เรียนทำครัวอย่างไรให้ได้พีอาร์

วงการอาหารกำลังเฟื่องฟูและมีโอกาสการว่าจ้างงานที่ยอดเยี่ยม นักเรียนนานาชาติจำนวนมากจึงเลือกมาเรียนการทำครัวเชิงธุรกิจ (Commercial Cookery) และศิลปะการทำอาหาร (Culinary Arts) ที่ประเทศออสเตรเลีย

Image of cooks in an commercial kitchen

การทำครัวเชิงพาณิชย์ (Commercial cookery) และศิลปะการทำอาหาร (Culinary arts) เป็นหนทางการศึกษาที่นำไปสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้ Source: Pixabay

You can read the full version of this story in English on SBS Filipino .

ลูกค้าของเอเจนต์ตัวแทนการตรวจคนเข้าเมืองในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย คุณอาร์วิน ไซ ชาง (Arvin Sy Chang) ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นผู้ถือวีซ่านักเรียน ที่กำลังหาหนทางเพื่ออยู่อาศัยในประเทศออสเตรเลียอย่างถาวรหลังจบการศึกษา

คุณชางเผยว่า การทำครัวเชิงธุรกิจ (Commercial Cookery) และศิลปะการทำอาหาร (Culinary Arts) เป็นหนทางการศึกษาที่สามารถนำไปสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้

“ในเรื่องของการทำอาหาร มันขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี มันอยู่ที่ว่าผู้ที่จะเรียนนั้นเคยมีประสบการณ์[การทำงานในครัว]หรือไม่” เขาเล่า โดยเสริมว่า “แต่ก็มีทางเลือกมากมายสำหรับพวกเขา”

หากท่านสนใจ คุณชางแนะนำว่าท่านควรจะคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. หากท่านเคยมีประสบการณ์ทำงานในครัว ก็อาจเป็นไปได้ที่จะยื่นขอวีซ่าทักษะได้เลย

Chef
หากท่านมีประสบการณ์การทำงานในครัว ท่านอาจมีสิทธิยื่นขอวีซ่าทักษะของออสเตรเลีย (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
คุณชางกล่าวว่า หากจะ “ได้ทันที” นั้น ผู้ยื่นจำต้องมีทั้งประสบการณ์ และวุฒิการศึกษาอยู่ก่อนหน้าแล้วในฐานะกุ๊ก (cooks) หรือเชฟ (chefs)

เขาอธิบายว่า ขั้นตอนที่ดีที่สุดในการขอวีซ่าย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะ ในขั้นแรกก็คือไปทำการประเมินกับ ทางโครงการประเมินทักษะจากต่างประเทศ ที่เรียกว่า Offshore Skills Assessment Program (OSAP) ของ

“ตั้งแต่เดือนเมษายน 2018 ในเรื่องของการขาดแคลนทักษะชั่วคราว รัฐบาลได้กำหนดให้กุ๊กต้องเข้ารับการประเมินทักษะ และจะต้องมีประสบการณ์อย่างน้อยสองปี” เขากล่าว

2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายชื่ออาชีพที่ถูกตั้งธง (flagged) อาชีพระยะสั้น (short-term) อาชีพระยะปานกลาง (medium-term) และอาชีพในระยะยาว (long-term)

Chef
ทำความเข้าใจรายชื่ออาชีพทักษะของออสเตรเลีย (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
คุณชางชี้แจงว่า ในขั้นแรกก่อนที่จะยื่นวีซ่าออสเตรเลียนั้น ท่านควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายชื่ออาชีพที่ถูกตั้งธงเอาไว้ (flagged occupations) รายชื่ออาชีพระยะสั้น (short-term skilled occupation list หรือ STSOL) และรายชื่อทักษะกลยุทธ์ระยะปานกลางถึงระยะยาว (medium to long-term strategic skills list หรือ MTLTSSL)

อาชีพที่ถูกตั้งธงไว้ (flagged occupations) คืออาชีพต่างๆ ที่อาจกำลังจะถูกถอดถอนออกจากรายชื่ออาชีพทักษะ หริอ เป็นอาชีพใน MLTSSL (รายชื่ออาชีพที่มีความต้องการระยะปานกลางถึงระยะยาว) ที่อาจถูกลดทอนลงไปเป็น STSOL (รายชื่ออาชีพที่มีความต้องการเพียงระยะสั้น)

หากอ้างอิงจากคุณชาน มันก็จะดีที่สุดหากท่านเล็งกลุ่มอาชีพต่างๆ ในรายชื่ออาชีพที่มีความต้อการระยะปานกลางหรือระยะยาว แทนที่จะเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความต้องการเพียงระยะสั้น โดยกลุ่มอาชีพระยะปานกลางถึงระยะยาวนั้นจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เรียนหลักสูตรต่างๆ เป็นเวลายาวนานสองปี สามารถขอวีซ่าบัณฑิตชั่วคราว (Temporary Graduate ซับคลาส subclass 485) ได้ ซึ่งวีซ่าดังกล่าวจะอนุญาตให้นักเรียนสามารถหางานทำต่อเป็นระยะเวลา 18 เดือนหลังจบการศึกษา

เนื่องจากอาชีพกุ๊ก (cooks) ถูกปลดลงไปอยู่ในรายชื่ออาชีพที่มีความต้องการเพียงระยะสั้น ขณะนี้จึงไม่สามารถขอวีซ่า 485 ได้อีกต่อไป

แต่ในทางกลับกัน อาชีพเชฟ (chefs) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาชีพระยะปานกลางถึงระยะยาว

3. ให้เรียนเป็นเชฟ อย่าเรียนเป็นกุ๊ก

Chef
หากท่านกำลังหาหนทางเพื่อเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ให้เป็นเชฟแทนที่จะเป็นกุ๊ก (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
ขณะนี้กุ๊กอยู่บนรายชื่ออาชีพที่มีความต้องการระยะสั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถขอวีซ่า 485 ได้อีกต่อไป

“สิ่งที่คนซึ่งมาจากต่างประเทศหลายๆ คนทำก็คือ เรียนประกาศนียบัตรระดับสามด้านการทำครัวเชิงธุรกิจ (Certificate III in Commercial Cookery) แล้วต่อด้วยประกาศนียบัตรระดับสี่ด้านการทำครัวเชิงธุรกิจ (Certificate IV in Commercial Cookery) เพราะว่านั่นคือข้อกำหนดขั้นต่ำที่สุดของการที่จะเป็นเชฟได้ หลังจากนั้นพวกเขาก็จะเรียนดิโพลมาด้านงานบริการ (Diploma in Hospitality) หรือดิโพลมาอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของพวกเขา ซึ่งการเรียนเป็นจำนวนสามหลักสูตรนั้น จะทำให้ระยะเวลาของการศึกษานั้นนานเกินสองปี” คุณชางเผย

หลังจากที่เรียนเป็นเวลาสองปีแล้ว นักศีกษาก็จะสามารถยื่นสมัครเข้าโครงการความพร้อมสำหรับตำแหน่งงาน หรือ Job Ready Program (JRP) ของหน่วยงาน TRA ข้างต้น ซึ่งเมื่อผ่านโครงการความพร้อมดังกล่าวแล้ว ผู้ที่สามารถมีแต้มคะแนน 65 แต้มหรือมากกว่า ก็สามารถที่จะยื่นขอวีซ่าได้ตามเกณฑ์การย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะทั่วไป (General skilled migration)

จากรายการอาชีพของออสเตรเลีย คุณชางยอมรับว่าการจะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรนั้นจะง่ายกว่าหากท่านเป็นเชฟ แทนที่จะเป็นกุ๊ก

4. ทำงานไปด้วยในระหว่างเรียน

Study
การทำงานไปด้วยในขณะเรียนจะเพิ่มโอกาสการว่าจ้างงานหลังจบการศีกษา (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
สำหรับนักเรียนนานาชาติเป็นจำนวนมากในประเทศออสเตรเลีย เป้าหมายสูงสุดก็คือการมีงานทำและหลังจากนั้นก็อยู่ในประเทศเป็นการถาวร

คุณชางแนะนำว่า นักเรียนควรจะใช้ประโยชน์จากจำนวนชั่วโมงซึ่งสามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้เต็มที่ การทำงานไปด้วยในขณะที่เรียนนั้นจะทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ และช่วยให้พวกเขาเก็บชั่วโมงได้เพียงพอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขอวีซ่าบางประเภท และยังช่วยให้เขาได้สร้างเครือข่ายในวงการไว้อย่างแข็งแกร่ง

“ทั้งในพื้นที่เมืองและส่วนภูมิภาคของออสเตรเลีย มีความต้องการคนทำครัวเป็นอย่างมาก” เขาเล่าต่อ

อย่างไรก็ตาม ก็จำเป็นต้องทราบว่านักเรียนจะต้องเข้าใจในสิทธิของตนเมื่อเริ่มทำงาน

ตามที่คุณชางได้กล่าว“เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบโดยนายจ้าง ว่าคุณได้รับค่าจ้างน้อยเกินไป หรือคุณกำลังทำงานในสภาพต่างๆ ซึ่งต่ำกว่าการว่าจ้างงานอย่างยุติธรรม ก็ให้ออกมาจากสถานการณ์ตรงนั้น เพราะว่าสุดท้ายแล้วคุณจำเป็นต้องใช้เอกสารรับรองเพื่อขอวีซ่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องทำกันอย่างถูกต้องชัดเจนบนโต๊ะ”

5. ข้อตกลงการย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่เฉพาะ (Designated Area Migration Agreement หรือ DAMA) ของมณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอร์รี (Northern Territory) และยังอาจมีทางเลือกวีซ่าอื่นๆ สำหรับท่านหลังจบการศึกษา

Uluru in Northern Territory.
ท่านอาจมีสิทธิยื่นขอวีซ่าทักษะภายใต้ข้อตกลงการย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่เฉพาะ Designated Area Migration Agreement หรือ DAMA (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
หลังจากจบการศึกษา นักเรียนทำอาหารนั้นมีตัวเลือกจำนวนหนึ่งที่สามารถทำให้พวกเขาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต่อได้

จากที่คุณชางกล่าว ทางเลือกที่เป็นไปได้ทางหนึ่งสำหรับกุ๊กและเชฟก็คือ ข้อตกลงการย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่เฉพาะ (Designated Area Migration Agreement หรือ DAMA) ของมณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอร์รี (Northern Territory) ซึ่งทางเลือกดังกล่าวจะเป็นการให้ทางมณฑลนั้นเปิดรับทักษะบางอาชีพที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาชีพกึ่งทักษะ (semi-skilled) แต่ไม่ได้ขึ้นชื่ออยู่บนรายชื่ออาชีพทักษะของเครือรัฐ (Commonwealth’s skilled occupation list) ซึ่งนอร์เทิร์นเทร์ริทอร์รีก็มอบข้อลดหย่อนพิเศษต่างๆ ให้กับอาชีพเหล่านี้ อาทิ ไม่จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ หรือเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำ เมื่อท่านขอวีซ่าประเภทที่นายจ้างเป็นสปอนเซอร์ (employer-sponsored visas) สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อจะยื่นสมัครวีซ่าประเภทนี้ก็คือการมีระดับทักษะขั้นต่ำด้วยการทำงานตามเกณฑ์ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเวลาหนึ่งหรือสองปี (ขึ้นอยู่กับอาชีพ)

คุณชางชี้ว่า ขณะนี้ขอตกลง DAMA ก็มีสำหรับพื้นที่อูรานา (Urana) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และวอร์นามบูล (Warrnambool) ในรัฐวิกตอเรียด้วยแล้วเช่นกัน

วีซ่าอีกทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับนักเรียนทำครัวหลัวจบการศึกษาก็คือ วีซ่าทักษะอิสระ (Skilled Independent Visa ซับคลาส 189)

“สถานการณ์ในอุดมคติก็คือ เรียนจบประกาศนียบัตรขั้น III และ IV และดิโพลมา ซึ่งหมายความว่าคุณก็จะมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นจากการมาศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งก็จะมีแต้มเพิ่มให้กับคุณในการย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะทั่วไป และหากคุณศึกษาในพื้นที่ส่วนภูมิภาคหรือเช่นในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย คุณก็จะได้แต้มคะแนนเพิ่มอีกห้าแต้ม คุณจำเป็นจะต้องมีแต้มคะแนนอย่างน้อย 65 แต้มหากจะมีสิทธิทำการย้ายถิ่นฐานทั่วไปด้วยทักษะ ซึ่งแต้มต่างๆ เหล่านี้ก็จะคอยช่วยให้มากขึ้นเรื่อยๆ” เขาเล่า
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่เฉพาะ หรือ DAMA ไปที่

6. ทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนนั้นท่านกำลังทำอะไรอยู่

culinary school
ทำความเข้าใจทุกขั้นตอนที่ท่านจำเป็นต้องทำในสายงานอาชีพการทำอาหาร เพื่อให้ได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (Image source: Pixabay) Source: Pixabay
คุณชางกล่าวว่า มันสำคัญที่นักเรียนจะต้องเข้าใจว่าพวกเขากำลังทำอะไร เมื่อตัดสินใจที่จะเดินในสายอาชีพการทำครัวหรือศิลปะการทำอาหาร

“พยายามทำความเข้าใจ ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับขั้นตอนแรกๆ แต่ในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมด พยายามไปพูดคุยกับเอเจนต์ตัวแทนในเรื่องกลยุทธต่างๆ” เขาอธิบาย โดยเสริมว่า “เพราะว่าจะทำให้คุณนั้นทำตามแผนการได้ และก็ทราบว่าในท้ายที่สุดแล้วคาดว่าจะเกิดอะไรขึ้น”

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น หากคุณต้องการคำแนะนำเฉพาะสำหรับกรณีของคุณ ขอให้ตรวจสอบข้อมูลกับ หรือติดต่อทนายความด้านกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง หรือติดต่อตัวแทนดำเนินการด้านวีซ่า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในออสเตรเลีย

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

หากมีลูกที่ออสเตรเลีย 10 ปีขอเป็นพีอาร์อยู่ต่อได้


Share
Published 28 February 2019 11:38am
Updated 15 November 2019 11:08am
By Nikki Alfonso-Gregorio
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Filipino, Pixabay


Share this with family and friends