รู้จักข้อกำหนดด้านสุขภาพเพื่อขอวีซ่าออสเตรเลีย

EXPLAINER: ข้อกำหนดซึ่งกำลังเป็นที่โต้แย้ง มักเป็นอุปสรรคต่อครอบครัวผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจำนวนมาก ในการก้าวข้ามไปเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในออสเตรเลีย

You can read the full version of this story in English on SBS News .

เรื่องนี้กระทบต่อทุกๆ คนซึ่งมีความพิการหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องการจะยื่นขอวีซ่าออสเตรเลีย โดยข้อกำหนดนั้นมีมาตลอดหลายสิบปี และถูกกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติโดยเอื้อต่อผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ แต่ผู้คนจำนวนมากยังไม่ทราบว่ามีข้อกำหนดด้านสุขภาพไว้อย่างไรสำหรับการตรวจคนเข้าเมือง

มีกรณีที่โด่งดังจำนวนหนึ่ง หลังไม่ผ่านข้อกำหนดเนื่องจากบุตรของพวกเขามีความพิการ จึงทำให้มีการเพ่งเล็งไปยังข้อกำหนดเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง โดยกลุ่มตัวแทนและนักการเมืองกำลังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน

ตลอดที่ผ่านมา ไม่มีพรรคการเมืองหลักพรรคใดเลยซึ่งผูกมัดจะทบทวนข้อกำหนดดังกล่าว แต่วุฒิสมาชิกจากพรรคกรีนส์และตัวแทนผู้ผลักดันเรื่องความพิการ นายจอร์ดอน จอห์น-สตีล กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า หากสุดสัปดาห์นี้ได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอีกครั้ง  ก็จะเป็นการนำเสนอให้ออกกฎหมายต่อประเด็นดังกล่าว

ขั้นตอนเป็นอย่างไร

ข้อกำหนดด้านสุขภาพของการตรวจคนเข้าเมืองนั้นถูกกำหนดไว้ในกฎระเบียบการอพยพย้ายถิ่นฐานปี 1994 (Migration Regulations 1994) โดยอยู่ภายใต้วรรค 4 ของรายการเกณฑ์ต่างๆ ที่มีผลต่อประโยชน์สาธารณะ
Image of the Minister for Immigration David Coleman
รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมือง นายเดวิด โคลแมน (Image source: AAP) Source: AAP
หากอ้างอิงจากรัฐบาล ข้อกำหนัดนั้นมี   เพื่อปกป้องชาวออสเตรเลียจาก “ความเสี่ยงด้านสาธารณสุขและด้านความปลอดภัย” เช่นโรคติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัณโรค เพื่อปกป้องการเข้าใช้บริการทางการแพทย์ของชาวออสเตรเลียซึ่งมีไว้ให้เพียงจำกัดเช่นการปลูกถ่ายอวัยวะ และจำกัดจำนวนเงินซึ่งรัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้จ่ายในด้านสุขภาพและบริการชุมชน

แนวปฏิบัติในปัจจุบันยสำหรับการนำกฎระเบียบเรื่องนี้ไปใช้ระบุไว้ว่า มัน “สำคัญต่อประเทศออสเตรเลียและต่อโครงการวีซ่าให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ที่ความเสี่ยงทางสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพนั้น จะไม่เพิ่มขึ้นโดยไม่มีความจำเป็นเนื่องจากนักท่องเที่ยวและผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน”

ในทางปฏิบัตินั้น ไม่ว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะเพิ่มขึ้นโดย “ไม่มีความจำเป็น” หรือไม่ก็ตาม มันจะได้รับการตรวจประเมินโดยเทียบกับสิ่งที่นโยบายของรัฐบาลระบุไว้ว่าเป็น ‘ระดับค่าใช้จ่ายที่ถือว่ามีนัยสำคัญ’ หากค่าใช้จ่ายของความพิการด้านหนึ่ง หรือภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ถูกตัดสินโดยเจ้าหน้าที่การแพทย์ของเครือรัฐ (Medical Officer of the Commonwealth) ว่าสูงเกินระดับดังกล่าว ผู้ยื่นขอ(วีซ่า)ซึ่งมีความพิการหรือภาวะทางการแพทย์ก็จะไม่ผ่านข้อกำหนดเรื่องนี้

ในปัจจุบัน ‘ระดับค่าใช้จ่ายที่ถือว่ามีนัยสำคัญ’ นั้นอยู่ที่ 40,000 ดอลลาร์
"ในปัจจุบัน ‘ระดับค่าใช้จ่ายที่ถือว่ามีนัยสำคัญ’ นั้นอยู่ที่ 40,000 ดอลลาร์"
หากยื่นขอวีซ่าชั่วคราว ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการต่างๆ นี้ ในทางทฤษฎีจะถูกประเมินเทียบกับระยะเวลาที่ต้องการจะอยู่ในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ยื่นขอวีซ่านักเรียนคนหนึ่งได้รับการประเมินค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ไว้ที่ 12,000 ต่อปีและต้องการอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลาสี่ปี พวกเขาก็จะไม่ผ่านข้อกำหนดดังกล่าว

สำหรับผู้ยื่นขอวีซ่าถาวรที่อายุน้อยกว่า 75 ปี การคำนวณว่าท่านจะเกินจำนวนค่าใช้จ่ายนี้หรือไม่จะคิดจากว่าบริการต่างๆ จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไรเป็นระยะเวลาห้าปี ในขณะที่ผู้มีอายุเกิน 75 ปี ค่าใช้จ่ายของของพวกเขาจะถูกคำนวณด้วยระยะเวลาเพียงสามปีเท่านั้น
The Wangchuck family was facing deportation to Bhutan due to their son Kinley's disability until the Immigration Minister intervened earlier this month.
The Wangchuck family was facing deportation to Bhutan due to their son Kinley's disability until the Immigration Minister intervened. Source: SBS
ข้อยกเว้นในเรื่องนี้ก็คือ หากผู้ที่มีภาวะ(ทางการแพทย์)หรือความพิการที่น่าจะถาวร ในกรณีเหล่านั้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ จะถูกคำนวณไว้สำหรับระยะเวลาตลอดช่วงชีวิตของผู้ยื่นสมัคร

มีบริการต่างๆ มากมายที่จะถูกนำมาคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หากอ้างอิงจาก ‘บันทึกแนวทาง’ ของรัฐบาล ซึ่งเป็นเอกสารช่วยเจ้าหน้าที่การแพทย์ของเครือรัฐตัดสินใจ การคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีความพิการนั้นอาจรวมไปถึงการเข้ารับเงินบำนาญเพื่อช่วยเหลือความพิการ (Disability Support Pension) เงินเบี้ยเลี้ยงช่วยให้ทำการเคลื่อนไหว (mobility allowance) เงินเบี้ยเลี้ยงค่ายา และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มันก็อาจรวมไปถึงการบำบัดทางการพูด การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) บริการด้านการศึกษา และการปลูกถ่ายโฆเคลีย

ในการคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ เจ้าหน้าที่การแพทย์ของเครือรัฐจำเป็นจะต้องใช้ ‘การทดสอบบุคคลสมมติ’ ซึ่งหมายถึงว่า พวกเขาจะต้องพิจารณาว่าจะมีบริการใดๆ บ้างที่บุคคลสมมติคนหนึ่งซึ่งมีภาวะเช่นเดียวกับผู้ยื่นขอ(วีซ่า)จะสามารถเข้าใช้ได้บ้าง และทำการตัดสินด้านค่าใช้จ่ายไปตามนั้น

มันไม่สำคัญว่าผู้ยื่นสมัครจงใจจะเข้าใช้บริการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ หากอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง นางแมรี คุก “ไม่มีการพยายามจะวัดเรื่องนี้ในความเป็นจริง” ว่าบุคคลหนึ่งนั้นจะดึงทรัพยากรของออสเตรเลียไปใช้หรือไม่

ปัจจัยอื่นๆ เช่น สภานภาพทางการเงิน ที่อยู่ของสมาชิกครอบครัว หรือความสามารถในการให้แก่สังคมออสเตรเลีย จะไม่สามารถถูกนำมาพิจารณาในการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่การแพทย์ของเครือรัฐได้

เรื่องนี้ใช้กับใครบ้าง

เกือบทุกคนที่ยื่นขอวีซ่าเพื่อเยี่ยมเยือนหรืออยู่อาศัยในประเทศออสเตรเลียจำเป็นจะต้องผ่านข้อกำหนดทางสุขภาพ โดยหลายคนจำเป็นต้องไปตรวจสุขภาพร่างกาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการมา ชนิดของวีซ่า และระยะเวลาที่อยู่ในประเทศ

ผู้ซึ่งยื่นขอวีซ่าถาวรนั้นจำเป็นจะต้องไปรับการตรวจโดยแพทย์ก่อนที่จะได้รับอนุมัติวีซ่า ผู้ขอวีซ่าชั่วคราวก็อาจจำเป็นต้องไปตรวจ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการจะอยู่ในประเทศ ประเทศต้นทาง และว่าพวกเขานั้นจะทำกิจกรรมอะไรที่ประเทศออสเตรเลียบ้างในลักษณะที่สุขภาพจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ

หากสมาชิกคนหนึ่งของทั้งครอบครัวที่ยื่นขอวีซ่าร่วมกันไม่ผ่านข้อกำหนดด้านสุขภาพ สมาชิกคนอื่นๆ ทุกคนของครอบครัวก็จะถูกปฏิเสธวีซ่าไปด้วย โดยเห็นเรื่องนี้ได้จากกรณีของครอบครัววังชุก ซึ่งหลังจากอยู่อาศัยในประเทศออสเตรเลียมาเกือบสิบปีก็เผชิญกับการถูกเนรเทศไปยังประเทศภูฏานเนื่องจาก

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองนายเดวิด โคลแมน เข้าแทรกแซง

ณ ปี ค.ศ. 2012 ผู้ซึ่งหาทางมายังประเทศออสเตรเลียด้วยวีซ่าผู้ลี้ภัยและวีซ่ามนุษยธรรม แต่ไม่ผ่านข้อกำหนดดังกล่าวเนื่องจากเหตุผลด้านค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปอย่างมีนัยสำคัญ จะได้รับการยกเว้นต่อข้อกำหนดนี้
Visa application form
มีชนิด (ซับคลาส) ของวีซ่าอยู่จำนวนจำกัด ซึ่งจะไม่มีข้อกำหนดด้านสุขภาพ (Image source: Getty Images) Source: Getty Images
มีจำนวนชนิด (ซับคลาส) ของวีซ่าซึ่งไม่มีข้อกำหนดด้านสุขภาพดังกล่าว ได้แก่: ZM 988, BB155, BB157, GD 403, TF 995, TY 444 และวีซ่าวัตถุประสงค์พิเศษ

ผู้ป่วยเป็นวัณโรคจะถูกห้ามโดยกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองอย่างแน่นอนไม่ให้ได้รับวีซ่าออสเตรเลีย และไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ใดๆ ทั้งสิ้น
"ผู้ป่วยเป็นวัณโรคจะถูกห้ามโดยกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองอย่างแน่นอนไม่ให้ได้รับวีซ่าออสเตรเลีย และไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น"

การยกเว้นด้านสุขภาพคืออะไร?

หากผู้ยื่นขอคนหนึ่งไม่ผ่านข้อกำหนดด้านสุขภาพ ในบางกรณีก็สามารถให้การยกเว้นด้านสุขภาพได้ขึ้นอยู่กับประเภท (คลาส) ของวีซ่า ซึ่งก็จะทำให้ผู้ยื่นขอนั้นยังสามารถได้รับอนุมัติวีซ่าได้อยู่

ประเภทของวีซ่าที่อาจมีสิทธิได้รับการยกเว้นด้านสุขภาพก็คือกลุ่มซึ่งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ด้านผลประโยชน์สาธารณะ 4007 กลุ่มนี้จะรวมไปถึงวีซ่าผู้ลี้ภัย และวีซ่ามนุษยธรรม วีซ่าทักษะและวีซ่าธุรกิจบางประเภท วีซ่านักเรียนด้านการต่างประเทศหรือภาคส่วนป้องกันประเทศ และวีซ่าทักษะขาดแคลนแบบชั่วคราว

ทว่าหากคำร้องสำหรับวีซ่านั้นถูกครอบคลุมโดยวัตถุประสงค์ด้านผลประโยชน์สาธารณะ 4005 ก็จะไม่มีหนทางสำหรับการยกเว้นด้านสุขภาพใดๆ

การประเมินเพื่อยกเว้นด้านสุขภาพนั้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตัดสินใจออกวีซ่า และจะยกเว้นให้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านเกณฑ์อื่นๆ สำหรับการอนุมัติวีซ่าทั้งหมดอย่างน่าพึงพอใจแล้ว

หากอ้างอิงตามแนวปฏิบัติของรัฐบาล สถานการณ์แวดล้อมต่างๆ ก็อาจถูกนำมาคิดรวมเมื่อประเมิน ว่าจะให้การยกเว้นด้านสุขภาพหรือไม่ ซึ่งจะรวมไปถึงว่าผู้สมัครนั้นสามารถแบ่งเบาค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ของพวกเขาเองได้หรือไม่ มีเหตุผลที่น่าเห็นอกเห็นใจ (compassionate grounds) หรือไม่ เช่นผู้ยื่นขอนั้นจะสามารถเข้าใช้การรักษาทางการแพทย์ได้หรือไม่หากถูกบีบบังคับให้ย้ายที่อยู่ หรือว่าหากพวกเขามีความเชื่อมโยงอย่างสลักสำคัญกับครอบครัวที่ประเทศออสเตรเลีย

หากไม่ได้รับการยกเว้นทางการแพทย์ และการยื่นอุทธรณ์ต่างๆ นั้นไม่เป็นผล ทางเลือกที่เหลือหนทางเดียวสำหรับผู้ยื่นขอวีซ่าก็คือการเข้าแทรกแซงโดยรัฐมนตรี

ภายใต้พระราชบัญญัติการตรวจคนเข้าเมืองปี 1958 รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจในการล้มเลิกการตัดสินใจเพื่อปฏิเสธวีซ่าได้ หากเขาเชื่อว่าถ้าแทรกแซงแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
Biswajit Banik, Sarmin Sayeed and their 12-year-old son Arko.
Biswajit Banik, Sarmin Sayeed and their 12-year-old son Arko. Source: The Feed
หากอ้างอิงจาก มีเพียงกรณี “จำนวนน้อย” เท่านั้น ที่ถูกส่งต่อให้กับรัฐมนตรี และกรณีเหล่านั้นแสดงให้เห็นได้ว่ามี “สภาพการณ์แวดล้อมที่ไม่ซ้ำใครและเป็นพิเศษ”

เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2017 เมื่อรัฐมนตรีช่วยด้านตรวจคนเข้าเมืองในขณะนั้น นายอเล็กซ์ ฮอว์ก เข้าแทรกแซงเพื่อยับยั้งการเนรเทศแพทย์คนหนึ่งจากย่านตะวันตกของนครซิดนีย์ แพทย์หญิง  ซึ่งมีภาวะออติสม ตามที่สื่อซิดนีย์มอร์นิงเฮราลด์รายงาน

หนึ่งปีก่อนหน้านั้น นายปีเตอร์ ดัตตัน รัฐมนตรีตรวจคนเข้าเมืองในขณะนั้นก็เข้าแทรกแซงกรณีของครอบครัวชาวบังกลาเทศ ซึ่งคำร้องขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของพวกเขาถูกปฏิเสธเพราะบุตรชายของพวกเขามีภาวะออติสมอย่างอ่อนๆ

การตัดสินใจที่จะให้คุณบิสวาจิต บานิก และซาร์มิน ซายีด แพทย์ทั้งสองคนและบุตรชาย อาร์โก อยู่ต่อนั้น เกิดขึ้นหลังจากห เพื่อสนับสนุนครอบครัวดังกล่าว

คุณเคยได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดด้านสุขภาพของการตรวจคนเข้าเมืองหรือไม่ โปรดติดต่อเรา

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องเกี่ยวกับวีซ่าออสเตรเลียจาก เอสบีเอส ไทย

หากมีลูกที่ออสเตรเลีย 10 ปีขอเป็นพีอาร์อยู่ต่อได้


Share
Published 16 May 2019 11:44am
Updated 16 May 2019 7:58pm
By Maani Truu
Presented by Tanu Attajarusit
Source: The Feed, AAP, SBS News, Facebook


Share this with family and friends