ผู้เชี่ยวชาญบอกยังเร็วไม่พอ แม้กราฟจำนวนผู้ติดเชื้อในออสเตรเลียจะชันน้อยลง

ขณะที่หลักฐานในเบื้องต้นชี้ว่า มาตรการสร้างระยะห่างทางกายภาพใหม่ที่เข้มงวดมากขึ้นของออสเตรเลีย กำลังเริ่มชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างเตือนประชาชนไม่ให้ชะล่าใจ

Staff wearing face masks outside the Royal Prince Alfred Hospitalin Camperdown, Sydney.

Staff wearing face masks outside the Royal Prince Alfred Hospitalin Camperdown, Sydney. Source: AAP

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ต่างยินดีกับสัญญาณที่บ่งชี่ว่า อัตราการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในออสเตรเลียกำลังชะลอตัวลง แต่ขอให้ประชาชนเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า เพื่อช่วยกันลดอัตราการติดเชื้อ หรือที่มีสำนวนเรียกกันว่า แฟลตเทน เดอะ เคิร์ฟ (flatten the curve) ให้ลดลงอย่างรวดเร็วมากขึ้น

ในวันอาทิตย์ รัฐบาลสหพันธรัฐ กล่าวว่า อัตราการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นรายวัน อยู่ที่ร้อยละ 13-15 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 25-30 เกือบตลอดสัปดาห์ที่แล้ว

จำนวนผู้ถูกยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ในนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งเป็นรัฐที่พบผู้ติดเชื้อราวครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในออสเตรเลีย ขณะนี้เพิ่มจำนวนเป็น 1,791 รายในวันอาทิตย์ หลังจากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 127 ราย

แพทย์หญิงแคร์รี ชานต์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ของนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า อัตราของผู้ติดเชื้อล่าสุดนี้ แสดงถึงภาวะ ‘ทรงตัว’ หลังมีการยืนยันผู้ติดเชื้อรายใหม่ 174 รายในวันเสาร์ และ 212 รายในวันศุกร์สัปดาห์ที่แล้ว

นายแพทย์ พอล เคลลี รองหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ของสหพันธรัฐ กล่าวว่า หลักฐานในเบื้องต้น ที่บ่งชี้ว่าอัตราการติดเชื้อกำลังลดลง หรือที่มีสำนวนเรียกกันว่า กราฟของอัตราการติดเชื้อนั้นกำลังสูงชันน้อยลง ซึ่งเป็น “ข่าวดี”

“การทรงตัวของจำนวนผู้ติดเชื้อ คือสิ่งที่เราพยายามทำ ซึ่งทำให้กราฟของอัตราผู้ติดเชื้อสูงชันน้อยลง เพื่อที่ว่าเราจะสามารถมีทรัพยากรสำหรับโรงพยาบาลและบริการดูแลผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างเพียงพอในช่วงหลายสัปดาห์ต่อจากนี้” นายแพทย์ เคลลี กล่าวในวันจันทร์ (วันนี้ 30 มี.ค.)

“แต่นี่ไม่ใช่เวลาที่จะยกเท้าออกจากเบรค ความจริงแล้วเราจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่า”
นายแพทย์ แดน ซวน นักภูมิคุ้มกันวิทยาและนักวิจัยของสถานบันการ์แวน กล่าวว่า กราฟของอัตราการติดเชื้อในออสเตรเลียนั้น “แน่นอนว่าราบลง”

เขากล่าวว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจาก “ทุกสิ่งที่ชุมชนและรัฐบาลได้เริ่มทำตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ก่อน”

แต่เขากล่าวว่า รูปแบบจำลองยังคงแสดงให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่ออสเตรเลียอาจยังคงไม่มีเตียงเพียงพอให้ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ได้ภายในปลายเดือนเมษายน หากกราฟอัตราการติดเชื้อยังคงไม่ราบลงมากกว่านี้

"มันเป็นโศกนาฎกรรมที่พวกเราต้องทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยง พวกเราจำเป็นต้องทำให้กราฟราบลงมากกว่านี้อีก" เขาเขียนในเฟซบุ๊กโพสต์เมื่อวันอาทิตย์

“ดังนั้น พวกเราจำเป็นต้องทำอะไรมากกว่านี้ และพวกเราจำเป็นต้องทำเดี๋ยวนี้”
A cleaner is seen waiting for the next arriving tram at the Circular Quay light rail station in Sydney, Monday, March 30, 2020
A cleaner is seen waiting for the next arriving tram at the Circular Quay light rail station in Sydney, Monday, March 30, 2020 Source: AAP

'เหยียบเบรคไว้ต่อไป'

นายอดัม แคมราดต์-สกอตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ของศูนย์ศึกษาด้านความมั่นคงนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวว่า อาจมีกรณีที่เป็นความเสี่ยงอย่างแท้จริงพุ่งขึ้นได้อีกครั้งหากชาวออสเตรเลียเริ่มไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการ

“พวกเราจำเป็นต้องเหยียบเบรคไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างน้อยไปจนถึง 2 สัปดาห์ข้างหน้า” นาย แคมราดต์-สกอตต์ กล่าว

“ให้คิดถึงพ่อแม่ของคุณ คิดถึงปู่ย่าตายายของคุณ และให้ปฏิบัติตามมาตรการเหล่านั้นต่อไป เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเข้าร่วมงานศพของพวกเขา”

ด้านนายแพทย์ เบรนเดน เมอร์ฟี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ กล่าวว่า อย่างน้อยต้องมีประชาชนในออสเตรเลียร้อยละ 90 ที่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา เพื่อที่ว่ากราฟอัตราการติดเชื้อจะได้ราบลงต่อเนื่อง

“มันสำคัญอย่างยิ่งที่ชาวออสเตรเลียทุกคนจะต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะการที่มาตรการแทรกแซงเหล่านี้จะใช้ได้ผลดี วิทยาศาสตร์ชี้ว่า เราจำเป็นต้องมีประชากรร้อยละ 90 ที่ปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ตลอดเวลา”

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

‘ห้ามรวมกลุ่มเกิน 2 คน’ หมายถึงอะไรในชีวิตประจำวัน


Share
Published 30 March 2020 4:48pm
Updated 31 March 2020 10:29am
By Evan Young
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends