Explainer

การย้ายมาออสเตรเลียจะกลับมาบูมอีกครั้งหลังโควิดหรือไม่

ขณะที่ออสเตรเลียกำลังฟื้นระบบเศรษฐกิจอีกครั้งหลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 มากว่า 18 เดือน มีคำแนะนำว่า จำนวนผู้ย้ายถิ่นมายังออสเตรเลีย 2 ล้านคนภายในระยะเวลา 5 ปี อาจกลายเป็น 'จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์'

Opening Australia's borders will increase the terrorism risk, the government says

Opening Australia's borders will increase the terrorism risk, the government says Source: AAP

หลังมาตรการล็อกดาวน์ที่ยาวนานกว่า 3 เดือน พื้นที่มหานครซิดนีย์และปริมณฑลก็ได้กลับมาเปิดระบบเศรษฐกิจอีกครั้งเมื่อ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา บรรดาเจ้าของธุรกิจต่างโล่งอกโล่งใจ แต่ท่ามกลางเรื่องที่น่ายินดีนี้ กลับมีปัญหาที่ซับซ้อนจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

ตั้งแต่ออสเตรเลียปิดพรมแดนระหว่างประเทศเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ประสบปัญหาขาดแคลนคนทำงานมาอย่างยาวนาน สิ่งนี้ได้ทำให้ผู้นำบางส่วนเรียกร้องให้มีการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียในทันที และยกระดับอัตรารับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานขึ้นไปในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียอย่างไรบ้าง

อัตราเติบโตประชากรที่ร่วงหล่น

12 เดือนนับตั้งแต่การปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลีย ข้อมูลจากสำนักงานสถิติออสเตรเลีย (ABS) ระบุว่า ประชากรในประเทศได้เพิ่มขึ้นเพียง 35,700 คน คิดเป็นอัตราการเติบโตของประชากรเพียงร้อยละ 0.1 ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรตามธรรมชาติรายปี (annual natural increase) ซึ่งประกอบด้วยการเกิดและการเสียชีวิตของผู้อาศัยในออสเตรเลีย ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 131,000 คน

แต่ตัวเลขดังกล่าวถูกหักลบด้วยการลดลงของอัตราการอพยพย้ายถิ่นจากต่างประเทศสุทธิ (net migration overseas) อย่างมีนัยยะสำคัญ เข้าสู่แดนลบที่ 95,300 คน ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติลดลงนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา 334,600 คน
An ABS graph titled 'components of quarterly population change'.
The closure of international borders has had a significant impact on the total growth of the Australian population. Source: ABS
นับตั้งแต่ช่วงสงครามในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย เราไม่เคยพบเห็นการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ใดที่ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดร.ลิซ แอลเลน (Dr Liz Allen) นักประชากรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

การขาดแคลนแรงงาน

ก่อนที่การแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะเริ่มขึ้น ภาคธุรกิจต่าง ๆ ในออสเตรเลียต่างต้องดิ้นรนกับภาวะขาดแคลนกำลังคนทำงานอยู่แล้วเป็นทุน ทำให้มาตรการปิดพรมแดนระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ซ้ำเติมให้ปัญหาดังกล่าวย่ำแย่ลงไป
ตั้งแต่ผู้อพยพย้ายถิ่นที่ไม่มีทักษะอาชีพ ไปจนถึงผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง เราตระหนักดีว่าเราต้องพึ่งพาพวกเขามากเพียงใด ในฐานะรัฐและชาติจากการอพยพย้ายถิ่น ศาสตราจารย์จ็อก คอลลินส์ (Prof Jock Collins) จากวิทยาลัยธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (UTS) กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์
แม้จะมีความต้องการอย่างท่วมท้นจากผู้อพยพย้ายถิ่น ในการมาตั้งรกรากหรือเดินทางกลับมายังออสเตรเลีย ดร.แอลเลน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้น้อยที่อัตรารับเข้าของออสเตรเลียในอนาคตอันใกล้ จะฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเกิดขึ้น ซึ่งในเวลานั้น ออสเตรเลียมีอัตราการเติบโตของประชากรอยู่ที่ร้อยละ 1 ในแต่ละปี

“นั่นหมายถึงหายนะที่รุนแรงสำหรับออสเตรเลีย รวมถึงระบบเศรษฐกิจ” ดร.แอลเลน เตือน
ความต้องการพื้นฐานของประเทศนี้จะไม่ได้รับการเติมเต็ม เนื่องจากกำลังคนทำงานในท้องถิ่นไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมของเรา ดร.ลิซ แอลเลน
NSW Premier Dominic Perrottet speaks during the release of the NSW Government’s Hydrogen Strategy in Sydney, Wednesday, October 13, 2021. (AAP Image/Joel Carrett) NO ARCHIVING
NSW Premier Dominic Perrottet. Source: AAP
ขณะที่ โดมินิก เพอร์โรต์เทต์ (Dominic Perrottet) มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะเปิดพรมแดนระหว่างประเทศของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าจะมีท่าทีของความลังเลในการตัดสินใจ ท่ามกลางสถานการณ์ด้านการอพยพย้ายถิ่นที่มีความตึงเครียด
เราจำเป็นจะต้องเปิดพรมแดน และเราจะต้องทำการตลาดเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศให้เดินทางเข้ามา เพราะถ้าเราเสียโอกาสนี้ไป ผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะเหล่านั้นก็จะย้ายไปประเทศอื่น นายเพอร์โรต์เทต์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา
การแถลงของมุขมนตรีเพอร์โรต์เทต์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับ กลาดิส เบเรจิกเลียน อดีตมุขมนตรี ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์เมื่อปี 2019 และได้ผลักดันให้เกิดนโยบายลดอัตรารับผู้อพยพย้ายถิ่นมายังรัฐนิวเซาท์เวลส์ลงถึงร้อยละ 50 โดยอ้างถึงปัญหาการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐาน และการจราจรที่ติดขัด

หรือจะใช้แผนอพยพย้ายถิ่นแบบช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

หนังสือพิมพ์ธุรกิจ ดิ ออสเตรเลียน ไฟแนนเชียล รีวิว (The Australian Financial Review) รายงานว่า มุขมนตรีเพอร์โรต์เทต์ ได้รับการร้องขอจากข้าราชการอาวุโสในการตั้งเป้าหมายในภาพรวมด้านการอพยพย้ายถิ่นให้สูงขึ้น ด้วยตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวน 2 ล้านคนในระยะเวลา 5 ปี

นอกจากนี้ มุขมนตรีเพอร์โรต์เทต์ ยังได้รับการร้องขอเพื่อให้รับรองโครงการอพยพย้ายถิ่น ‘ที่มีความมุ่งมั่น’ ในทำนองเดียวกับช่วงที่มีผู้อพยพย้ายถิ่นมายังออสเตรเลียเป็นจำนวนมากจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งชาวออสเตรเลียได้รับสารจากรัฐบาลในเวลานั้นว่า “สร้างจำนวนประชากร หรือจะต้องอยู่อย่างอนาถ (populate or perish)”

ย้อนกลับไปในปี 1945 ในเวลานั้นรัฐบาลมีความกังวลว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องมีประชากรที่มากขึ้น เพื่อพยุงระดับการฟื้นตัวด้านกลาโหมและระบบเศรษฐกิจ นำไปสู่รากฐานสำคัญในการก่อตั้งหน่วยงานอพยพย้ายถิ่นแห่งสหพันธรัฐ (Federal Department of Immigration) และตั้งเป้าหมายเพิ่มอัตราการเติบโตของประชากรในออสเตรเลียให้ได้ร้อยละ 1 ในแต่ละปี
The 50,000th Dutch migrantarrives in Australia aboard the Sibajak in 1954.
The 50,000th Dutch migrantarrives in Australia aboard the Sibajak in 1954. Source: Supplied: National Archives of Australia
หลังก่อตั้งหน่วยงานดังกล่าว 15 ปีให้หลัง มีผู้อพยพประมาณ 1.2 ล้านคนย้ายมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย ส่วนมากมาจากทวีปยุโรปที่แตกระแหงจากสงคราม ทำให้เศรษฐกิจของออสเตรเลียได้รับการขับเคลื่อนในเวลานั้น

“ผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่เหล่านี้ มีส่วนทำให้ตลาดงานเติบโตกว่าครึ่งหนึ่งในระบบเศรษฐกิจประเทศ และคิดเป็นครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโตของประชากร” ศาสตราจารย์คอลลินส์ กล่าว
เมื่อผู้อพยพเหล่านั้นเดินทางมาถึง พวกเขาแทบจะเริ่มทำงานในโรงงานในวันถัดไปหลังลงจากเรือเลย
ศาสตราจารย์คอลลินส์ กล่าวว่า ในเวลานั้นออสเตรเลียก็เผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับวันนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นให้มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา

แต่การเพิ่มจำนวนประชากรแบบเดียวกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสร้างความท้าทายให้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานและเรื่องที่พักอาศัย ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะ ถนนหนทาง และระบบสาธารณสุข ก็จำเป็นที่จะต้องขยายตัวขึ้นไปด้วย
บ่อยครั้งเกินไปที่รัฐบาลในอดีต มีแนวคิดในทำนองที่ว่า ใช้ประโยชน์จากการอพยพย้ายถิ่น ระหว่างที่ชะลอการลงทุนที่จำเป็นในระบบสาธารณูปโภค จนทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ศาสตราจารย์คอลลินส์ กล่าว
ศาสตราจารย์คอลลินส์ ยังได้เตือนว่า การพึ่งพาผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อเติมช่องว่างในตลาดแรงงาน มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง และการขโมยค่าจ้างเพิ่มมากขึ้น

ผลกระทบทางวัฒนธรรม

การอพยพย้ายถิ่นที่บูมในช่วงหลังสงครามโลกนั้น ยังเป็นสัญญาณสำคัญถึงการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานด้านวัฒนธรรมของออสเตรเลีย

การตัดสินใจรับผู้ลี้ภัยจากทั่วทวีปยุโรป ถือเป็นจุดสิ้นสุดในการให้สิทธิพิเศษเพื่อตั้งรกรากกับผู้ถือสัญชาติอังกฤษ และเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านออสเตรเลียจากประเทศอาณานิคมอังกฤษสู่สังคมพหุวัฒนธรรม

การตัดสินใจดังกล่าวยังได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่มุมด้านการอพยพย้ายถิ่น จนนำไปสู่การยกเลิกนโยบายคนผิวขาวเป็นใหญ่ของออสเตรเลีย (White Australia Policy) โดยรัฐบาลภายใต้การนำโดย กอฟ วิธแลม (Gough Whitlam) นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของออสเตรเลีย
มันคือการอพยพย้ายถิ่นที่บูมขึ้นมาช่วงหลังสงครามโลก ซึ่งได้กำหนดทิศทางใหม่ให้กับออสเตรเลีย เรามุ่งหน้าออกจากวัฒนธรรมเดียวซึ่งเป็นของคนขาว เราตระหนักว่าเราต้องมุ่งหน้าออกจากสถานที่เพียงสองแห่งในประวัติศาสตร์การอพยพย้ายถิ่นของเรา และมองไปสู่อนาคต ดร.แอลเลน กล่าว
แม้การอพยพย้ายถิ่นที่บูมขึ้นช่วงหลังสงครามโลก จะนำพาผู้อพยพย้ายถิ่นจากทวีปยุโรปมาเป็นจำนวนมาก ดร.แอลเลน คาดว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นจากจีนและอินเดียจะยังคงเป็นส่วนแบ่งที่มีขนาดชัดเจน ในส่วนของผู้เดินทางมาถึงออสเตรเลียในอนาคตหลังวิกฤตโควิด-19

“เราจะยังต้องการทักษะจากผู้คนหลายภูมิหลัง ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน หรือผู้เชี่ยวชาญ และอื่น ๆ และดิฉันคิดว่า เราจะยังคงพบเห็นการอพยพย้ายถิ่นจากสถานที่ซึ่งมีความหลากหลาย มากกว่าที่เคยเราเคยได้ต้อนรับผู้อพยพจากสถานที่ต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์” ดร.แอลเลน กล่าว
ในช่วงเวลานี้ ในการฟื้นตัวหลังจากวิกฤตโควิดครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ของเรา ดร.ลิซ แอลเลน

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ออสเปิดให้กลับประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว




Share
Published 20 October 2021 1:54pm
By Naveen Razik
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends