งานวิจัยใหม่ยืนยัน ออสเตรเลียเสี่ยงสูงที่จะเกิดพายุฝนหอบหืดขึ้นอีก

NEWS: งานวิจัยใหม่พบออสเตรเลียเสี่ยงที่จะเกิดพายุฝนหอบหืดกะทันหันที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก จากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและการเพิ่มขึ้นของสารก่อภูมิแพ้

Image by AAP: The deadly thunderstorm asthma event in Victoria two years ago killed ten people.

Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

ประเทศออสเตรเลียมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์พายุฝนหอบหืดและภูมิแพ้อย่างกะทันหันที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

การวิเคราะห์หลักฐานระดับนานาชาติที่เผยแพร่ในวันนี้ (6 ธ.ค.) เผยว่า อุณภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้มีการผลิตสปอร์ของเชื้อรา เมื่อมีความชื้นภายในอาคารสูงและเชื้อราเจริญเติบโต ซี่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้

หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยแมคควอรี รองศาสตราจารย์พอล เบกส์ กล่าวว่า “มันอาจจะเป็นที่ถกเถียงได้ว่า ผลกระทบต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ที่รุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ดังนั้นผลกระทบเหล่านี้ควรจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ออสเตรเลียให้ความสำคัญในเรื่องของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและสุขภาพของมนุษย์”
การวิเคราะห์ครั้งดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Public Health Research & Practice ฉบับล่าสุด โดยเป็นการศึกษางานวิจัยระดับนานาชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ และโรคภูมิแพ้

การวิเคราะห์กล่าวว่า “ประเทศออสเตรเลียนั้นเปราะบางเป็นอย่างมาก ต่อผลร้ายของการเปลี่ยงแปลงของภูมิอากาศที่มีผลต่อสารก่อให้เกิดภูมิแพ้และโรคภูมิแพ้ต่างๆ”

“ความเปราะบางนี้ได้รับการชี้ชัดในเดือนพฤศจิกายน 2016 เมื่อเหตุการณ์พายุฝนหอบหืดครั้งที่ใหญ่ที่สุด มีความเสียหายเป็นวงกว้างที่สุดเกิดขึ้นที่นครเมลเบิร์น”
มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนสิบราย ที่เสียชีวิตในระหว่างเหตุการณ์พายุฝนหอบหดที่นครเมลเบิร์นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2016 หรือเสียชีวิตลงในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ซึ่งก็ได้ทำให้มีความต้องการรถพยาบาลพุ่งขึ้นสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ผลรวมจากระดับเกสรที่สูง ลมพัดแรง อุณหภูมิที่ร้อน ความชื้นในอากาศและ การปะทะเข้ามาของมวลอากาศเย็น จะจุดชนวนให้เกิดหอบหืดเฉียบพลันขั้นรุนแรงฃ

การวิเคราะห์ดังกล่าวยังระบุว่าความเจ็บป่วยเกี่ยวกับภูมิแพ้นั้น ก็เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ “สำคัญมาก” อยู่แล้วในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีความชุก (prevalence) ของโรคหอบหืดติดอันดับต้นๆ ของโลก
รศ. เบกส์ กล่าวว่า การวิจับที่พุ่งเป้าไปยังประเทศออสเตรเลียนั้น “จำเป็นอย่างเร่งด่วน” เนื่องจากงานวิจัยเกือบทุกชิ้นเกี่ยวกับผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศต่อโรคภูมิแพ้นั้นมาจากต่างประเทศ ซึ่งจะเกี่ยวกับภูมิอากาศและสารก่อภูมิแพ้ที่มีความแตกต่างออกไป

การศึกษาคนคว้ายังกล่าวว่า การเฝ้าระวังสารก่อภูมิแพ้ที่นี่นั้นย่ำแย่ โดยไม่มีหน่วยงานระดับชาติหรือระดับรัฐที่จะรับผิดชอบต่อการเฝ้าระวัง รายงาน และพยากรณ์สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม

เมื่อเดือนที่แล้วเจ้าหน้าที่ตุลาการรัฐวิกตอเรีย (Victorian coroner) นางพาเรสา สปานอส ได้เรียกร้องให้มีการวิจัยในเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ด้านอุตุนิยมวิทยา ชีววิทยา และ อากาศชีววิทยา ที่ก่อให้เกิดพายุฝนหอบหืด

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 6 December 2018 10:02am
Updated 6 December 2018 1:38pm
By AAP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS News


Share this with family and friends