อย่าเพาะเมล็ดพืชปริศนาที่ได้รับทางไปรษณีย์

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยชีวภาพออสฯ พบเมล็ดพืชปริศนาจากประเทศแถบเอเชียส่งไปตามบ้านทั่วประเทศ ย้ำ 'ห้ามปลูก-ห้ามทิ้งลงถัง' ทำลายสิ่งแวดล้อม รุกรานพื้นท้องถิ่น

A package of mystery seeds sent to an American resident.

A package of mystery seeds sent to an American resident similar to those that have been found in Australia. Source: US Department of Agriculture

เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพได้ขอความร่วมมือชาวออสเตรเลียอย่าเพาะเมล็ดพันธ์ปริศนาที่ได้รับทางไปรษณีย์ หลังมีรายงานการพบเมล็ดพืชส่งไปตามที่อยู่ทั่วประเทศ โดยมีต้นทางมาจากประเทศในทวีปเอเชีย 

เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลีย (Australian Biosecurity) ได้พบพัสดุบรรจุเมล็ดพืช 36 ชิ้น ระบุปลายทางเป็นที่อยู่ในออสเตรเลีย ภายในบรรจุเมล็ดพืชไม่ทราบชนิด ซึ่งผู้รับไม่ได้สั่งซื้อ

พัสดุดังกล่าว ปรากฏที่อยู่ผู้ส่งจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงประเทศจีน มาเลเซีย ปากีสถาน และไต้หวัน 

ปรากฏการณ์พัสดุปริศนา ได้ทำให้สหพันธ์เมล็ดพืชออสเตรเลีย (Australian Seed Federation) ได้ประกาศเตือนไปยังสาธารณะชน ให้ติดต่อหน่วยงานเกษตรกรรมในรัฐบาลสหพันธรัฐ (Department of Agriculture) ทันทีที่ได้รับเมล็ดพืชปริศนาที่ไม่ได้สั่งซื้อ

“ถ้าคุณได้รับพัสดุที่มีเมล็ดพันธ์พืชซึ่งคุณไม่ได้สั่งซื้อ โปรดรายงานไปยังเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้” นายออสมัน มีเวตต์ (Osman Mewett)ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสหพันธ์เมล็ดพืชออสเตรเลียกล่าว 

“คุณควรเพาะเมล็ดพืชจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่รู้จักเท่านั้น"
Seed packet
An unsolicited seed packet recieved in Australia. Source: Supplied: Department Of Agriculture, Water And Environment
องค์กรดังกล่าวระบุว่า เมล็ดพืชซึ่งไม่ทราบแหล่งที่มา สร้างความเสี่ยงอย่างมากให้กับความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลีย ซึ่งอาจทำให้เกิดการรุกรานจากพืชต่างถิ่น รวมถึงวัชพืชในระบบนิเวศของออสเตรเลีย 

“ชาวสวน และผู้เพาะปลูกพืชผักสวนครัวในออสเตรเลีย ต่างคาดหวังเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การทำให้แน่ใจว่าเมล็ดพืชมีสุขภาพดีนั้น เป็นเรื่องสำคัญของอุตสาหกรรมเมล็ดพืชของออสเตรเลีย” นายมีเวตต์กล่าว

“เมล็ดพันธุ์ที่มีสุขภาพดี ปราศจากโรคเมล็ดพืช เป็นสิ่งที่จำเป็นในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน”

“การรักษาเมล็ดพืช รวมถึงพืชที่งอกงามให้มีสุขภาพดีนั้น เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แน่ใจว่า ออสเตรเลียมีแหล่งผลิตอาหารที่ยังยืน และเป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อม รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรของออสเตรเลีย” 
ออสเตรเลียได้กวดขันกฎหมายด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเมล็ดพืชทั้งหมดที่ได้รับการนำเข้ามายังออสเตรเลีย จะถูกตรวจสอบโดยละเอียด เพื่อทำให้แน่ใจว่าพวกมันจะไม่กลายเป็นพืชรุกรานสิ่งแวดล้อมของประเทศ 

หากคุณได้รับเมล็ดพืชทางจดหมายโดยที่คุณไม่ได้สั่งซื้อ อย่าเพาะเมล็ดพืชเหล่านั้น อย่าทิ้งลงในถังขยะ เก็บไว้ให้ปลอดภัย และรายงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางชีวภาพโดยทันที” นางเอมิลี แคนนิง (Emily Canning) หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ กล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 

“การนำเข้าเมล็ดพืชที่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขความปลอดภัยทางชีวภาพ จะเป็นภัยคุกคามสิ่งแวดล้อมของเรา รวมไปถึงอุตสาหกรรมการเกษตร และพืชผักสวนครัว”

เมื่อช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานการพบเมล็ดพืชปริศนาถูกส่งไปตามบ้านในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ในสหรัฐ ฯ ทั้ง 50 รัฐ โดยหน่วยงานด้านการเกษตรของสหรัฐ ฯ ได้ตรวจพบเพมล็ดพืชมากกว่า 140 เมล็ด ส่งไปยังประชาชนทางจดหมาย พบเป็นพืชผัก ผลไม้ ไม้ประดับ สมุนไพร และวัชพืช

เจ้าหน้าที่การเกษตรของสหรัฐ ฯ เชื่อว่า เมล็ดพืชดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสร้างคำสั่งซื้อปลอมของร้านค้าทางออนไลน์ (brushing scam) บนแพลตฟอร์ม e-commerce อย่าง eBay และ Amazon เพื่อใช้สวมรอยในการเขียนข้อคิดเห็นและให้คะแนนเกี่ยวกับสินค้าของตนเอง


ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์น (Metropolitan Melbourne) อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ระดับ 4 และจะต้องปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น.-5.00 น.

ในระหว่างช่วงเวลาที่ห้ามออกจากเคหสถาน ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อไปทำงาน หรือไปรับบริการด้านสุขภาพหรือไปรับการดูแลที่จำเป็น หรือเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยเท่านั้น

ระหว่างเวลา 5.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 20.00 น. ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อออกกำลังกาย เพื่อไปซื้อของจำเป็นและไปรับบริการที่จำเป็น ไปทำงาน ไปรับบริการด้านสุขภาพ หรือไปให้การดูแลญาติที่ป่วยหรือผู้สูงอายุเท่านั้น

รายละเอียดข้อจำกัดทั้งหมดสามารถดูได้  ชาวรัฐวิกตอเรียทุกคนจะต้องสวมหน้ากากหรือผ้าปกคลุมจมูกและปากเมื่อออกจากเคหสถาน ไม่ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 26 August 2020 5:48pm
Updated 26 August 2020 6:13pm
By Naveen Razik
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends