หวั่นสิ้นสุดจ๊อบคีพเปอร์ซ้ำเติมปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

โครงการเงินชดเชยค่าจ้างจ๊อบคีพเปอร์สิ้นสุดลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ด้านองค์กรรณรงค์แสดงความกังวลว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอาจยิ่งเลวร้ายลง

Women's Safety NSW expects the end of JobKeeper to negatively impact domestic violence rates

There are many tools people experiencing domestic or family violence can use to protect themselves against further abuse, including intervention orders. Source: EyeEm/Getty

องค์กรผู้แทนด้านบริการช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวในรัฐนิวเซาท์เวลส์คาดการณ์ว่า เมื่อโครงการจ๊อบคีพเปอร์ (JobKeeper) ของรัฐบาลสหพันธรัฐสิ้นสุดลง เท่ากับยิ่งซ้ำเติมผู้เสี่ยงตกเป็นเหยื่อความรุนแรง

โครงการเงินชดเชยค่าจ้างโครงการจ๊อบคีพเปอร์ หลังจากเริ่มดำเนินโครงการท่ามกลางช่วงวิกฤตที่สุดของสถานการณ์ไวรัสโคโรนาเมื่อปีที่แล้ว เมื่อโครงการสิ้นสุดลง ชาวออสเตรเลียราว 150,000 คนจะกลายเป็นคนว่างงาน

นายจอช ฟรายเดนเบิร์ก รัฐมนตรีคลัง กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า “สัญญาณเชิงสนับสนุนจากทั่วทุกภาคส่วน” ทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุติโครงการจ๊อบคีพเปอร์ อีกทั้งโครงการนี้ “บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว”

ทว่า องค์กร Women's Safety NSW แสดงความกังวลว่าอาจนำไปสู่เหตุความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเงินย่อมส่งผลโดยตรงต่อตัวผู้กระทำความรุนแรง

“ความอึดอัดจากภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวและการกระทำทารุณ แต่ซ้ำเติมให้เลวร้ายลงได้ นี่คือประเด็นที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าสังเกตเห็นตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 เป็นต้นมา” นางเฮย์ลีย์ ฟอสเตอร์ (Hayley Foster) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กรกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์
“[การยุติโครงการจ๊อบคีพเปอร์] อาจยิ่งซ้ำเติมปัญหา เพราะความลำบากทางการเงินลดทอนความสามารถของเหยื่อในการหนีออกจากความรุนแรงหากฐานะเศรษฐกิจของพวกเขาไม่มั่นคงพอให้ทำเช่นนั้นได้”

“เหมือนมีกำแพงเพิ่มขึ้นอีกชั้น ผู้หญิงจึงพบว่าพาตัวเองและลูกออกจากสถานการณ์ได้ยากกว่าเดิมมาก”

สถานการณ์ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ความเสี่ยงและจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สหประชาชาติเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “โรคระบาดเงา” (“shadow pandemic”) ด้านนางฟอสเตอร์เผยว่า จากประสบการณ์ทำงานในด้านนี้ของเธอเกือบ 20 ปี ระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงเลวร้ายที่สุดของปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว (Australian Institute of Criminology) พบว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิงประสบความรุนแรงในครอบครัวช่วงการระบาดของโควิด-19 โดย 2 ใน 3 ถูกกระทำทารุณย่ำแย่กว่าเดิมหรือถูกใช้ความรุนแรงเป็นครั้งแรก

องค์กร Women's Safety NSW สำรวจความเห็นของผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวช่วงเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เข้าสู่ระยะฟื้นฟูเศรษฐกิจ พบว่า ร้อยละ 98 มองว่าการให้เงินอุดหนุนจ๊อบคีพเปอร์ (JobKeeper) และจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeekers) มีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้หญิง

โดยก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายขององค์กรได้แสดงความเห็นระหว่างว่า ความต้องการบริการช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวอาจพุ่งสูงขึ้นหลังยุติการสนับสนุนทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา

นอกจากนี้ องค์กรหลากวัฒนธรรมและกลุ่มสนับสนุนต่าง ๆ ยัง เพราะไม่สามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือโครงการจ๊อบคีพเปอร์และจ๊อบซีกเกอร์
นางฟอสเตอร์กล่าวว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องเข้าใจว่าความมั่นคงทางการเงินเชื่อมโยงโดยตรงกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และดำเนินการมากกว่านี้เพื่อสนับสนุนทางการเงินแก่บุคคลกลุ่มเสี่ยง

“สุดท้ายแล้ว เราสามารถให้การสนับสนุนที่พักอาศัยรวมถึงความช่วยเหลือกรณีไร้บ้านซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ถ้าเราคาดหวังให้เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวออกจากสถานการณ์เช่นนั้น เราต้องทำให้มันเป็นไปได้จริงสำหรับเขา” นางฟอสเตอร์กล่าว

“อยากให้กลับมาพิจารณากันใหม่ถึงสิ่งที่สังคมคาดหวัง นั่นคือให้แม่เลี้ยงเดี่ยวและลูก ๆ สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ ถ้าเราไม่อาจรับรองได้ว่าพวกเขาจะมีทรัพยากรเพียงพอทำได้ ก็หมายความว่าเราไม่ได้สร้างหนทางที่ปลอดภัยแก่พวกเขาที่จะก้าวออกจากสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว”

ข้อมูลจากโครงการ โดยกลุ่มรณรงค์ Destroy the Joint ระบุว่า ปีที่แล้วมีผู้หญิง 55 คนในออสเตรเลียเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความรุนแรงในครอบครัว โดยปี 2021 มีผู้หญิงเสียชีวิตแล้วเก้าคน

เมื่อสัปดาห์ก่อน รัฐบาลสหพันธรัฐอนุญาตให้เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวที่หนีภัยออกจากความสัมพันธ์สามารถถอนเงินสูงสุด 10,000 ดอลลาร์จากบัญชีเงินบำนาญ (superannuation) ของตนด้วยเหตุผลที่น่าเห็นใจ (compassionate grounds)

หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว ให้โทรศัพท์ไปยัง 1800RESPECT ที่หมายเลข 1800 737 732 หรือเว็บไซต์ สำหรับเหตุฉุกเฉิน โปรดโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 000

หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานหรือผู้ลี้ภัยที่ประสบความรุนแรงในครอบครัว สามารถติดต่อศูนย์หลากวัฒนธรรมเพื่อต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว inTouch ที่ หรือโทรศัพท์ 1800 755 988
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 31 March 2021 4:41pm
By Evan Young
Presented by Phantida Sakulratanacharoen


Share this with family and friends