ห้าสิ่งที่คุณทำได้เองเดี๋ยวนี้ เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

NEWS: ทางเลือกต่างๆ ของผู้บริโภคนั้น สามารถที่จะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้

Earth seen from space

การลดเนื้อสัตว์ลง 30% โดยเฉพาะเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมนั้น ได้รับการระบุโดยนักวิจัยว่าจลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการลดการโดยสารเครื่องบินหรือซื้อรถไฟฟ้าเสียอีก Source: AAP Image/Mary Evans Picture Library

You can read the full version of this story in English on SBS News .

กว่า 200 ประเทศได้รวมตัวกันที่ประเทศโปแลนด์ในสัปดาห์นี้ เพื่อประชุมผู้นำ COP24 โดยพวกเขานั้นกำลังพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงต่อกฎบัตรที่จะบังคับใช้ร่วมกัน เพื่อรักษาสัญญาชึ่งได้เคยให้ไว้ต่อข้อตกลงด้านภูมิอากาศเมื่อปีค.ศ. 2015 ณ กรุงปารีส

แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเหล่าผู้นำเท่านั้นที่จะมีบทบาทในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

เมื่อเดือนตุลาคม รายงานล่าสุดของคณะกรรมการด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations' Intergovernmental Panel on Climate Change (ไอพีซีซี, IPCC) ยังได้รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆ สำหรับผู้บริโภค ว่าจะสามารถช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้อย่างไร ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการบริโภคและทางเลือกต่างๆ ของการใช้ชีวิต

การทำแบบทดลองภูมิอากาศ (climate modelling) ที่เรียกว่า หนทางด้านเศรษฐศาสตร์และสังคม (socioeconomic pathways, SPPs) เป็นการมองถึงตัวเลือกต่างๆ ซึ่งแต่ละบุคคลนั้นสามารถทำได้เพื่อร่วมช่วยจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ภายใน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
ยังได้มีการแนะนำแนวทางของการบริโภคอย่างยั่งยืน ต่อตัวเลือกต่างๆ ทางการขนส่ง อาหาร และการใช้สอยสินค้าในครัวเรือน

1. การขนส่ง

ไอพีซีซีแนะนำว่า การปลดปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งนั้นสามารถลดลงได้ โดยผู้คนนั้นหันไปใช้การขนส่งสาธารณะ การใช้รถยนต์ร่วมกัน และการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฮบริด แทนที่จะทำการโดยสารเครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นๆ

โดย ผลประโยชน์หลักๆ จะมาจากการเปลี่ยนแปลง “ขนานใหญ่และรวดเร็ว”

“จังหวะของการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อจะยับยั้งความร้อนให้อยู่ที่ 1.5 °C นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในอดีต แต่ไม่เคยมีตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ใดๆ มาก่อน ในเรื่องของความกว้างขวางของความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น โดยเฉพาะในลักษณะที่เป็นไปได้อย่างยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจ” รายงานกล่าวต่อ “การจะแก้ไขให้ทันกับความเร็วและขนาดของปัญหา จำเป็นจะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้คน การเข้าแทรกแซงโดยภาคเอกชน และ ความร่วมมือจากภาคเอกชน”

การใช้รถยนต์ในประเทศออสเตรเลียนั้นรับผิดชอบต่อ 50 เปอร์เซ็นต์ของการปลดปล่อยมลพิษทางการขนส่ง และยังเป็นที่มาของก๊าซเรือนกระจก  โดอยู่ที่ 18 เปอร์เซ็นต์

ประเทศออสเตรเลียถูกจัดอยู่ที่ ในเรื่องของมลภาวะจากการขนส่งต่อหัวประชากร ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่มประเทศโออีซีดีถึง 50 เปอร์เซ็นต์
A loaded coal train passes through the outskirts of Singleton, in the NSW Hunter Valley
รถไฟบรรทุกถ่านหินกำลังวิ่งผ่านบริเวณนอกเมืองซิงเกิลตันในแถบฮันเตอร์แวลลีย์ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (Source: AAP) Source: AAP

2. อาหารและขยะอาหาร

รายงานของไอพีซีซียังได้แนะนำให้ผู้คนลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการตัดสินใจที่จะรับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลงโดยเฉพาะเนื้อวัวและผลิตภัณฑ์จากนมนั้น ได้รับการระบุโดยนักวิจัยว่าจะส่งผลเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการลดการโดยสารเครื่องบินหรือการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเสียอีก

ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร ‘Science’ แสดงให้เห็นว่าการผลิตเนื้อวัวนั้น หากเทียบกับการปลูกถั่วแล้ว มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าถึงหกเท่า และใช้พื้นที่มากกว่ากันถึง 36 เท่าตัว

นักรณรงค์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกแห่งออสเตรเลีย (World Wildlife Fund Australia) นางโมนิกา ริคเตอร์ กล่าวว่า ขยะอาหารนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่การตัดสินใจของผู้บริโภคจะมีผลต่อภาวะโลกร้อนได้

เธอกล่าวว่า “คุณทราบหรือไม่ว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมดซึ่งจับจ่ายโดยครัวเรือน[ออสเตรเลีย]นั้น กลายไปเป็นขยะอาหาร”

“นั่นเท่ากับว่า ตะกร้าของชำสามตะกร้า จากทุกๆ 10 ตะกร้าถูกทิ้งลงไปในถังขยะ เราจำเป็นต้องทำให้ดีกว่านี้”

3. การใช้พลังงาน

รายงานของไอพีซีซี ยังได้แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้สินค้าในครัวเรือนซึ่งใช้พลังงานน้อยลง เช่น การมีเทอร์โมสแตตคอยตัดกระแสไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด และเครื่องปรับอากาศที่ชาญฉลาด โดยรายงานได้แนะนำให้แหล่งพลังงานที่ทดแทนได้นั้นจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ปริมาณ 75 และ 85 เปอร์เซ็นต์ของทั่วโลกภายในปี 2050

โดยพลังงานทดแทนได้นั้น นับเป็น 19.9 เปอร์เซ็นต์ของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมดในระบบจ่ายไฟหลักของประเทศออสเตรเลียเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวรวมถึงการติดตั้งแผงผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ระบบพีวีบนหลังคา (rooftop solar PV systems) เป็นจำนวน 18,917 ระบบ

บริษัทให้คำปรึกษา กรีนเอเนอร์ยีมาร์เก็ตส์ (Green Energy Markets, GEM) กล่าวว่า ด้วยอัตราเท่านี้ แผงผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาจะทำให้พลังงานที่ทดแทนได้เป็นปริมาณ ภายในปี 2030

“ระบบต่างๆ ของเมืองกำลังมุ่งไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่นำพลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม และการจัดเก็บด้วยแบตเตอร์รีและยานพาหนะไฟฟ้า มาใช้ด้วยกันในลักษณะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังคงจำเป็นจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้านกฎหมาย การให้ผลประโยชน์ทางภาษี มีมาตรฐานใหม่ๆ โครงการสาธิต และโครงการให้การศึกษาต่างๆ เพื่อให้ตลาดของระบบนี้ดำเนินไปได้” รายงานของไอพีซีซีกล่าว

4. การร่วมมือกันทางการเมือง

นักรณรงค์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกแห่งออสเตรเลีย (World Wildlife Fund Australia) นางโมนิกา ริคเตอร์ กล่าวว่า การร่วมมือกันทางการเมืองของแต่ละบุคคลนั้นจะมีบทบาทสำคัญในการพยายามให้แน่ใจว่ารัฐบาลและธุรกิจต่างๆ นั้นจะมีความรับผิดชอบ

“และเราก็สามารถจะทำเช่นนั้นได้ ด้วยการตัดสินใจต่างๆ ที่เราทำที่บ้าน การตัดสินใจต่างๆ ที่เราทำที่ธุรกิจของเรา การเลือกวิธีเดินทางของเรา ด้วยเงินที่เราเติมเข้าไปในกองทุนเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ” เธอกล่าว

เธอยกตัวอย่างของการร่วมมือกันต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการเติบใหญ่ขึ้นของแนวคิดริเริ่ม ชั่วโมงโลก (Earth Hour initiative) ของทาง WWF ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว และตั้งแต่นั้นมาก็ได้กลายเป็นกิจกรรมประจำปีทั่วโลก

“ในตอนนี้ หนึ่งในสี่ของชาวออสเตรเลียนั้นมีส่วนร่วมกับ Earth Hour (และ)นครต่างๆ กว่า 187 แห่งทั่วโลกก็มีส่วนร่วมกับการแสดงท่าทีทางสัญลักษณ์นี้ ด้วยการดับไฟของคุณสำหรับช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้น เพื่อที่จะบอกว่าฉันห่วงใยอย่างจริงจังในเรื่องนี้ และฉันก็ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา” นางริคเตอร์กล่าว

“เมื่อผู้คนเริ่มก่อน นักการเมืองก็จะตามไป และดิฉันก็คิดว่าเราจะเป็นจะต้องแสดงให้เห็นโดยร่วมมือกันว่าชาวออสเตรเลียนั้น ห่วงใยอย่างลึกซึ้งในเรื่องนี้ และเราก็ต้องการการดำเนินการอย่างเร่งด่วน”

5. การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

กลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม 350.org กล่าวว่า ทางกลุ่มได้ดำเนินการร่วมกันเพื่อพยายามให้แน่ใจว่านักการเมืองสหพันธรัฐของออสเตรเลียเป็นจำนวน 50 คน ได้รับสำเนารายงานของไอพีซีซีซึ่งจัดส่งให้เป็นการส่วนตัว

คุณเกลน กลาตอฟสกี รองผู้บริหารสูงสุดของ 350.org กล่าวว่า“นั่นเป็นสัญญาณว่าผู้คนนั้นลุกขึ้นมาและลงมือทำ”

“และคุณก็ทราบว่าสำหรับนักการเมืองแล้วนั่นหมายความเช่นไร? มันหมายความว่าเขตเลือกตั้งของพวกเขา ซึ่งเลือกพวกเขาเข้ามา กำลังพูดอย่างเสียงดังฟังชัด ชาวออสเตรเลียเกือบทั้งหมดต้องการให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข พวกเขาต้องการให้ทางแคนเบร์รานั้นแก้ไขมัน แคนเบร์รามีอำนาจที่จะทำได้”

นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันกล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เขาจะพิจารณาคำแนะนำต่างๆ จากรายงานของไอพีซีซี แต่ก็ย้ำถึงจุดยืนของรัฐบาล ว่ารัฐบาลนั้น ภายใต้ข้อตกลงปารีสแล้ว

กล่าวว่า ภายใต้ ในปัจจุบัน โลกก็จะเดินหน้าเกินไปกว่าการจำกัดอุณหภูมิให้อยู่ที่ 3 องศาเซลเซียส โดยอย่าได้หวังที่ 1.5 องศา

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 6 December 2018 1:12pm
Updated 6 December 2018 1:21pm
By Biwa Kwan
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends