วิกฤติโคโรนาส่งผลต่อสุขภาพจิตของ ปชช

A young man looks at his mobile sitting on steps.

Source: Getty Images/Bancha Srijaroen/EyeEm

รายงานจากองค์กรการกุศลด้านสุขภาพจิต ระบุว่ามีประชาชนที่กำลังมีปัญหาเรื่องความวิตกกังวลโทรศัพท์เข้ามาขอความช่วยเหลือมากขึ้น นับตั้งแต่มีวิกฤติเชื้อไวรัสโคนา


บริการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตอย่าง ไลฟ์ไลน์ (Lifeline) และ บียอนด์ บลู (Beyond Blue) บอกว่า การแยกตัวเพื่อกักโรคอาจกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล และพวกเขากำลังทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อช่วยชาวออสเตรเลียรับมือกับปัญหานี้
การแวะพักเครื่องที่ท่าอากาศยานมิลาน-มัลเปนซา ประเทศอิตาลี เพียง 1 ชั่วโมง ระหว่างช่วงวันหยุดพักร้อนในทวีปยุโรปหมายความว่าคุณเอียนและคุณโรบิน วิดัล จะต้องแยกตัวเพื่อกักโรคเมื่อพวกเขาเดินทางกลับมายังประเทศออสเตรเลีย

คู่รักจากซิดนีย์คู่ดังกล่าวบอกว่าตอนนี้ก็เพิ่งเข้าสู่วันที่ 4 ของระยะเวลาแยกตัวเพื่อกักโรค 2 สัปดาห์ และพวกเขาพยายามจะคิดบวกกับเรื่องนี้

“มันดำเนินไปอย่างดีมากๆ เราได้ทำความสะอาดออฟฟิศที่บ้าน...”

“ใช่ เราทำอะไรหลายๆ อย่าง ที่เราไม่ได้เคยทำมาก่อนจริงๆ และมันน่าจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายลงเล็กน้อย และยังได้ตระหนักว่ามันยังมีสิ่งดีๆ มากมายอยู่ในนั้น”

แต่ในฐานะเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ คุณโรบิน วิดัล บอกว่ามันยากมากที่จะไม่กังวลเกี่ยวกับอนาคตเลย

“มันเป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่รู้ ไม่รู้ว่าทุกสิ่งทั้งหมดนี้จะเป็นไปอีกนานเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่ในด้านการแยกตัวเพื่อกักโรค แต่มันคือปัญหาด้านสาธารณสุขทั้งหมดของเชื้อโควิด 19 ที่กำลังดำเนินต่อไป” 

คุณจอห์น โบรกเดน ประธานบริการสายด่วนด้านสุขภาพจิต ไลฟ์ไลน์ (Lifeline) บอกว่าการโทรศัพท์เข้ามายังบริการช่วยเหลือช่วงภาวะวิกฤต ได้เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงฤดูไฟป่า และอย่างน้อย 1 ใน 4 ของประชาชนที่โทรเข้ามา รายงานว่าตนมีอาการวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา

“มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า หากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนานี้แย่ลง เราคงจะได้เห็นคนโทรศัพท์เข้ามาหาเรากว่า 1 ล้านสายต่อปี”  

คุณ โบรกเดน ยังบอกว่าอีก เจ้าหน้าที่ของ Lifeline จำนวนมากและบรรดาอาสาสมัคร ทำงานทางไกลจากนอกออฟฟิศ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถให้บริการแก่ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามา ตลอด 24 ชั่วโมง

“คนที่อยู่คนเดียว คนที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างที่พวกเขาเคยมีมาเป็นประจำ คนที่กังวลกับการออกไปข้างนอก ผมหมายถึงว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีเชื้อไวรัส หรือไม่จำเป็นต้องมีแม้แต่ความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส ในตอนนี้ แต่คุณก็อาจกระวนกระวายว่าคุณควรจะออกไปซื้อของนอกบ้านหรือไม่”
ขณะที่คำแนะนำอย่างเป็นทางการของกระทรวงสาธารณสุขของให้ชาวออสเตรเลียทุกคนทำการเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตบางบางคนบอกว่า มันยังมีหนทางที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้คนได้

คุณอแมนดา กอร์ดอน นักจิตวิทยาจากอาร์มแชร์ ไซโคโลจี (Armchair Psychology) อธิบายว่า

“แทนที่จะส่งข้อความหากัน ให้ยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาและใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้คุณใกล้ชิดกับคนอื่นๆ มากขึ้น” 

สำหรับผู้ที่ต้องแยกตัวเพื่อกักโรคพร้อมกับเด็กๆ อยู่ที่บ้าน องค์การต่างๆ รวมไปถึงบียอนด์ บลู (Beyond Blue) ได้แบ่งปันเคล็ดลับเพื่อช่วยให้ครอบครัวรับมือกับปัญหานี้ได้

นั่นคือ ให้รักษาความรู้สึกของการปฏิบัติตามกิจวัตรประจำ เล่นเกมและออกกำลังกาย จำกัดการเข้าถึงสื่อ และที่สำคัญที่สุดคือต้องสร้างความมั่นใจให้แก่กัน

“ถ้าคุณเริ่มทำสิ่งที่ชาวออสเตรเลียมักจะทำเป็นปกติและดูแลคนรอบข้าง เราจะพบว่ามันทุกข์ทรมานน้อยลงสำหรับตัวเราเอง”

ถ้าคุณรู้สึกมีปัญหาและต้องการคุยกับใครสักคน สามารถติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้

  • Lifeline crisis support โทร 13 11 14
  • Suicide Call Back Service โทร 1300 659 467
  • 1800RESPECT โทร 1800 737 732 
  • Kids Helpline (สำหรับเยาวชนอายุระหว่าง 5 – 25 ปี) โทร 1800 55 1800
  • บริการรล่ามภาษาไทย โทร 131 450 แล้วแจ้งภาษาและบริการที่คุณต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ and .


 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share