การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจขนาดเล็ก

ขณะที่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อเร็วๆ นี้ อาจทำให้ลูกจ้างหลายคนยินดี แต่เจ้าของกิจการขนาดเล็กหลายรายกำลังได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้จนเกิดความกังวล

ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

ขณะที่ลูกจ้างรู้สึกยินดีกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้ประกอบการหลายรายกำลังรู้สึกกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา Source: MITO Images

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.5 แต่ถึงกระนั้ ภาคธุรกิจขนาดเล็กนั้นกำลังส่งสัญญาณเตือน โดยประชาคมภาคธุรกิจออสเตรเลียระบุว่า การตัดสินใจขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของแฟร์เวิร์กนั้นกระทบกับพวกเขาอย่างหนัก

ขณะนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำใหม่นั้นอยู่ที่ 18.93 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือ 719.20 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา

คุณเจมส์ เพียร์สัน (James Pearson) ประธานบริหารหอการค้าและอุตสาหกรรมออสเตรเลีย (Australian Chamber of Commerce and Industry) ระบุว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่นั้นจะสร้างความกดดันต่อเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก

"ภาคธุรกิจใดที่ไม่มีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จะต้องลดจำนวนชั่วโมงงาน ตำแหน่งงาน หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง ความจริงง่ายๆ ก็คือ ยิ่งการจ้างงานต้องจ่ายแพงขึ้นเท่าไหร่ ความอยู่รอดของกิจการก็จะน้อยลง และเป็นไปได้ว่าการจ้างงานก็จะลดลงไปด้วย" คุณเจมส์ระบุ

ส่วน คุณรัสเซลล์ ซิมเมอร์แมน (Russell Zimmerman) ผู้อำนวยการบริหารสมาคมค้าปลีกออสเตรเลีย (Australian Retailers Association) ระบุว่า การขยับขึ้นค่าจ้างที่มากกว่าร้อยละ 1.9 ซึ่งสะท้อนภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลกระทบกับภาคค้าปลีก  

"นี่จะหมายถึงการที่ผู้ประกอบการค้าปลีกจะต้องดูจำนวนชั่วโมงจ้างงาน หรือแม้กระทั่งจำนวนลูกจ้างที่พวกเขาจ้างมา เพราะมันมีความไม่แน่นอนในราคา" คุณรัซเซลล์ ระบุ

ปฏิกิริยาจากภาคธุรกิจ

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ธุรกิจออกแบบกิฟท์ข๊อป OPUS Design คริส ทัวเกลิส (Chris Tourgelis) ในนครซิดนีย์ กำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบาก

"เรากำลังประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ผมแน่ใจว่าเราได้รับผลกระทบแน่นอน มันจะเกิดปัญหาในการจัดกะของพนักงานในหลายกิจการ ไม่ใช่ว่าภาคธุรกิจจะยินยอมรับสภาพนี้ มันต้องมีการหาแหล่งเงินเพื่อมาชดเชย" คุณคริสกล่าว

นอกจากนี้ คุณคริสยังบอกว่า การขึ้นราคาสินค้าก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

"เมื่อ 20 ปีก่อน คุณเพิ่มราคาสินค้าได้ แต่ตอนนี้มีการแข่งขันสูงมาก มีการแข่งขันจากช่องทางออนไลน์เข้ามาอีก คุณไม่สามารถขึ้นราคาเพื่อแก้ปัญหาให้มันจบไปได้ ในฐานะกิจการค้าปลีก คุณจะติดอยู่กับที่ คนส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีตัดราคา" คุณคริสกล่าว

"เรารับรู้ว่ามันมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นค่าจ้างในช่วงเวลาหนึ่ง แต่นี่คือช่วงที่ยากลำบากสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีก" คุณคริสกล่าวเสริม

ขณะที่คุณเดวิด บิตตอน (David Bitton) เจ้าของกิจการร้านอาหารก้รู้สึกถึงความกดดัน แต่สำหรับเขา การลดการจ้างพนักงานไม่ใช่ทางเลือก

"เราจะต้องรับภาระเรื่องราคาจ้าง เพราะเราต้องการพนักงาน" คุณเดวิดระบุกับเอสบีเอส

คุณเดวิดระบุอีกว่า ขณะที่เขาสบายใจกับเรื่องลูกจ้างในร้าน แต่เขารู้สึกว่ารัฐบาลยังให้การช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็กไม่เพียงพอ ค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงขึ้น หมายถึงส่วนต่างระหว่างกำไรที่จะถูกบีบให้น้อยลงอีกในอนาคต

ด้าน คุณเจนนี แลมเบิร์ต (Jenny Lambert) จากหอการค้าและอุตสาหกรรม ระบุว่า ขณะนี้ ออสเตรเลียเป้นประเทศที่ค่าจ้างขั้นต่ำสูงที่สุดประเทศหนึ่งของโลก

"ความกังวลกังวลเรื่องการแข่งขันจากต่างชาติของประชาคมธุรกิจ คือการแข่งขันที่เราต้องการที่จะเอาชนะ" คุณเจนนีระบุ

ฟังเสียงจากชุมชนคนไทย

เอสบีเอสไทยได้ไปพูดคุยกับชุมชนคนไทยในนครเมลเบิร์น ถึงความคิดเห็นในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ  



หากคุณต้องการเคล็ดลับสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจขนาดเล็ก ติดตามชม #BizSecretSBS ทุกวันอาทิตย์ เวลา 7:00 น. และ 17:00 น. ทางโทรทัศน์เอสบีเอส หรือชมผ่าน และคุณยังสามารถติดตามผ่านทาง , และ



Share
Published 17 July 2018 2:46pm
Updated 17 July 2018 2:53pm
By Sana Qadar
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS Small Business Secrets


Share this with family and friends