หมอไทยในซิดนีย์แนะการปฏิบัติตัวเพื่อลดโควิดระบาดช่วงล็อกดาวน์

การสวมหน้ากากอนามัยในรถโดยสารสาธารณะและในสถานที่ชุมชนเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้บังคับ ช่วงล็อกดาวน์ของนิวเซาท์เวลส์

การสวมหน้ากากอนามัยในรถโดยสารสาธารณะและในสถานที่ชุมชนเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้บังคับ ช่วงล็อกดาวน์ของนิวเซาท์เวลส์ Source: Pixabay/iqbal nuril anwar

พญ.มานี แวนดีโบนา (Dr.Manee Vandebona) แพทย์คนไทยในซิดนีย์ ชี้แจงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิดในช่วงล็อกดาวน์ของซิดนีย์และบางส่วนของนิวเซาท์เวลส์ ทำอย่างไรเราจึงจะช่วยกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไปไหนมาไหนในชุมชนขณะแพร่เชื้อได้ พร้อมแนะนำกรณีหากคุณต้องกักตัว 14 วันเพราะไปสถานที่เสี่ยง ต้องแยกตัวอย่างคนอื่นและคนในบ้านอย่างไร


ฟังการพูดคุยกับคุณหมอ 
LISTEN TO
Thai speaking doctor in Sydney advises on COVID restrictions image

หมอไทยในซิดนีย์แนะการปฏิบัติตัวเพื่อลดโควิดระบาดช่วงล็อกดาวน์

SBS Thai

30/07/202115:58
ประเด็นสำคัญของการพูดคุย

  • ในการแถลงข่าวของรัฐบาลนิวเซาท์เวลส์บางครั้งจะมีการระบุว่า มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่ไปไหนมาไหนในชุมชนขณะมีการอาการที่แพร่เชื้อได้ (out in the community while infectious) หมายความว่าอย่างไร และทำอย่างไรเราถึงจะลดจำนวนของผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ได้
  • เหตุใดในช่วงล็อกดาวน์ เราจึงไม่ควรไปเยี่ยมหรือพบปะกับคนที่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน
  • บางคนมีอาการ แต่ขณะเดินทางไปรับการตรวจเชื้อ ไปยังที่อื่นๆ ก่อนหรือหลังไปยังศูนย์ตรวจเชื้อ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะอะไร และการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องควรเป็นอย่างไร
  • มีกรณีคนที่มีอาการของโควิด แทนที่จะไปรับการตรวจเชื้อทันที แต่ไปร้านขายยา เพื่อไปซื้อยามากิน หรือไปคลินิกเพื่อไปหาหมอ ต่อมาพบผลการตรวจเชื้อเป็นบวกคือติดเชื้อ จึงทำให้นำความเสี่ยงไปแพร่ที่ร้านขายยาหรือคลินิกหมอที่ไป คุณหมออยากแนะนำคนฟังอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นอีก
  • การกักตัวกรณีถูกระบุว่าเป็นผู้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ (close contact) ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
  • ถ้าเราเป็น close contact แต่ต้องอยู่ร่วมบ้านกับคนอื่น เราควรทำอย่างไร
  • คุณหมอฝากถึงคนที่ลังเลใจเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิดว่า “โอกาสที่ฉีดวัคซีนแล้วตายเพราะลิ่มเลือด เหมือนการถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 ติดโควิดแล้วตายเหมือนถูกเลขท้ายสองตัว คือมีโอกาสมากกว่า”
“สำหรับคนที่ลังเลเพราะกลัวว่าวัคซีนจะไม่ถูกกับโรคประจำตัวของเรา ให้คุยกับหมอจีพีของเราก่อนว่าเรามีโรคนั้นโรคนี้แล้วควรจะฉีดไหม ถ้าเขาเห็นว่าเราฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาไม่ได้ เขาอาจให้เราฉีดไฟเซอร์ ให้โทรไปคุยกับหมอก่อน”


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share