เปิดโปงวัฏจักรโกงค่าจ้างนักเรียนต่างชาติในออสเตรเลีย

"ไม่มีใครรู้ว่าการเอารัดเอาเปรียบเหล่านี้จะบานปลายไปถึงไหน ส่วนหนึ่งก็เพราะว่านักศึกษาต่างชาติ หรือนักเดินทางสะพายเป้มักไม่ต้องการที่จะออกมาเล่าให้ฟังว่ามันเกิดอะไรขึ้น"

wage theft

Migrant workers often exploited by being paid below minimum wage rates. Source: SBS

อเลฮานโดร (Alejandro) นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์จากประเทศชิลีอายุ 24 ปี เดินทางมาถึงออสเตรเลียในปี 2015 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็เริ่มไปทำงานตามร้านอาหารเพื่อหาเงินระหว่างเล่าเรียนเช่นเดียวกับนักศึกษาต่างชาติคนอื่นๆ  

และก็เช่นเดียวกับนักศึกษาต่างชาติเหล่านั้น เขาก็ได้ตกเป็นเหยื่อของการโกงค่าจ้างในอุตสาหกรรมธุรกิจด้านการบริการของออสเตรเลีย

ในเดือนพฤษภาคม 2017 อเลฮานโดรได้เข้าทำงานเป็นลูกมือในครัวที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ ตามกฎหมายแรงงานแล้ว เขาจะต้องได้รับค่าจ้างเป็นจำนวน $23.41 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่กลับได้รับค้าจ้างแบบเหมาเพียง $18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงเท่านั้น เหมือนกันทั้งวันธรรมดาและวันหยุด เขาทำงานส่วนใหญ่ในกะเย็น ตั้งแต่เวลา 18:00 - 23:00 น. ซึ่งเหมาะกับเวลาในการเรียนของเขา บางคืนเขาก็ต้องอยู่ดึกจนถึงตี 1 และก็ไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่มจากเวลาที่เลยมาจากกะที่เขาทำงานตามปกติ

เขาเล่าว่า เจ้าของร้านที่เขาทำงานให้เจ้ากี้เจ้าการและมีความอดทนน้อย เขามักจะถูกรังแกทางวาจาอยู่บ่อยครั้ง

"สภาพแวดล้อมมันแย่มาก ผมไม่ชอบที่นั่นมาตั้งแต่แรก" เขาเล่า

3 เดือนต่อมา อเลฮานโดรได้ตัดสินใจลาออกจากร้านอาหารแห่งนั้น แต่เมื่อเขาบอกเจ้าของร้านว่าจะออกจากงาน เขากลับไม่ได้รับค่าจ้างในสัปดาห์สุดท้าย
ในบรรดานักศึกษาต่างชาตินั้น มีนักศึกษา 25% ที่ได้รับค่าจ้าง $12 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือน้อยกว่า และ 43% ที่ได้รับค่าจ้างที่ $15 ดอลลาร์หรือน้อยกว่านั้น ในงานที่มีการจ่ายอัตราจ้างต่ำที่สุด
เรื่องราวของอเลฮานโดรนั้นเป็นเรื่องที่พบได้โดยทั่วไป ในปี 2015 ซึ่งคนทำงานเหล่านี้ถูกรังแก ทำร้าย และล่วงละเมิดอยู่บ่อยครั้งภายในโรงงานและฟาร์มต่างๆ ในออสเตรเลีย อีกการสืบส่วนหนึ่งโดยรายการโฟร์ คอร์เนอร์ส โดยครั้งนี้ได้ร่วมกับแฟร์แฟกซ์ มีเดีย (Fairfax Media) ได้พบ ภายในร้านสะดวกซื้อเซเวน อีเลฟเวน (7-Eleven) สาขาต่างๆ ทั่วออสเตรเลีย

เนื่องจากการรายงานเรื่องราวเหล่านี้โดยสื่อมวลชน ทำให้นักวิชาการสองท่าน คุณลอวรีย์ เบิร์ก (Laurie Berg) วิทยากรอาวุโสภาควิชานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ และคุณบาสซินา ฟาร์เบ็นบลัม (Bassina Farbenblum) วิทยากรอาวุโสจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้ทำการสำรวจอย่างครอบคลุมกับคนทำงานอพยพย้ายถิ่นชั่วคราว เพื่อชี้วัดการโกงค่าจ้างในออสเตรเลีย

"เราได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับรายงานการเอารัดเอาเปรียบ แต่ไม่มีใครรู้ว่าการเอารัดเอาเปรียบเหล่านี้จะบานปลายไปถึงไหน ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า นักศึกษาต่างชาติ หรือนักเดินทางสะพายเป้มักไม่ต้องการที่จะออกมาเล่าให้ฟังว่ามันเกิดอะไรขึ้น" คุณเบิร์กกล่าว

ผลสำรวจนี้ ได้สำรวจจากการตอบแบบสอบถามโดยแรงงานอพยพชั่วคราวจำนวน 4,500 คน จาก 107 ประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งมาทำงานในทุกรัฐและเขตแดนของออสเตรเลีย และได้มีการตีพิมพ์ในรายงาน "การโกงค่าจ้างในออสเตรเลีย: การสำรวจในหมู่คนทำงานอพยพชั่วคราวทั่วประเทศ" โดยพวกเขาพบว่า การโกงค่าจ้างในออสเตรเลียนั้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง 

"เราพบว่า การเอารัดเอาเปรียบนั้นแผ่ขยายเป็นวงกว้าง และหลายกรณีนั้นมีความรุนแรง" คุณเบิร์กกล่าว

30% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้รับค่าจ้างน้อยกว่า $12 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ส่วนในบรรดานักศึกษาต่างชาตินั้น มีนักศึกษา 25% ที่ได้รับค่าจ้าง $12 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือน้อยกว่า และ 43% ที่ได้รับค่าจ้างที่ $15 ดอลลาร์หรือน้อยกว่านั้น ในงานที่มีการจ่ายอัตราจ้างต่ำที่สุด  

"มันเป็นการริดรอนเงินที่คนทำงานชั่วคราวเหล่านั้นพึงได้ไปเป็นจำนวนหลายแสนดอลลาร์ ซึ่งตามสิทธิ์แล้วเงินเหล่านั้นเป็นของพวกเขา" คุณเบิร์กกล่าว

หนึ่งในวงการที่สถานการณ์โกงค่าจ้างเลวร้ายที่สุด คือหมู่ธุรกิจงานบริการด้านอาหาร จากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 5 นั้นได้ทำงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดในร้านอาหาร คาเฟ่ หรือร้านอาหารแบบนำกลับบ้าน (takeway)

"นักศึกษาต่างชาติทุกกลุ่มเชื้อชาติใหญ่ๆ มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเกิดขึ้นในการทำงานในธุรกิจบริการ มันไม่ใช่ปัญหาเพียงเชื้อชาติเดียว แต่เป็นทุกกลุ่ม" คุณเบิร์กกล่าว

ทำไมนักศึกษาถึงต้องทำงานที่ย่ำแย่

มีหลายเหตุผลว่าทำไมลูกจ้างชั่วคราวอาจไม่ต้องการที่จะรายงานเจ้าของร้านที่กดค่าจ้างพวกเขา ส่วนหนึ่งคือความกลัวว่าวีซ่าจะถูกยกเลิก และการแก้แค้นเพื่อเอาคืน

"ความคิดที่กลัวว่าวีซ่าจะถูกยกเลิกนั้นมีนัยยะสำคัญในหมู่นักศึกษาต่างชาติ เพราะพวกเขาได้ลงทุนลงแรงเป็นจำนวนมากในการอยู่อาศัยและศึกษาในออสเตรเลีย ความหวังและความใฝ่ฝันของครอบครัวที่บ้านเกิดนั้นขึ้นอยู่กับพวกเขาทั้งหมด" คุณเบิร์กกล่าว

แต่ทั้งนี้ เธอก็ได้กล่าวว่า ยังมีแนวคิดแบบผิดๆ กล่าวคือ นักศึกษาชาวต่างชาติเลือกที่จะยังทำงานเหล่านี้ เพราะไม่มีความรู้เรื่องสิทธิอันพึงได้ แต่ก็ไม่ไช่ว่าจะเป็นแบบนั้นเสมอไป

"ในบรรดาผู้ที่ได้ค่าจ้าง $15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือน้อยกว่า ซึ่งมันผิดกฎหมายอย่างแรง แต่ถึงกระนั้น 75% ของคนเหล่านั้นรู้ดีว่าค่าจ้างขั้นต่ำคือเท่าใด มันจึงไม่ใช่เพียงเรื่องการขาดความรู้ที่ทำให้พวกเขายังต้องทำงานอยู่ที่นั่น" คุณเบิร์กกล่าว
งานที่ให้ค่าจ้างต่ำ มักจะเป็นเพียงทางเลือกเดียวของนักศึกษาต่างชาติที่ทักษะและคุณวุฒิของพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับโดยออสเตรเลีย
วีซ่าสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยส่วนใหญ่นั้นอนุญาตให้พวกเขาสามารถทำงานได้ 40 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์ แต่หลายคนทำงานแบบรับเงินสดในมือ (cash-in-hand) ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถทำงานเกินกว่าที่วีซ่ากำหนดได้ 

"ค่าใช้จ่ายในศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษาต่างชาติในมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเอกชนนั้นสูงมาก และในหลายพื้นที่ของออสเตรเลีย แน่นอนว่าอย่างในซิดนีย์และเมลเบิร์น และเมืองหลวงของรัฐอื่นๆ ค่าครองชีพนั้นสูงมาก พวกเขาจึงรู้สึกได้ถึงความกดดันมหาศาลที่จะต้องทำงานให้มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสองสัปดาห์" คุณเบิร์กกล่าว

ดังนั้น งานที่ให้ค่าจ้างต่ำ มักจะเป็นเพียงทางเลือกเดียวของนักศึกษาต่างชาติที่ทักษะและคุณวุฒิของพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับโดยออสเตรเลีย นักศึกษาเหล่านี้มักจะเป็นแหล่งแรงงานราคาถูกของบรรดานายจ้าง ซึ่งหาได้ง่ายตามพื้นที่บริเวณใกล้ๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งเหล่านักศึกษาอาศัยรวมกันอยู่อย่างแออัด โดยเฉพาะในซิดนีย์ ซึ่งพวกเขาไม่ได้รับสิทธิ์ลดราคาในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

"ความแออัดทางภูมิศาตร์นั้นก็เป็นเหตุผลใหญ่ส่วนหนึ่งในเรื่องนี้" คุณเบิร์กกล่าว

นอกจากนี้ คุณเบิร์กยังบอกอีกว่า เมื่อพวกเขามองไปรอบๆ พวกเขาก็จะเห็นเพื่อนๆ อยู่ในสภาพเดียวกัน ร้อยละ 86 ในบรรดานักศึกษาต่างชาติบอกว่า พวกเขาคิดว่ามีนักศึกษาจำนวนมากได้รับค่าจ้างน้อยกว่ากฎหมายกำหนด พวกเขามองไม่เห็นว่ามันจะมีโอกาสใดในการหางานที่ได้ค่าจ้างสูงกว่า พวกเขาเห็นว่ามันมีตลาดงานที่แตกต่าง ซึ่งเปิดโอกาสให้พวกเขา แต่ก็ไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย ซึ่งการวิจัยเรื่องอัตราค่าจ้างของพวกเขายืนยันว่าเรื่องเหล่านี้เป็นความจริง

หนทางในการแก้ไข

คุณเบิร์กได้กล่าวอีกว่า เจ้าของร้านอาหารและคาเฟ่หลายแห่งมักจะคิดกันว่า พวกเขาจะไม่ถูกจับได้ และค่าปรับก็ไม่ได้มากมายอะไร เธอเชื่อว่าการทำให้เรื่องการโกงค่าจ้างเป็นความผิดอาญาและการจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินการอย่างจริงจังจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ในอุตสาหกรรมด้านงานบริการ

นอกจากนี้ เธอยังเชื่อว่ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ มีบทบาทในการสนับสนุนนักศึกษาซึ่งให้ความเชื่อมันในตัวสถาบันเหล่านี้ สถาบันต่างๆ นั้นเป็นที่อันเหมาะสมในการให้รายละเอียดกับนักศึกษาเกี่ยวกับสิทธิ์ที่พวกเขาพึงได้รับ และการติดต่อหน่วยงานต่างๆ หากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ

สำหรับอเลฮานโดรนั้น หลังจากเขาได้ขอคำปรึกษาจากฝ่ายกฎหมาย เขาได้บอกกับเจ้าของร้านอาหารที่เขาเคยทำงานว่าจะมีการดำเนินคดีทางกฎหมายจนกว่าเขาจะได้รับค่าจ้างในสัปดาห์สุดท้ายที่ค้างจ่าย ท้ายที่สุด เจ้าของร้านได้จ่ายเงินกว่าครึ่งหนึ่งที่ได้ค้างจ่ายไว้เป็นเงินสด ซึ่งอเลฮานโดรรับเงินที่ได้อย่างผิดหวัง แต่อย่างน้อยก็ยังดีใจที่ยังได้อะไรกลับมาบ้าง

ตั้งแต่นั้นมา อเลฮานโดรก็ได้งานใหม่ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งทางตะวันตกตอนในของนครซิดนีย์ แต่ถึงกระนั้นก็ยังได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดที่ $19 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่เขาก็ไม่ได้ใส่ใจ

"มันเป็นธุรกิจครอบครัว เจ้าของร้านเขาดีกับผม และเพื่อนร่วมงานก็สุภาพ มันอยู่ใกล้บ้าน และผมก็ได้อาหารกลับมาบ้านด้วย" เขากล่าว

คุณนิโคลา ฮีธ เป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ท่านสามารถติดตามเธอได้ทางทวิตเตอร์ @nicoheath
นอกจากนี้ ท่านยังสามารถศึกษาข้อมูลด้านสิทธิและความรับผิดชอบของนักศึกษาต่างชาติในออสเตรเลียได้ที่ SBS Learn.

Share
Published 9 August 2018 4:50pm
Updated 29 December 2018 3:29am
By Nicola Heath
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS Life


Share this with family and friends