาพให้แก่ผู้คน และในที่สุดแล้วนี่จะนำไปสู่การที่ข้อจำกัดเหล่านี้จะถูกบังคับใช้นานขึ้นอีกมาก ดังนั้น นี่เป็นประเด็นเร่งด่วน คนเหล่านี้ยังส่งเสริมการปฏิเสธกฎหมาย และปฏิเสธการที่พวกเราจะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสมัครสมานสามัคคีอีกด้วย” รศ.ลุค เบ็ก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช กล่าวทิ้งท้าย
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์นต้องปฏิบัติตามคำสั่ง “ให้อยู่บ้าน” และสามารถออกจากเคหสถานได้เฉพาะเมื่อออกไปทำงานหรือไปเรียน ไปออกกำลังกาย ไปทำหน้าที่ให้การดูแล และไปซื้ออาหารหรือสิ่งของจำเป็นเท่านั้น ยังมีคำแนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะด้วย

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share