ขบวนการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวชุกชุมช่วงโควิด

A person takes a photo of their credit card on their mobile phone to send to a scammer.

A person takes a photo of their credit card on their mobile phone to send to a scammer. Source: Getty

หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลียเตือนประชาชนระวังการถูกหลอกลวงโดยเหล่ามิจฉาชีพทางออนไลน์ ที่มุ่งเป้าไปยังเงินเยียวยาความเดือนร้อนช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา รวมถึงเงินสะสมหลังเกษียณ (เงินซูเปอร์) โดยในปีนี้ พบชาวออสเตรเลียถูกขโมยข้อมูลส่วนไปแล้วตัวนับพันราย


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงานเรื่องนี้

การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ทำให้ชาวออสเตรเลียจำนวนมากต้องปรับวิถีชีวิตในหลายรูปแบบ รวมถึงการใช้ชีวิตในพื้นที่ดิจิทัล จากการทำงานจากที่บ้านที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการอยู่บ้านมากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ 

มีรายงานล่าสุดที่พบว่า พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของชาวออสเตรเลียนั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น ของการถูกหลอกลวงโดยเหล่ามิจฉาชีพทางออนไลน์
คุณดีเลีย ริคาร์ด (Delia Rikard) จากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและผู้บริโภคออสเตรเลีย (ACCC) ได้เตือนว่า บรรดามิจฉาชีพกำลังกอบโกยเงินเข้ากระเป๋า

เรากำลังพบว่า บรรดามิจฉาชีพใช้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เป็นเครื่องมือ พวกเขารู้ว่าผู้คนอยู่ที่บ้าน และใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น พวกเขามีความเครียด และหลายคนประสบปัญหาทางการเงิน บรรดามิจฉาชีพกำลังใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐบาลมีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้คน” คุณริคาร์ดกล่าว     

“ผู้คนอาจไม่จำเป็นต้องรู้ว่าทุกอย่างทำงานอย่างไร ดังนั้น บรรดามิจฉาชีพจะติดต่อผู้คนทางโทรศัพท์ อีเมล หรือข้อความบนโทรศัพท์มือถือ และอ้างว่าพวกเขาสามารถช่วยคุณเข้าถึงสิทธิประโยชน์เหล่านนั้นได้ พร้อมกับขอข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงข้อมูลบัญชีธนาคาร ข้อมูลกองทุนเงินซูเปอร์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นในการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของคุณ”

ACCC ได้ประมาณว่า ชาวออสเตรเลียได้สูญเงินให้กับบรรดามิจฉาชีพไปเป็นมูลค่า $91 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ความเสียหายเฉพาะการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวเพียงอย่างเดียว คิดเป็นมูลค่า $22 ล้านดอลลาร์​มีหญิงรายหนึ่งสูญเงินไป $62,000 ดอลลาร์ จากบัญชีในชื่อของเธอเอง ขณะที่หญิงอีกรายหนึ่งสูญเงินไปเป็นจำนวน $181,000 ดอลลาร์ จากเว็บไซต์หาคู่

คุณจูเลีย รอบสัน (Julia Robson) นักสืบเอกชน กล่าวว่า จำนวนลูกค้าของเธอที่ตกเป็นเหยื่อของนักต้มตุ๋นพิศวาสออนไลน์ (romance scam) ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

“เพราะสถานการณ์โควิด ทำให้ผู้คนไม่สามารถไปพบกันได้แบบตัวต่อตัว นั่นคือข้อได้เปรียบอย่างมากสำหรับนักต้มตุ๋น เพราะพวกเขาเริ่มเกลี้ยกล่อมคุณ ในขั้นตอนนี้เองจะเป็นจุดที่พวกเขาเริ่มขอเงินจากคุณ จากนั้นก็สัญญาว่าจะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งมวลรวมกัน หมายความว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว คุณก็จะสูญเงินไปทั้งหมด” คุณร็อบสันกล่าว

สิ่งนี้เกิดขึ้นกับ คุณแจน มาร์แชล (Jan Marshall) หลังจากที่เธอหมั้นกับชายคนหนึ่งเพียง 5 สัปดาห์ เธอถูกเขาหลอกหลวงจนสูญเงินไปมากกว่า $200,000 ดอลลาร์

“พวกเขาทำให้มันเป็นเรื่องพิเศษ และพูดอะไรในเชิงรักโรแมนติก ที่หลายคนอยากได้ยิน แต่ในความสัมพันธ์ปกติธรรมดาไม่มีใครพูดกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงมีพลัง เพราะมันเป็นเรื่องที่สะกิดใจเราในส่วนลึก ซึ่งเราต้องการเนื้อคู่ และต้องการใครสักคนที่อยู่เคียงข้าง และคิดว่าเราเป็นคนพิเศษ” คุณมาร์แชลล์กล่าว

คุณมูฮัมหมัด เอล-คาฟาจี (Mohammad El-Khafaji) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาพันธ์สภาชุมชนชาติพันธุ์แห่งออสเตรเลีย (The Federation of Ethnic Communities Councils of Australia หรือ FECCA) กล่าวว่า ผู้ที่มีภูมิหลังจากหลายภาษาและหลากวัฒนธรรม (CALD) เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป้นเป้าของมิจฉาชีพ 

“นอกจากข้อจำกัดด้านภาษาแล้ว ยังมีเรื่องของการขาดความเข้าใจการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ เมื่อคุณได้รับอีเมล์​ซึ่งอ้างว่ามาจากหน่วยงานมหาดไทยที่ขอเงินจากคุณ มิฉะนั้นคุณอาจถูกจับกุม นั่นจะทำให้ผู้คนเกิดความกลัว เหตุผลต่าง ๆ จะหายไป มันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรา ในการให้ความรู้กับชุมชนของเรา ว่าอะไรคือเรื่องปกติและอะไรเป็นการหลอกลวง เราจำเป็นต้องทำให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนได้ หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือคุณเอล-คาฟาจีกล่าว 

มีข้อมูลใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า การโจรกรรมกรรมข้อมูลส่วนบุคคลปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55 ขณะที่บรรดามิจฉาชีพต่างพยายามที่จะขโมยข้อมูลทุกอย่าง ตั้งแต่รายละเอียดกองทุนเงินซูเปอร์ บัญชีธนาคาร ใบขับขี่ ไปจนถึงหมายเลขบัตรเมดิแคร์ เพื่อทำให้คะแนนยืนยันอัตลักษณ์บุคคลครบ 100 แต้ม ซึ่งเพียงพอที่จะเปิดบัญชีธนาคาร หรือบัตรเครดิตในชื่อของคนอื่น

ส่วนขบวนการหลอกลวงเพื่อเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 44 นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเริ่มต้น โดยกระทำลักษณะนี้ เหล่ามิจฉาชีพจะอ้างว่าเป็นตัวแทนจากรัฐบาล และติดต่อคุณผ่านทางโทรศัพท์ ข้อความ SMS หรืออีเมล  

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้เตือนชาวออสเตรเลียว่า อย่าเปิดลิงก์ต้องสงสัยที่คุณได้รับ โดยให้รายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทน ถ้าคุณคิดว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงต้มตุ๋น คุณสามารถใช้งานไปยัง ScamWatch ที่เว็บไซต์


ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์น (Metropolitan Melbourne) อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ระดับ 4 และจะต้องปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น.-5.00 น.

ในระหว่างช่วงเวลาที่ห้ามออกจากเคหสถาน ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อไปทำงาน หรือไปรับบริการด้านสุขภาพหรือไปรับการดูแลที่จำเป็น หรือเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยเท่านั้น

ระหว่างเวลา 5.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 20.00 น. ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อออกกำลังกาย เพื่อไปซื้อของจำเป็นและไปรับบริการที่จำเป็น ไปทำงาน ไปรับบริการด้านสุขภาพ หรือไปให้การดูแลญาติที่ป่วยหรือผู้สูงอายุเท่านั้น

รายละเอียดข้อจำกัดทั้งหมดสามารถดูได้  ชาวรัฐวิกตอเรียทุกคนจะต้องสวมหน้ากากหรือผ้าปกคลุมจมูกและปากเมื่อออกจากเคหสถาน ไม่ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

เหตุผลสำคัญที่ทำให้นักเรียนต่างชาติในออสฯ กลับบ้าน


Share