COVID Bubble คืออะไร จะได้ผลหรือไม่ในออสเตรเลีย

มีการพูดถึงแนวคิดในการจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่เรียกว่า COVID Bubble ซึ่งเป็นการจำกัดการแพร่ระบาดอย่างเข้าใจความรู้สึกผู้คนที่ในการนำไปใช้ในบางประเทศ ด้วยการสร้างกลุ่มที่มีความเฉพาะและปลอดภัยในการพบปะใกล้ชิด แต่คำถามสำคัญก็คือ หากนำมาใช้ในออสเตรเลียแล้ว ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร

Dinner

Source: Shutterstock

แนวคิด COVID Bubble หมายถึง การที่ผู้พบปะใกล้ชิดไม่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือรักษาระยะห่างทางสังคม โดยในช่วงเวลาที่มาตรการล็อกดาวน์มีความเข้มงวด คำนี้หมายถึงสมาชิกในบ้านของคุณเท่านั้น แต่ในประเทศอย่างนิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร ได้มีการทดลองขยายขอบเขตของ germ bubble ให้กว้างออกไปมากกว่าภายในบ้านเพียงหลังเดียว 

ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ นายแดเนียล แอนดรูส์ มุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย มีกำหนดที่จะเปิดเผยแผนแม่บทในการนำพารัฐวิกตอเรียออกจากมาตรการจำกัดห้ามการแพร่ระบาดต่าง ๆ มีความสนใจเป็นจำนวนมากถึงการนำคำนิยามดังกล่ามาปรับใช้ หลัง ศาสตราจารย์เบรตต์ ซัตทัน ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ ได้ยืนยันว่ากำลังมีการพิจารณาแนวคิดดังกล่าว “อย่างกระตือรือร้น” 

การขยายขอบเขตของ COVID Bubble หมายความว่า ผู้คนในครัวเรือนหนึ่ง สามารถเลือกบุคคลอื่นหรือครัวเรือนอื่น ให้เป็นผู้ที่คุณสามารถพบปะใกล้ชิดได้ (close contact) ซึ่งจะต้องมีความเฉพาะตัว เพื่อให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสนั้นได้รับการควบคุม โดยครัวเรือนหรือบุคคลที่ได้รับเลือกนั้นจะต้องอาศัยอยู่ในละแวกหรือในเมืองเดียวกัน

วิธีดังกล่าวเป็นการรักษาสมดุลของความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยความต้องการของผู้คนในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่ต้องได้รับการกักตัว สามารถเชื่อมต่อกับสังคม เพื่อบรรเทาความเครียดในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา

แม้แนวคิดดังกล่าวจะมีความเสี่ยงตามมาแบบไม่ต้องสงสัย แต่มันเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะต้องประกาศใช้มาตรการจำกัดการแพร่ระบาดต่าง ๆ บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจ การแพร่ระบาดใหญ่ครั้งนี้ เปรียบเหมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งให้เร็วที่สุด และเมื่อประชาชนรู้สึกว่านโยบายต่าง ๆ ถูกจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงความเห็นอกเห็นใจ ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่พวกเขาจะยึดหลักปฏิบัติตามในระยะยาว

คุณอาจสนใจฟังเรื่องนี้
LISTEN TO
Thai mum in Australia's nightmare of COVID-19 image

คนไทยในออสฯ เล่าพิษสงเชื้อมัจจุราชโควิด-19

SBS Thai

23/04/202033:04

COVID Bubble ในแถบทะเลแทสมัน

ในมาตรการล็อกดาวน์ปัจจุบันของรัฐวิกตอเรีย COVID Bubble นั้น ถูกจำกัดเฉพาะบุคคลในครัวเรือนเดียว โดยมีเพียงผู้ที่ “มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง” เท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยมหากันได้

ความโดดเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้คนเป็นอย่างมาก และมันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า สิ่งนี้ได้ทำให้ผู้ที่เป็นโสด และผู้ที่มาจากโครงสร้างทางครอบครัวที่แตกต่างไปนั้นเกิดความไม่สบายใจ

แนวคิด COVID Bubble ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาในส่วนนี้ โดยการเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถพบปะใกล้ชิดกับกลุ่มบุคคลที่มีการมีความเฉพาะและในการจำกัดความอย่างชัดเจน สิ่งนี้เป็นแนวคิดใหม่ แต่ไม่ได้รับการนำไปใช้ในการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) เมื่อปี 2003 โดยนิวซีแลนด์ เป็นประเทศแรกของโลกที่นำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ และขยายขอบเขตของแนวคิดดังกล่าว ในการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้พบปะใกล้ชิดกันนอกบ้านได้ ภายใต้มาตรการจำกัดการแพร่ระบาด “ระดับ 3”

การขยายขอบเขต COVID Bubble ของนิวซีแลนด์นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นแนวทางบนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด แต่ยังเป็นแนวทางที่สะท้อนกับความเป็นจริงของสภาพสังคมในยุคปัจจุบันอีกด้วย

ในสังคมของเรา  ความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญสำหรับเรานั้นมีความซับซ้อน และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงความเข้าใจของเราว่า ใครเป็นสมาชิกครอบครัว ครอบครัวแบบผสม สมาชิกครอบครัวต่างบิดามารดา คู่ชีวิต คนรัก รวมถึงเพื่อนสนิท ซึ่งทั้งหมดอาจไม่ได้อยู่อาศัยร่วมกันในตอนนี้

การเลือกสมาชิกในครอบครัวในเป็นผู้พบปะใกล้ชิดในแนวคิด COVID Bubble ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจนั้น อาจส่งผลดีต่อชุมชนในระยะยาว ในช่วงที่เราต้องเข้า ๆ ออก ๆ จากมาตรการล็อกดาวน์

สหราชอาณจักร เป็นอีกประเทศที่ได้นำแนวคิด COVID Bubble ไปปรับใช้ เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยได้อนุญาตให้ผู้ที่อยู่คนเดียวในที่พักอาศัย สามารถรวมกลุ่มกับที่พักอาศัยซึ่งมีผู้อยู่อาศัยหลายคนได้

และอะไรเป็นความเสี่ยงของ COVID Bubble?

แม้แนวคิดนี้จะส่งผลดีต่อสังคม แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งจะต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อได้เปรียบทางสุขภาพจิต และความเป็นไปได้ในการแพร่กระจายเชื้อ 

หากแนวคิด COVID Bubble นั้น ได้รับการนำมาใช้ในออสเตรเลีย จะต้องมีขบวนการที่ได้รับการจัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการ ในกากำกับดูแลการรวมกลุ่มของประชาชน นอกจากนี้ จำนวนประชาชนที่รวมกลุ่มได้สูงสุดนั้นจำเป็นจะต้องถูกจำกัด

แนวคิดนี้จะต้องมีความเฉพาะตัวเป็นอย่างมาก หากคุณรวมกลุ่มเป็น bubble กับครัวเรือนใดแล้ว คุณไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปรวมกลุ่มกับครัวเรือนอื่น ๆ ได้ตามอำเภอใจ หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงครัวเรือนที่ต้องการรวมกลุ่ม จะมีช่วงระยะห่าง 14 วัน ก่อนที่จะสามารถออกจากกลุ่มหนึ่ง ไปรวมกับอีกกลุ่มหนึ่งได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อระหว่างกลุ่ม 

แอปพลิเคชันติดตามการรวมกลุ่มนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในขบวนการเลือกผู้คนหรือครัวเรือนที่ต้องการรวมกลุ่ม โดยแอปพลิเคชันจะขอความยินยอมจากทุกฝ่าย ขณะที่ระบบ COVID Bubble จะต้องมีการพิจารณาการจัดการในพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกัน ในแง่ของระดับอัตราการแพร่กระจายเชื้อ  

ตัวอย่างเช่น หากสมาชิกในหลายครัวเรือนคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายไวรัสในอัตราสูง สิ่งนี้เป็นความเสี่ยงในระดับสูงสำหรับทั้ง bubble แม้ว่าสมาชิกในครัวเรือนคนอื่น ๆ จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายเชื้อในระดับต่ำก็ตาม เพราะไวรัสจะสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่ซึ่งมีการแพร่กระจายเชื้อในระดับต่ำผ่านกลุ่ม bubble เหล่านี้

นอกจากนี้ ผู้ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่หรืออาชีพซึ่งมีความเสี่ยง ยังมีความเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายเชื้อเข้าไปยัง bubble ที่ตนเองรวมกลุ่มอีกด้วย

ในแง่ของระบาดวิทยานั้น เป้าหมายของเราคือการลดความเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ในการแพร่ระบาดใหญ่ที่ยาวนาน เราต้องให้ช่องว่างสำหรับความเห็นอกเห็นใจ โดยที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงให้กับชุมชนในวงกว้าง

นโยบายบนความเห็นใจสร้างความร่วมมือ

การแยกตัวอยู่ต่างหาก สร้างความเครียดและอาจลดความร่วมมือของประชาชน แต่นโยบาย COVID Bubble ที่อยู่บนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจนั้น จะบ่มเพราะความพร้อม โดยการลดความรู้สึกของการแยกตัวสำหรับผู้ที่อยู่ตัวคนเดียวและเพื่อนฝูง รวมถึงความยากลำบากในการที่สมาชิกครอบครัวหรือคู่ครองต้องถูกแยกออกจากกัน 

การพัฒนาแนวคิด COVID Bubble บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ อาจช่วยให้เราสามารรับมือกับการแพร่ระบาดใหญ่ที่กินเวลายาวนาน ที่อาจต้องบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์หลายครั้ง รวมถึงการกำหนดพื้นที่ฮอตสปอตหากจำเป็น ความเห็นอกเห็นใจจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชุมชนมีความต้องการที่จะยึดหลักปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้มากขึ้น มากกว่าที่จะเป็นการถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม 

การตอบรับของเจ้าหน้าที่ตามแนวทางวิทยาศาสตร์ อาจทำให้ชุมชนเห็นว่า เจ้าหน้าที่มีความชำนาญและน่าเชื่อถือ แต่นั่นไม่ได้แสดงให้พวกเขาเห็นถึงความเห็นอกเห็นใจ แผนการที่มีความปลอดภัยบนพื้นฐานของความเห็นอกเห็นใจนั้น จะทำให้มั่นใจว่า มีสิ่งจูงใจสำหรับผู้คน ในการรวมกลุ่มใน COVID Bubble ต่าง ๆ  การดำเนินการในลักษณะที่เห็นอกเห็นใจ รวมกับการรักษาสมดุลและการตรวจสอบที่มีความเหมาะสม จะเปลี่ยนทัศนะคติของผู้คนที่มีต่อเจ้าหน้าที่ทางการ ให้เป็นไปในลักษณะที่สร้างความไว้วางใจ และมีความสามารถในการก้าวผ่านวิกฤตไวรัสโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 September 2020 1:18pm
Updated 4 September 2020 1:26pm
By Mary-Louise McLaws
Presented by Tinrawat Banyat
Source: The Conversation


Share this with family and friends