ผลโต้วาทีผู้นำออสฯ โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง

NEWS: แม้ไม่มีผู้มีสิทธิออกเสียงมาตัดสินว่าใครชนะการโต้วาทีครั้งสุดท้ายระหว่างนายสกอตต์ มอร์ริสัน และนายบิลล์ ชอร์เทน ผู้นำทั้งคู่ก็แลกหมัดกันหลายหมัด

You can read the full version of this story in English on SBS News .

การโต้วาทีครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายระหว่างนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน และผู้นำพรรคแรงงานนายบิลล์ ชอร์เทน ทำให้ตัวเลือกที่ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงต้องเผชิญ ในตอนนี้ชัดเจนอย่างที่สุด

นายชอร์เทนนั้นผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยแย้งว่ามันจะเป็น “เหมือนเดิมไปเรื่อยๆ” อีกสามปีภายใต้(รัฐบาล)พรรคร่วม ในขณะที่นายกรัฐมนตรีนั้นมุ่งเน้นไปยังเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลง
Leader of the Opposition Bill Shorten and Prime Minister Scott Morrison shake hands before the third Leaders Debate at the National Press Club in Canberra, Wednesday, May 8, 2019. (AAP Image/Mick Tsikas) NO ARCHIVING
Bill Shorten and Scott Morrison shake hands before the third leaders debate in Canberra. Source: AAP
การโต้วาทีได้ครอบคลุมกว้างขวางในหลายๆ เรื่องตั้งแต่เสรีภาพทางศาสนาไปจนถึงบริการดูแลเด็ก และผู้นำแต่ละคนนั้นก็มีโอกาสที่จะยิงคำถามไปยังอีกฝ่ายโดยตรง

แล้วเราได้รับทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรค และใครที่เป็นฝ่ายน่าเชื่อถือมากกว่าในประเด็นที่สำคัญๆ?

ผู้ขอลี้ภัยบนเกาะมานัสและนาอูรู

เมื่อถูกถามให้ยกตัวอย่างสิ่งที่พวกเขานั้นผลักดันแต่ไม่ได้รับความนิยม ทว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทำ ผู้นำทั้งสองคนต่างก็ยกเรื่องของการขับไล่เรือ(ผู้ขอลี้ภัย)กลับออกไปขึ้นมา

ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามจากพิธีกร คุณซาบรา เลน เกี่ยวกับอนาคตของคนจำนวน 950 คนบนเกาะมานัสและนาอูรู

นายบิลล์ ชอร์เทน กล่าวซ้ำถึงความตั้งใจของพรรคแรงงานที่จะนำข้อเสนอของประเทศนิวซีแลนด์มาพิจารณาอีกรอบ ในการจะให้ผู้ลี้ภัยซึ่งขณะนี้อยู่ในสถานกักกันนอกชายฝั่งไปตั้งรกรากใหม่ที่นั่น และก็จะเปิดโอกาสให้มีข้อตกลงกับประเทศอื่นๆ ได้ด้วย

“หากผมได้รับเลือกตั้งเป็นนายกฯ เราจะทุ่มความพยายามอย่างมากที่สุดเท่าที่มนุษย์จะทำได้เพื่อให้พวกเขาได้ไปตั้งรกรากที่ใหม่” นายชอร์เทนกล่าว

นายมอร์ริสันกล่าวว่า จะไม่มีผู้ลี้ภัยถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศที่พวกเขาถูกปองร้าย แต่กลับไม่ได้เสนอแผนการอื่นใด นอกจากข้อตกลงกับสหรัฐฯ ที่มีอยู่แล้ว

ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

เป็นอีกครั้งที่ประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศกลับมาพัวพันกับนโยบายพรรคแรงงานที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

นายมอร์ริสันได้ยกถึงลูกๆ ของเขา ว่าเขายินยอมในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องมีการลงมือทำอะไรสักอย่างต่อความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ แต่ก็ชี้แจงว่ารัฐบาลของเขานั้นกำลังใช้วิธีเข้าจัดการอย่างสมเหตุสมผล

“มีการลงมือดำเนินการอยู่ ธุรกิจต่างๆ นั้นกำลังลงทุน(ในเรื่องนี้) พวกเขากำลังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น พวกเขาพูดตรงๆ ว่า “บอกค่าใช้จ่ายมาสิคุณบิลล์ บอกค่าใช้จ่ายมา”

“มันไม่ใช่คำถามที่เคลือบแคลง มันเป็นคำถามที่ยุติธรรม เพราะว่าพวกเขาเป็นผู้ที่จำเป็นต้องจ่ายเงินสำหรับเรื่องนี้”

โดยนายชอร์เทนก็พยายามบิดประเด็นอีกครั้งหนึ่ง ว่าค่าใช้จ่ายต่อธุรกิจต่างๆ นั้นถือว่าเป็นการลงทุนต่ออนาคตของชาติ และเน้นให้เห็นว่ามลภาวะคาร์บอนนั้นได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้(รัฐบาล)พรรคร่วม

นายชอร์เทนตอบว่า: “แนวคิดที่ว่าคุณมองไปที่แค่การลงทุนต่างๆ ในแหล่งพลังงานใหม่ โดยไม่ดูถึงผลกระทบที่ตามมาของการไม่ลงมือทำอะไรเลยต่อความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นข้อโต้แย้งที่กำมะลอ มันเป็นข้อโต้แย้งที่บิดพลิ้วและกำมะลอ”
Leader of the Opposition Bill Shorten and Prime Minister Scott Morrison during the third Leaders Debate at the National Press Club in Canberra, Wednesday, May 8, 2019. (AAP Image/Mick Tsikas) NO ARCHIVING
The focus was on Labor policies during the debate. Source: AAP
นายมอร์ริสันกล่าวว่า ฝ่ายตรงข้ามของเขานั้นเมินเฉยว่าได้มีการลงมือดำเนินการต่อความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอยู่แล้ว และมีการเพิ่มการลงทุนต่อพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้น

การรักษามะเร็ง

นายชอร์เทนใช้คำถามแรกของเขาในการถามนายกรัฐมนตรี ว่าพรรคร่วมจะทำได้เท่ากับพรรคแรงงานหรือไม่ ต่อแผนที่จะให้เมดิแคร์นั้นครอบคลุมบริการต่างๆ สำหรับโรคมะเร็งให้มากขึ้นกว่าเดิม

ด้านนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ในระบบของรัฐ การรักษาพยาบาลทุกๆ อย่างนั้นใช้เงินของรัฐอยู่แล้ว

แต่นายชอร์เทนก็ชี้ว่านายรัฐมนตรีนั้นไม่เข้าใจโลกของความเป็นจริงที่ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นจำเป็นจำต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าใช้จ่ายเองแม้ในระบบของรัฐ

ภาษี

นายมอร์ริสันได้แต้มเหนือฝ่ายตรงข้ามของเขา เมื่อเขากดดันให้นายชอร์เทนรับประกันว่าค่าเช่าบ้านนั้นจะไม่เพิ่มสูงขึ้นอันเป็นผลมาจากการที่พรรคแรงงานจะยับยั้ง เนกาทีฟเกียริง (การอนุญาตให้ค่าใช้จ่ายจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สามารถนำมาหักภาษีเงินได้)

“งั้นผมก็แปลว่าจะไม่รับประกัน? นั่นก็คือไม่สินะ?” นายมอร์ริสันพูดแทรก

โดยนายชอร์เทนถูกบีบให้ยอมรับว่าเขาไม่สามารถที่จะรับประกันได้

“คุณก็ได้ยินคำตอบแล้ว”

ในเรื่องของแฟรงกิงเครดิต (franking credit การกันเงินปันผลไว้เพื่อจ่ายภาษีให้กับนักลงทุน) รายชอร์เทนกล่าวว่า การให้เงินคืนดังกล่าวนั้นเป็นการให้ของขวัญ ซึ่งไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ด้านนายมอร์ริสันได้อธิบายเรื่องการคืนเงินดังกล่าวอย่างละเอียด โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายก็คือเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้คนถูกเก็บภาษีซ้ำสอง
Leader of the Opposition Bill Shorten and Prime Minister Scott Morrison during the third Leaders Debate at the National Press Club in Canberra, Wednesday, May 8, 2019. (AAP Image/Mick Tsikas) NO ARCHIVING
El líder de la oposición federal Bill Shorten y el primer ministro Scott Morrison durante el tercer debate. Source: AAP

การบริหารเศรษฐกิจ

นายชอร์เทนกล่าวว่า นโยบายของพรรคแรงงานนั้น ไม่ได้จำเป็นว่าจะทำให้(เงินคงคลัง)ลดลงกว่าเดิมเสมอไป หากมีการถดถอยลงของเศรษฐกิจโลกอย่างร่วงดิ่ง เพราะว่าจะมีรายรับจากการเก็บภาษีเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการปฏิรูปในด้านต่างๆ

เขายังผูกมัดที่จะให้มียอดเงินคงคลังเป็นบวก

ด้านนายกรัฐมนตรีนั้น ก็บิดพลิ้วกฎไวยากรณ์เมื่อคุยอวดความน่าเชื่อถือของรัฐบางในแง่เศรษฐกิจ

“เราได้ทำให้เงินคงคลังเป็นบวกแล้วในปีหน้า”

นายชอร์เทนจึงรีบชี้ให้เห็นว่า ยังไม่มีใครทราบว่ารัฐบาลจะทำให้เงินคงคลังเป็นบวกตามที่ทำนายไว้หรือได้ไม่สำหรับปีการเงิน 2019/20 จนกว่าจะถึงปีหน้า

อิสรภาพทางศาสนา

เพื่อเป็นการตอบคำถามของคุณซาบรา เลน พิธีกรการโต้วาที เกี่ยวกับกรณีของนายอิสราเอล ฟอเลา ผู้เล่นของทีมวอลลาบีส์ที่กำลังเกิดปัญหา นายชอร์เทนกล่าวว่า เขารู้สึก “ไม่สบายใจ” เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว

“ผมไม่คิดว่าหากคุณเป็นเกย์แล้วคุณจะตกนรก ... ดังนั้นผมจึงรู้สึกไม่สบายใจในกรณีของฟอเลา ผมยังไม่สบายใจที่เขานั้นมีมุมมองที่ยึดถืออย่างจริงใจ และเขาก็อาจได้รับความลำบากจากการลงโทษอะไรก็ตามที่หนักหน่วง” เขากล่าว

ในขณะเดียวกันนายมอร์ริสันกล่าวว่า เขาชื่นชมผู้ที่มีความยึดมั่นในศาสนา ทว่าบุคคลสาธารณะนั้นมีความรับผิดชอบที่เพิ่มสูงขึ้น และนายฟอเลาก็ยังถูกผูกมัดโดยสัญญาและกฎหมายการว่าจ้างงานอีกด้วย

รายงานเสริมโดย AAP
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 9 May 2019 11:14am
Updated 9 May 2019 11:25am
By Rosemary Bolger
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS News


Share this with family and friends