คุณและคู่ครองกำลังจะแยกทางกัน? นี่คือวิธีปกป้องสุขภาพจิตของลูกๆ

เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปที่คู่สามีภรรยาที่ความสัมพันธ์ใกล้ถึงจุดจบ จะพยายามประคับประคองให้ผ่านช่วงคริสต์มาสและแยกทางกันในปีใหม่ หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น นี่คือคำแนะนำที่คุณต้องอ่านเสียก่อน

Divorce

Roughly a third of Australian marriages will end in divorce and nearly half of those un-couplings will involve minor children. Credit: PeopleImages/Getty Images

มีปรากฎการณ์ใต้ดินที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีกำลังเกิดขึ้นขณะนี้ทั่วประเทศออสเตรเลีย นั่นคือ คู่ครอง คู่สามีภรรยาได้ตัดสินใจแยกทางกัน แต่แสร้งทำหน้าชื่นบานและฉลองวันคริสต์มาสของพวกเขาด้วยกันเหมือนเป็นครอบครัวปกติ ด้วยเหตุนี้เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ขึ้นชื่อในหมู่ทนายความศาลครอบครัวว่าเป็น “เดือนแห่งการหย่าร้าง”

เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2020 ปีที่แล้วมีการจดทะเบียนหย่าในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเกือบ 14 เปอร์เซ็นต์ เกือบครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นคู่ครองที่มีลูดอายุต่ำกว่า 18 ปี

การหย่าร้างที่เพิ่มขึ้นบางกรณีมาจากการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาดำเนินการหย่าในศาล แต่บางกรณีน่าจะเกิดจากการที่ถูกบีบให้ต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันในช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ที่มีปัญหาอยู่แล้วแย่ลง

จำนวนการหย่าร้างเหล่านี้เกิดขึ้นเช่นกันในคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งได้รับสิทธิ์ให้แต่งงานกันได้ตามกฎหมายในปี 2017 และ

การแยกทางกันส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อลูกๆ การศึกษาวิจัยพบว่าเด็กๆ ที่มีพ่อหรือแม่ดูแลตามลำพัง เด็กๆ ที่มีพ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยง หรืออยู่ในครอบครัวผสมที่มีลูกๆ จากการแต่งงานครั้งก่อนอยู่ด้วยกันนั้น มีปัญหาสุขภาพจิตสูงกว่าเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ครอบครัวดั้งเดิมของตน

นอกจากนี้ ยังพบระหว่างความขัดแย้งในระดับสูงของผู้ปกครองหลังแยกทางกัน กับการปรับตัวได้ไม่ดีในวัยเด็ก

ชี้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่หลังแยกทางกันมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเกิดปัญหาในวัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการเป็นศัตรูกัน การเหินห่างขาดการติดต่อ หรือความขัดแย้งกันโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ นั้น เชื่อมโยงกับพฤติกรรมการปรับตัวได้ไม่ดีในวัยเด็ก

แล้วพ่อแม่จะทำอย่างไรเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกอย่างดีที่สุด และหลีกเลี่ยงการตกอยู่ในความขัดแย้งระหว่างกันแบบเดิมๆ ที่ทำให้พวกเขาแยกทางกันตั้งแต่แรก
DIVORCE
สามีภรรยาได้ตัดสินใจแยกทางกัน แต่แสร้งทำหน้าชื่นบานและฉลองวันคริสต์มาสด้วยกันเหมือนเป็นครอบครัวปกติ ด้วยเหตุนี้มกราคมจึงเป็น “เดือนแห่งการหย่าร้าง” Source: Pixabay

1. บอกลูกๆ ด้วยกัน

อย่างแรกคือ คุณและคู่ครองร่วมกันบอกลูกๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น ให้พวกเขานั่งลงในช่วงที่เงียบๆ โดยไม่มีสิ่งที่ทำให้เสียสมาธิ (ทีวี หรืออุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ) ซึ่งพวกเขาจะได้มีเวลาเหลือเฟือในการคิดไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับและถามคำถาม (ซึ่งจะทำไม่ได้หากคุณต้องรีบออกจากบ้านไปตามนัด)

2. อย่านำการโต้เถียงกันของผู้ใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้อง

อย่านำการโต้เถียงกันส่วนตัว/ของผู้ใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้อง แม้ว่าจะมีเรื่องการนอกใจ การใช้สารเสพติด หรือความรู้สึกอย่างรุนแรงว่าถูกทรยศ หรือโทษว่าเป็นความผิดของอีกฝ่าย นั่นไม่ใช่ภาระสำหรับลูกๆ ของคุณ

แต่มีข้อยกเว้นอย่างหนึ่งคือ หากคุณมีลูกวัยรุ่นที่โตแล้ว ซึ่งอาจรู้ได้เองว่าเกิดอะไรขึ้น ในกรณีนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือบอกตามความเป็นจริง หากพวกเขานั้นโตแล้วและรู้เรื่องส่วนหนึ่งแต่ไม่ทั้งหมด คุณก็จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะถูกซักไซ้จนรู้สึกลำบากใจได้

3. เตรียมพร้อมสำหรับปฏิกิริยาหลากหลาย

เช่นเดียวกับที่เด็กบางคนไม่ทันตั้งตัวจากข่าวการแยกทางกันที่ใกล้จะเกิดขึ้นของพ่อแม่ พ่อแม่บางคนก็ตกใจไม่แพ้กันกับปฏิกิริยาของลูก

ลูกๆ อาจดูสับสน หรือรู้สึกชอกช้ำหรือแม้แต่รู้สึกโกรธขึ้นมาทันที พวกเขาอาจเข้าข้างผู้ปกครองคนใดคนหนึ่ง หรือขอให้คุณทั้งคู่ช่วยกันแก้ไขปัญหา แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะคาดเดาได้ว่าลูกๆ จะมีปฏิกิริยาอย่างไรในสถานการณ์เหล่านี้

ตั้งมั่นในจุดยืนของคุณ บอกให้พวกเขามั่นใจว่านี่ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา และพ่อแม่รักและห่วงใยพวกเขาเสมอ อย่าถูกยั่วใจให้ ‘ปกป้อง’ ตนเอง หรือบดขยี้อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจนำไปสู่เหตุการณ์ที่สะเทือนอารมณ์และตึงเครียดได้
Divorce
พ่อแม่ต้องบอกให้ลูกๆ มั่นใจว่าการแยกทางกันของพ่อแม่ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา และพ่อแม่รักและห่วงใยพวกเขาเสมอ Source: AAP

4. มุ่งเน้นในทางปฏิบัติ

เด็กส่วนใหญ่ ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่น จะต้องการทราบว่าเรื่องนี้จะส่งผลต่อพวกเขาอย่างไร พวกเขาจะอาศัยอยู่ที่ไหน ไปโรงเรียนที่ไหน หรือพวกเขาจะเล่นฟุตบอลต่อไปได้หรือไม่ ทำให้แน่ใจได้ว่าอย่างน้อยคุณและคู่ครองมีแผนที่คิดไว้บ้างแล้วเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรเมื่อแยกทางกัน

การไกล่เกลี่ยผ่านทาง สามารถช่วยในด้านนี้ได้สำหรับผู้ที่พบความยากลำบากในการบรรลุข้อตกลงร่วมกัน

5. บอกให้คนอื่นรู้

อาจเป็นการดีที่จะบอกให้คนในครอบครัวที่ใกล้ชิดและไว้ใจได้รู้ ก่อนที่คุณจะบอกกับลูกๆ พวกเขาจะสามารถช่วยให้การสนับสนุนแก่ลูกๆ ที่รู้สึกไม่สบายใจ และยังช่วยรับฟังปัญหาความยากลำบากของคุณ พ่อแม่ พี่น้องของคุณ และแม้แต่ลุง ป้า น้า อา อาจรู้จักทั้งตัวคุณและลูกๆ ของคุณดีพอที่จะช่วยให้การสนับสนุนที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับคุณได้เช่นกัน

หากคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียนของลูกๆ ควรแจ้งให้ครูของลูกๆ ทราบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น พวกเขาอาจสามารถช่วยจับตาดูเรื่องปัญหาในการปรับตัวที่เห็นได้ชัด และสามารถส่งเรื่องต่อให้เด็กๆ ได้รับการสนับสนุนต่างๆ ที่มีให้ที่โรงเรียน หากจำเป็น

6. พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้

จำไว้ว่านี่จะไม่ใช่การสนทนาแบบครั้งเดียวจบ เด็กๆ มักจะกลับมาหาคุณพร้อมคำถามเพิ่มเติมและข้อเรียกร้องต่างๆ เมื่อชีวิตใหม่ของคุณเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

นอกจากนี้ ควรจำไว้ว่า เมื่อโตขึ้น เด็กๆ อาจมองเหตุการณ์ต่างๆ ไม่เหมือนเดิม เนื่องจากสมองของเด็กที่อายุมากขึ้นและพัฒนาขึ้น คำถามที่พวกเขาไม่ได้คิดตอนอายุ 4 ขวบ ก็อาจปรากฎขึ้นในทันทีเมื่ออายุ 14 ปี (“ทำไมคุณถึงออกจากบ้านไป?” “คุณได้ลองไปรับคำปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์หรือยัง?”)

7. ทำอย่างไม่ลดละ

เป็นการดีที่สุดที่จะพยายามสร้างความสัมพันธ์ใหม่ร่วมกันในฐานะผู้ปกครองร่วมที่เป็นมิตรต่อกัน การพูดในแง่ลบเกี่ยวกับพ่อแม่อีกฝ่ายเท่ากับเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ดีเอ็นเออีก 50 เปอร์เซ็นต์ของลูก ซึ่งพวกเขาจะไม่ซาบซึ้งใจกับการกระทำเช่นนี้ในระยะยาว

ความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับแผนการเลี้ยงดูบุตรและสิ่งต่าง ๆ เช่น จะให้ลูกอยู่กับใครในช่วงคริสต์มาสมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น วางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้การถกเถียงที่ยากลำบากนี้เข้าหูเด็กๆ และอย่ากลัวที่จะใช้คนกลางหากคุณพบอุปสรรค

คู่รักไม่ได้เข้าสู่การเป็นคู่ชีวิตโดยคาดหวังจะเลิกรา แต่ และเกือบครึ่งหนึ่งของการแยกทางกันนั้นมีลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้ามาเกี่ยวข้อง

แม้ว่าคุณอาจแยกทางกันไปแล้ว แต่ความสามารถของคุณในการเป็นพ่อและแม่ร่วมกันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปรับตัวของลูกๆ ให้เข้ากับโครงสร้างใหม่ของครอบครัว การป้องกันพวกเขาจากอันตรายที่ไม่จำเป็นถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ควรทำตั้งแต่แรกเริ่ม

เรเชล ชาร์แมน (Rachael Sharman) เป็นอาจารย์อาวุโสด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ซันไชน์ โคสต์ (University of the Sunshine Coast)

เรเชล ชาร์แมน ผู้เขียนบทความนี้ ไม่ได้ทำงานให้ ไม่ได้ให้คำปรึกษา ไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น และไม่ได้รับเงินทุนจากบริษัทหรือองค์กรใดๆ ที่จะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ และเธอได้เปิดเผยว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ นอกเหนือไปจากตำแหน่งทางวิชาการ

The original article appeared in the Conversation. SBS Thai has a permission from the author to translate the original article in English into Thai.


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 20 December 2022 2:36pm
Updated 20 December 2022 3:15pm
By Rachael Sharman
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS

Share this with family and friends