Explainer

ฉีดวัคซีนโควิดแล้วนานแค่ไหนกว่าจะเห็นผล

ผลการวิจัยทางคลินิกชี้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 ได้ดีที่สุดหลังฉีดโดสที่สองประมาณสองสัปดาห์ ถึงอย่างนั้น วัคซีนแต่ละโดสเปลี่ยนสถานการณ์ของคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ

Vaccine

Vaccine Source: SBS News/Nick Mooney

ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม รัฐวิกตอเรียพบพนักงานสถานดูแลผู้สูงอายุอาร์แคร์ เมดสตัน (Arcare Maidstone) มีผลตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นบวก แม้จะฉีดวัคซีนโดสแรกแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม

จากนั้น มีรายงานว่าพนักงานอีกคนหนึ่งและผู้สูงอายุสองคนในสถานดูแลดังกล่าวมีผลตรวจเป็นบวกเช่นกัน ผู้สูงอายุคนแรกมีประวัติฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสแรก ส่วนอีกคนหนึ่งฉีดวัคซีนครบทั้งสองโดส

กรณีของพนักงานรายนี้และผู้สูงอายุที่ติดเชื้อแม้ฉีดวัคซีนโดสแรกแล้วเป็นเครื่องย้ำเตือนว่า คุณจำเป็นต้องฉีดวัคซีนครบทั้งสองโดสเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากวัคซีน

ใช้เวลาสองสามสัปดาห์

ผลการวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 ได้ดีที่สุด หมายความว่าวัคซีน...

  • ป้องกันโรคร้ายแรงหรือเสียชีวิตในคนสุขภาพแข็งแรงได้เกือบสมบูรณ์
  • ลดแนวโน้มอาการเจ็บป่วยจากโควิด-19
  • ลดโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนา
  • ลดปริมาณไวรัสโคโรนาที่ขยายพันธุ์ในร่างกายหากติดเชื้อ หลักฐานชิ้นใหม่ ๆ บ่งชี้ว่า ด้วยเหตุนี้การรับวัคซีนจึงช่วยลดโอกาสที่ไปยังผู้อื่น
วัคซีนแต่ละโดสเปลี่ยนสถานการณ์ของคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉีดหนึ่งโดสโอกาสได้ประโยชน์ข้างต้นย่อมน้อยกว่า ถ้าฉีดครบสองโดสโอกาสย่อมสูงขึ้นมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ฉีดวัคซีนครบสองโดสแล้วก็ยังอาจโชคร้ายติดเชื้อ มีอาการป่วย หรือแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้เช่นกัน

วัคซีนไฟเซอร์หนึ่งโดส

การวิจัยทางคลินิกของวัคซีนไฟเซอร์ออกแบบมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนหลังฉีดโดสที่สองตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป แต่ผลวิจัยยังมีข้อบ่งชี้เบื้องต้นด้วยว่า วัคซีนไฟเซอร์โดสแรกให้ผลป้องกันบางส่วน

ข้อมูลหลักฐานจากสถานการณ์จริงสนับสนุนข้อสังเกตดังกล่าว โดยพบว่าวัคซีนหนึ่งโดสได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังฉีดวัคซีนได้สี่สัปดาห์

ขณะเดียวกัน ผลวิจัยและรายงานการศึกษาเบื้องต้นชี้ว่า วัคซีนไฟเซอร์โดสแรกอาจมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อระหว่าง ถึง

ข้อมูลขั้นพื้นฐานยังบ่งชี้ด้วยว่า กรณีฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสแรกแล้วติดเชื้อโควิด-19
vaccine
Source: NurPhoto

วัคซีนแอสตราเซเนกาหนึ่งโดส

วัคซีนแอสตราเซเนกา ประมาณการประสิทธิภาพในการป้องกันโรคร้อยละ 76 จากผลวิจัยทางคลินิก

ต่อมาปรับปรุงให้ใช้โดสที่สองด้วยหลังจากผลวิจัยพบว่า วัคซีนแอสตราเซเนกาสองโดสในกลุ่มอาสาสมัคร

ข้อมูลที่สังเกตจากสถานการณ์จริงซึ่งยังไม่ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer-review) แสดงให้เห็นว่า วัคซีนหนึ่งโดสมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อ และกรณีผู้รับวัคซีนก่อนติดเชื้อมีโอกาสแพร่เชื้อลดลง เช่นเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์

นอกจากนี้ วัคซีนแอสตราเซเนกาหนึ่งโดสยังมีประสิทธิภาพสูงในการหลังฉีดวัคซีนได้สี่สัปดาห์เช่นเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์

ทำไมถึงใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล

แม้จะมีข้อแตกต่างระหว่างวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) เช่น ไฟเซอร์ กับวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ (viral vector) เช่น แอสตราเซเนกา วัคซีนทั้งสองชนิดใช้เวลาไม่ต่างกันในการสร้างแอนติบอดีตอบสนอง เมื่อฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาหนึ่งโดสสามารถตรวจพบแอนติบอดีได้ตั้งแต่ และเพิ่มจำนวนขึ้นตลอดสองสัปดาห์นับจากนั้น

ทำไมการตอบสนองเหล่านี้จึงต้องอาศัยเวลา... เมื่อนักวิจัยติดตามผลการตอบสนองต่อวัคซีนโดสแรก พบว่าต้องใช้เวลาเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มสร้างแอนติบอดีที่สามารถตรวจจับโปรตีนหนามของไวรัส SARS-CoV-2 (โปรตีนหนาม หรือ spike protein คือโปรตีนที่อยู่บนผิวของไวรัสซึ่งใช้จับกับเซลล์ร่างกายมนุษย์)

ทั้งยังใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด เริ่มตอบสนองต่อวัคซีน การตอบสนองนี้จะช่วงสองสามสัปดาห์ต่อมา

ในทางกลับกัน วัคซีนโดสที่สองกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเร็วกว่าโดสแรกมาก ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังรับวัคซีนโดสที่สอง ระดับแอนติบอดีในร่างกายจะเพิ่มขึ้น จึงให้ผลป้องกันการติดเชื้อได้ยาวนานและทรงประสิทธิภาพกว่ามาก

ดังนั้น วัคซีนโควิด-19 โดสแรกจึงช่วยกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันให้คุณ แต่โดสที่สองนั้นจำเป็นต่อการรับรองว่าภูมิคุ้มกันของคุณจะเข้มแข็งและให้ผลยาวนาน
A push for mandatory coronavirus vaccinations for aged care and disability workers
The Government will not enforce mandatory workplace coronavirus vaccinations Source: Mathivaanan

ฉีดวัคซีนไม่ครบอาจมีความเสี่ยง

แม้วัคซีนหนึ่งโดสให้ผลลัพธ์เป็นประโยชน์อยู่บ้าง แต่ประชากรกลุ่มเปราะบางหรือผู้ทำงานความเสี่ยงสูงไม่อาจพึ่งพาวัคซีนแค่โดสเดียวได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฉีดวัคซีนครบโดสโดยเร็วที่สุดให้ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าด้านสุขภาพ พนักงานกักกันโรค รวมถึงเจ้าหน้าที่และผู้อาศัยสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ

ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือ วัคซีนโควิด-19 ทุกชนิดในปัจจุบันมีพื้นฐานมาจากไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ในหลายประเทศ วัคซีนมีประสิทธิผลลดลงต่อบางสายพันธุ์ โดยเฉพาะเมื่อฉีดแค่โดสเดียว

ชี้ว่า วัคซีนไฟเซอร์สองโดสมีประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการจากไวรัสสายพันธุ์ B.1.617.2 ที่ร้อยละ 88 แต่โดสเดียวให้ผลเพียงร้อยละ 33

อีกหนึ่งสายพันธุ์ใกล้เคียงที่มีชื่อว่า B.1.617.1 คือสายพันธุ์ที่ระบาดในรัฐวิกตอเรีย และอาจตอบสนองต่อวัคซีนในลักษณะคล้ายกัน จึงยิ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้ารับวัคซีนครบสองโดสโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนหนึ่งโดสลดลงตามอายุ ทั้งวัคซีนและ

ผลการวิเคราะห์ฉบับหนึ่งพบว่า คนอายุมากกว่าเมื่อฉีดวัคซีนหนึ่งโดส แต่มีอัตราป้องกันใกล้เคียงกับคนอายุน้อยหลังฉีดครบสองโดส

แม้การวิจัยฉบับนี้ยังไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าการฉีดวัคซีนโดสที่สองอย่างทันท่วงทีนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับคนสูงวัย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการฉีดวัคซีน

Kylie Quinn รับทุนวิจัยจากมูลนิธิ Rebecca L. Cooper Foundationมูลนิธิ CASS Foundation และมหาวิทยาลัย RMIT พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาให้ Advisory Board for the Vaccine Alliance of Aotearoa New Zealand

Jennifer Juno รับทุนวิจัยจากNHMRC

บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษที่เว็บไซต์
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 10 June 2021 3:41pm
Updated 12 August 2022 3:05pm
By Kylie Quinn, Jennifer Juno
Presented by Phantida Sakulratanacharoen
Source: The Conversation


Share this with family and friends