โครงการสำรวจใหม่เชิญหญิงผู้ย้ายถิ่นแชร์ประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน

ผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยถูก ‘บดบังไม่ให้ได้รับการใส่ใจ’ ในรายงานแห่งชาติฉบับต่างๆ ด้านการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ผู้เชี่ยวชาญชี้ แต่ตอนนี้พวกเขาเชื่อว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไป

A woman sitting at a desk with her face in her hands.

A first-of-its-kind national survey will capture migrant and refugee women's experiences of sexual harassment in the workplace. Source: Getty / Runstudio

Key Points
  • การสำรวจทั่วประเทศครั้งนี้จะเน้นถึงประสบการณ์ของผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในที่ทำงานของออสเตรเลีย
  • โครงการใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจากรายงาน Respect@Work ระบุว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้คนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม
กำลังมีการร้องขอให้ผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียเปิดเผยหรือแชร์ประสบการณ์ของพวกเธอเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ในการสำรวจระดับชาติที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกของการสำรวจในด้านนี้

มหาวิทยาลัยโมนาชเปิดตัวแบบสำรวจนี้ในวันอังคาร ที่ 8 สิงหาคม โดยร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ฮาร์โมนี อัลไลอันซ์ (Harmony Alliance) ซึ่งทำงานเพื่อยกระดับให้เสียงหรือความคิดเห็นของสตรีผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียได้รับการนำไปพิจารณามากขึ้น

โครงการนี้จะมุ่งเน้นเสียงหรือความคิดเห็นของผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยที่ทำงานในออสเตรเลียทั่วประเทศ โดยเป็นโครงการที่แยกจากรายงาน Respect@Work ที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลียในปี 2020

คุณเคท เจนคินส์ กรรมาธิการป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศของออสเตรเลียและหัวหน้าการไต่สวนหาความจริงเรื่องนี้ กล่าวว่า ผลที่พบจากรายงานนั้น "น่าตกใจ" จากรายพบว่าหากมองอย่างผิวเผินแล้ว "ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ" สำหรับความชุก (prevalence) ของการถูกคุกคามทางเพศของผู้ที่พูดภาษาอังกฤษที่บ้าน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่พูดภาษาอื่น

แต่ผลการสำรวจอาจไม่ได้ชี้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากมีผู้คนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมจำนวนน้อยกว่าที่ตอบแบบสำรวจ เพราะมีแนวโน้มที่คนในชุมชนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการสำรวจได้

รายงานยังเปิดเผยว่ามีข้อมูลที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับชาวออสเตรเลียจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม

หนึ่งในข้อเสนอ 55 ข้อของรายงานดังกล่าวที่เสนอต่อรัฐบาลคือ ควรให้มีการดำเนินการสำรวจระดับชาติที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ที่จะเก็บข้อมูลและความคิดเห็นของผู้คนจากชุมชนหลากวัฒนธรรมได้ดีกว่าเดิม
ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังคงถูกบดบังในการศึกษาวิจัยระดับชาติที่สำคัญและในด้านความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน
รองศาสตราจารย์ มารี เซเกรฟ
"ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังคงถูกบดบังในการศึกษาวิจัยระดับชาติที่สำคัญและในด้านความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน" รองศาสตราจารย์ มารี เซเกรฟ หัวหน้านักวิจัยจากศูนย์ป้องกันความรุนแรงเพราะเพศสภาพและความรุนแรงในครอบครัว (Monash Gender and Family Violence Prevention Centre) กล่าว

“เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรวัยผู้ใหญ่ในออสเตรเลียเป็นผู้ที่เกิดในต่างประเทศ ทั้งที่เป็นพลเมือง ผู้อยู่อาศัยถาวร และผู้ถือวีซ่าชั่วคราว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญและวิธีที่เราสามารถสนับสนุนพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น”

ในเดือนเมษายนปีที่แล้ว รัฐบาลพรรคร่วมในขณะนั้นยอมรับคำแนะนำของคุณเจนคินส์ และจัดสรรเงินทุนสำหรับการสำรวจเพื่อรวบรวมประสบการณ์ของผู้คนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม
เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจประสบการณ์ของผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย ซึ่งเรารู้ว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน
นียาดอล นูออน ประธานฮาร์โมนี อัลไลอันซ์
คุณนียาดอล นูออน (Nyadol Nyuon) ประธานฮาร์โมนี อัลไลอันซ์ (Harmony Alliance) กล่าวชื่นชมผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อที่ให้ข้อมูลในรายงาน Respect@Work ที่ช่วยให้ออสเตรเลียมี "การสนทนาที่เราจำเป็นต้องมีเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน"
Nyadol Nyuon is wearing a yellow shirt and has a serious facial expression.
คุณนียาดอล นูออน (Nyadol Nyuon) ประธานฮาร์โมนี อัลไลอันซ์ Credit: Women's Agenda
“เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจประสบการณ์ของผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย ซึ่งเรารู้ว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน เพื่อให้เราสามารถพัฒนาการตอบสนองอย่างเป็นระบบและมีวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องมี ที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าพวกเธอมีความปลอดภัย” คุณ นียาดอล นูออน กล่าว

คุณพัดมา รามัน (Padma Raman) ประธานกรรมการบริหารขององค์กรวิจัยแห่งชาติด้านความปลอดภัยสตรีของออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้องค์กรจะทราบดีว่าผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอย่างมากจนไม่สมสัดส่วน แต่โครงการนี้จะช่วยให้แนวทางที่ถูกปรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในการกำหนดเป้าหมายและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

"งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยให้เราพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะกับวัฒนธรรมมากขึ้น เพื่อป้องกันและตอบสนองต่อเรื่องนี้" คุณรามัน กล่าว

โครงการนี้จะประกอบด้วยแบบสำรวจออนไลน์ การสัมภาษณ์ และการปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนผู้หญิงอย่างหลากหลากทุกระดับ โดยไม่จำกัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ สถานะพลเมืองหรือวีซ่า สถานะการจ้างงาน และประเภทของการทำงาน

หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศหรือการล่วงละเมิดทางเพศ สามารถโทร

ศัพท์ติดต่อ 1800RESPECT ที่หมายเลข 1800 737 732 หรือไปที่เว็บไซต์

ในกรณีฉุกเฉิน โทร 000

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 9 August 2022 3:23pm
By Rayane Tamer
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends