‘The Australian Wars’ คืออะไร? ทำไมถึงไม่มีการยอมรับประวัติศาสตร์การต่อสู้นี้?

AusWars_16x9.jpg

สารคดี The Australian Wars ทาง SBS On Demand Credit: Blackfella Films

‘Frontier Wars’ หรือ ‘The Australian Wars’ เป็นคำอธิบายถึงความขัดแย้งระหว่างผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคอาณานิคมของอังกฤษและชนพื้นเมืองออสเตรเลียที่มีมานับร้อยปี แต่ทำไมประวัติศาสตร์อันโหดร้ายนี่เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จัก


ประเด็นสำคัญ
  • The Australian Wars เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จัก หลังศาลตัดสินล้มล้างคำประกาศของกัปตันเจมส์ คุก
  • ชนพื้นเมืองลุกต่อต้านการยึดครองของจักรวรรดิอังกฤษตั้งแต่กองเรือขึ้นบกเมื่อค.ศ. 1788
  • บันทึกสมัยล่าอาณานิคมและหลักฐานทางโบราณคดีเผยถึงความขัดแย้งที่น่าสลดใจ

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คำเตือน: เนื้อหามีความรุนแรงและอาจกระทบกระเทือนจิตใจ

เมื่อครั้งกัปตันเจมส์ คุก เดินทางมาถึงชายฝั่งที่เรียกว่าออสเตรเลียในปัจจุบัน เขาเคยประกาศเรียกดินแดนนี้ว่าเทอร์รา นูลิอุส (Terra Nullius) แปลว่าดินแดนที่ไม่มีใครครอง

แท้จริงแล้ว ทวีปนี้เดิมเป็นของกลุ่มชนเผ่าอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสหลายร้อยชนเผ่า มีประชากรหลายแสนคน ซึ่งถูกมองว่าเป็นเพียงบริวารของราชวงค์อังกฤษ
สิ่งนี้กลายเป็นชนวนสงคราม ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองและผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคแรก โดยประวัติศาสตร์อันแสนโหดร้ายนี้เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จัก

ชาวอาร์รันดา (Arrernte) และคัลคาดูน (Kalkadoon) ผู้สร้างภาพยนต์เรื่อง The Australian Wars เผยถึงซีรีส์โทรทัศน์ที่ออกอากาศเมื่อปีค.ศ. 2022 เรื่องราวการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนของชนพื้นเมืองจากชาวอังกฤษที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคนั้น
เริ่มที่ชื่อเรื่อง ‘The Australian Wars’ ซึ่งหลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน เราตั้งใจเลือกใช้คำนี้
"เพราะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิอังกฤษในยุคแรก เมื่อครั้งเข้ายึดครองและอ้างสิทธิ์ในทวีปนี้ จนกลายเป็นรัฐบาลอาณานิคมของออสเตรเลียในปัจจุบัน และเป็นรัฐบาลสหพันธรัฐในเครือจักรภพแห่งออสเตรเลีย
Australian Wars เกิดขึ้นทั่วทั้งทวีป นับตั้งแต่กองเรือชุดแรก (first fleet) เดินทางมาถึงเมื่อปีค.ศ. 1788 จนถึงกลางทศวรรษ 1930 แต่เหตุความขัดแย้งครั้งประวัติศาสตร์นี้กลับไม่ถูกสอนในโรงเรียนหรือไม่ได้รับการยอมรับว่าเกิดขึ้น จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 20

นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลียและเชี่ยวชาญด้านสงครามกล่าวว่า เมื่อปีค.ศ. 1966 ที่เขาเริ่มสอนประวัติศาสตร์ แทบไม่มีการกล่าวถึงชนพื้นเมืองในหนังสือเลย

“มีการกล่าวถึงชนพื้นเมืองผ่านๆ เพียงสองครั้งเท่านั้น และไม่มีแม้แต่ในรายการดัชนี เพิ่งจะมีการยอมรับถึงความขัดแย้งไม่นานมานี้ ซึ่งจริงๆ แล้วคือสงคราม เมื่อไม่นานมานี้ แม้มันไม่ใช่สงครามตามภาพที่หลายคนในยุคใหม่เข้าใจกัน”

เพราะมันเป็นสงครามกองโจร

“ภาพที่เป็นสงครามเล็กๆ กระจัดกระจายในหลายพื้นที่ ไม่ดูเหมือนเป็นการทำสงครามสำคัญอะไร"
เพราะไม่มีการใส่เครื่องแบบ ไม่มีทหารเดินทัพ ไม่มีการรวมตัวขนาดใหญ่ และไม่มีการสู้รบตามความหมายของสงครามในยุคปัจจุบัน แต่มันเป็นสงครามรูปแบบหนึ่งอย่างชัดเจน
ศาสตราจารย์เรย์โนลด์สอธิบาย
Frontier War
ในยุคนั้นมีความขัดแย้งเรื่องชายแดนทั่วทั้งทวีปออสเตรเลีย Source: Supplied / Australian War Memorial
นักประวัติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามชายแดนออสเตรเลียเห็นด้วย

“ตอนนั้นพวกเขารู้ว่าเป็นสงคราม เอกสารอาณานิคมเรียกว่าสงคราม แต่ในศตวรรษที่ 20 และ 21 เราลืมเรื่องนี้ไปแล้ว"
ผมคิดว่าเป็นเหตุผลทางการเมืองที่ไม่ระบุว่ามันเป็นสงคราม
ด็อกเตอร์เคลเมนท์สกล่าว
และเหตุผลทางการเมืองนั้นย้อนกลับไปถึงแนวคิดเรื่องดินแดนที่ไม่มีผู้ใดครองและกฎหมายของจักรวรรดิอังกฤษ

“มีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ซึ่งเป็นหัวใจของสงครามนี้ เริ่มด้วยวิธีที่จักรวรรดิอังกฤษอธิบายถึงการยึดครองครั้งนี้ พวกเขาประกาศว่าชนพื้นเมืองได้กลายเป็นพลเมืองอังกฤษแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถประกาศสงครามอย่างเป็นทางการได้ เพราะการทำเช่นนั้นหมายความว่าพวกเขาประกาศสงครามกับพลเมืองของตนเอง อย่างไรก็ตามจักรวรรดิอังกฤษได้ใช้กำลังทหารเพื่อให้แน่ใจว่าการยึดครองทวีปประสบความสำเร็จ”
Rachel Perkins - The Australian Wars
คุณราเชล เพอร์กินส์ ผู้สร้างภาพยนต์ The Australian Wars Credit: Dylan River/Blackfella Films
การเริ่มยอมรับถึงสงครามเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เมื่อมีการตั้งคำถามถึงดินแดนที่ไม่มีใครครองและล้มล้างคำประกาศของกัปตันคุก เหตุการณ์นี้เรียกว่าคำตัดสินมาโบ (Mabo)

“ก่อนหน้านั้นชาวอะบอริจินถูกมองว่าไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้นการต่อสู้ของพวกเขาจึงไม่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน เพราะพวกเขาไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ดินตามกฎหมาย"
หลังการตัดสินในปีค.ศ. 1992 การมองถึงสงครามในครั้งนั้นเปลี่ยนไป เพราะชัดเจนว่าเป็นสงครามที่เกี่ยวกับการถือครองดินแดน
ดร.เคลเมนท์สกล่าว
ดร. เคลเมนท์กล่าวว่าการที่จักรวรรดิอังกฤษไม่ยอมรับการที่ชนพื้นเมืองเป็นเจ้าของดินแดนในออสเตรเลียนับว่าเป็นความผิดเพี้ยนทางประวัติศาสตร์

“หัวใจของการล่าอาณานิคมของอังกฤษในออสเตรเลียนั้นมีข้อแตกต่างจากการยึดครองประเทศอื่นๆ ที่ตกเป็นอาณานิคม อังกฤษไม่ยอมรับอธิปไตยของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการทำสนธิสัญญา (treaty) ไม่มีความพยายามเจรจากับประชาชนในท้องถิ่น และจนถึงทุกวันนี้เราไม่สามารถมองในมุมกฎหมายเพื่อทำความเข้าใจว่าชนพื้นเมืองมีสิทธิ์ต่อดินแดนอย่างไร” 
What is Native Title explainer NITV Eddie Koiki Mabo
เอ็ดดี มาโบและทีมทนายที่ศาลสูงออสเตรเลีย Credit: National Museum of Australia
การไม่เจรจานำไปสู่การนองเลือดอันโหดร้าย

บันทึกเรื่องการล่าอาณานิคมและหลักฐานทางโบราณคดีที่ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่น่าสยดสยอง

เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่เก็บซากศพของบรรพบุรุษของชาวอะบอริจินไว้กว่า 400 ราย และเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตโดยการประหารชีวิต การตัดหัว และการสังหารหมู่

คุณเพอร์กินส์กล่าวว่าลูกหลานของผู้ที่รอดชีวิตจะยังคงจดจำเรื่องนี้ตลอดไป

“ชาวอะบอริจินจำนวนมากเป็นผู้สืบทอดประวัติศาสตร์ ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพวกเขาให้ครอบครัวของพวกเขาฟัง"
ฉันโตมากับเรื่องการสังหารหมู่ของบรรพบุรุษของฉันที่รัฐควีนส์แลนด์ และรู้เรื่องที่คุณย่าทวดของฉันถูกข่มขืนอย่างรุนแรง และเรื่องอื่น
คุณเพอร์กินส์กล่าว
ที่แทสเมเนียเป็นสงครามชายแดนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1824 – 1831

จำนวนของชาวอังกฤษที่เสียชีวิตในสงครามแบล็ก วอร์ มีมากกว่าที่เสียชีวิตในเกาหลี มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนามรวมกัน

ดร. เคลเมนท์กล่าวว่าฝ่ายจักรวรรดิอังกฤษและผู้ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานยุคนั้นหวาดกลัวชนพื้นเมืองแทสเมเนีย

“การต่อต้านของชาวอะบอริจินนั้นน่าทึ่งมาก ทุกคนจะได้ยินข่าวคนจากอาณานิคมอังกฤษที่ถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายโดยชาวอะบอริจิน ที่เผาฟาร์มของพวกเขา มันน่ากลัวมากๆ จริงๆ แล้วหลายคนคิดจะย้ายออกไปจากอาณานิคมนี้”
Australian Aboriginal camp in the nineteenth century
ภาพแกะสลักค่ายของชาวอะบอริจินในศตวรรษที่ 19 Source: Getty / Getty Images
แต่สุดท้ายจักรวรรดิอังกฤษก็ชนะและเกือบทำลายล้างเผ่าพันธุ์ชนพื้นเมืองที่แทสเมเนีย
เราจะเกือบไม่มีลูกหลานชาวอะบอริจินในแทสเมเนียแล้ว เพราะพวกเขาถูกใช้ความรุนแรงกวาดล้างเกือบหมด
ดร.เคลเมนท์สกล่าว
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือความรุนแรงทางเพศ การข่มขืนและลักพาตัวหญิงชนพื้นเมืองเป็นเรื่องปกติ นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื้อว่าการอยู่รอดของชาวอะบอริจินบางชนเผ่าเป็นผลจากการล่วงละเมิดทางเพศ

“ชนวนที่จุดประกายความรุนแรงคือความรุนแรงทางเพศ เรื่องราวเกิดจากความไม่สมดุลทางเพศในสังคมอาณานิคม เช่น ที่แทสเมเนีย มีประชากรเพศชาย 10-12 คนต่อหญิง 1 คน และมีหญิงชาวอะบอริจินที่แปลกใหม่และเปลือยเปล่า ที่พวกเขาไม่มองว่าไม่จำเป็นต้องเคารพ”
Nowhere was resistance to white colonisers greater than from Tasmanian Aboriginal people, but within a generation only a few had survived the Black War.
ไม่มีที่ไหนที่มีการต่อต้านการล่าอาณานิคมของคนผิวขาวได้รุนแรงไปกว่าที่แทสเมเนีย แต่มีชนพื้นเมืองไม่กี่คนเท่านั้นที่รอดชีวิตจาก Black War Source: The Conversation / Robert Dowling/National Gallery of Victoria via The Conversation
ศาสตราจารย์เรย์โนลด์สอธิบายว่าเพื่อบดขยี้ชนพื้นเมืองที่ต่อต้านในหลายพื้นที่ของออสเตรเลีย นักล่าอาณานิคมได้ก่อตั้งกองตำรวจพื้นเมือง (Native Police) ขึ้นมาเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อปลุกปั่นความหวาดกลัว

“พวกเขาฝึกฝนชนพื้นเมืองให้เป็นนายทหารและใช้เป็นกองกำลัง กลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการสลายการต่อต้านของชาวอะบอริจิน ตำรวจพื้นเมืองทำงานเป็นเวลา 50 ปี ขณะที่การตั้งถิ่นฐานขยายเป็นวงกว้างใหญ่ขึ้น”

กองตำรวจพื้นเมืองมีเครื่องแบบ ปืน และม้า ดร. เคลเมนท์สเชื่อว่าพวกเขาถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ผิวขาว ซึ่งใช้ความรู้ดั้งเดิมของชนพื้นเมืองและทักษะที่พวกเขาใช้ในป่า

“จำนวนผู้เสียชีวิตโดยตำรวจพื้นเมืองที่เสียชีวิตในรัฐควีนส์แลนด์เพียงรัฐเดียวนับหลายหมื่นคน ผมเชื่อว่าอาจสูงถึง 6 – 8 หมื่นคน ซึ่งน่าตกใจมาก"
เรื่องเลวร้ายต่างๆ นี้สร้างความคลุมเครือด้านจริยธรรม
ศาสตราจารย์เรย์โนลด์สกล่าว
ประวัติศาสตร์อันโหดร้ายนี้เป็นเรื่องที่คุณเพอร์กินส์ต้องเผชิญระหว่างการถ่ายทำซีรีส์สารคดี The Australian Wars

“ฉันเจอบันทึกที่คุณยายฉันเขียนถึงยายทวดที่ถูกสังหารหมู่ ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินมาก่อน และไม่เคยไปสถานที่นั้น ฉันไม่เคยรู้เลยว่ามันเกิดขึ้นที่ไหน จนฉันได้มาทำสารคดีชุดนี้”

ดร. เคลเมนท์สกล่าวว่าชาวออสเตรเลียควรเอาชนะความรู้สึกละอายใจและรณรงค์เรื่องความอยุติธรรมในอดีต

“ไม่ว่าบรรพบุรุษของคุณจะมีส่วนร่วมในเรื่องโหดร้ายหรือไม่ เราทุกคนล้วนเป็นผู้รับมรดกจากชาวอะบอริจิน ซึ่งเป็นดินแดนที่ถูกขโมยไป"
อย่างน้อยที่สุดเราควรมีบทบาทในการเปิดเผยประวัติศาสตร์นี้ ยอมรับมัน และสร้างอนาคตที่ดี
ดร.เคลเมนท์สกล่าว
ดูซีรีส์ ได้ทาง SBS On Demand ซึ่งมีซับไตเติลภาษาอังกฤษและคำบรรยายสำหรับผู้พิการทางสายตาหรือผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นด้วย

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share