ออกแดดให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังในออสเตรเลีย

Mother applying sunscreen to child

แม่ทาครีมกันแดดให้ลูก Source: Peter Cade/Getty Images

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

ออสเตรเลียมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังสูงอันดับต้นๆ โรคมะเร็งผิวหนังเกิดจากเซลส์ผิวที่ถูกทำลาย จากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด


คุณคริสตีอาน โฮลแมน-ลี (Cristiane Holman-Lee) เกิดที่บราซิลและโตที่อิตาลี เธอย้ายมาออสเตรเลียเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และตอนนี้อาศัยอยู่ที่บริสเบน เธอพบว่าแสงแดดในออสเตรเลียนั้นรุนแรงกว่าที่อิตาลีมาก

“แสงแดดในออสเตรเลียรุนแรงมากถ้าเทียบกับที่อิตาลี ซึ่งจะเบาบางกว่า แต่ที่นี่ มันแรงมากๆ ฉันจึงไม่ออกไปเจอแสงแดดที่นี่ ฉันจะอยู่ในร่มตลอด หรือแม้แต่ตอนที่ฉันเดิน ฉันจะเลือกอยู่ใต้ร่มไม้ ฉันไม่ชอบแสงแดดที่นี่ มันแรงไปสำหรับฉัน”

สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics) ระบุว่า ในกลุ่มคนออสเตรเลียที่เป็นมะเร็งในปี 2017-2018 เกือบหนึ่งในสามคนเป็นมะเร็งผิวหนัง ทำให้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด

อะไรคือเหตุผลที่ทำให้อัตราการเป็นมะเร็งผิวหนังในออสเตรเลียสูง?

คุณเดวิด ไวท์แมน (David Whiteman) ประธานกลุ่มควบคุมการเกิดมะเร็ง (Cancer Control Group) และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางการแพทย์ คิวไอเอ็มอาร์ เบอร์โคเฟอร์ (QIMR Berghofer Medical Research Institute) กล่าวว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้อัตราความเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนังสูงในออสเตรเลีย
ในแถบซีกโลกใต้ ประเทศของเราตั้งอยู่ในละติจูดที่ค่อนข้างต่ำ (low latitudes) ดังนั้นปริมาณแสงแดดที่ตกกระทบในออสเตรเลีย จะสูงกว่าประเทศแถบยุโรปและเอเชียตอนเหนือ และส่วนอื่นๆ ของโลก เช่น อเมริกาเหนือ ทำให้มีรังสียูวี (UV) กระทบพื้นผิวโลกบริเวณที่เราอาศัยอยู่จำนวนมาก
นอกจากตำแหน่งที่ตั้งของออสเตรเลีย ยังมีเรื่องของวิถีการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์อีกด้วย

“ในซีกโลกใต้ เนื่องจากวิถีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในฤดูร้อนที่ออสเตรเลีย ความเข้มข้นของรังสีจากดวงอาทิตย์จะแรงขึ้น เพราะเราโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าแถบซีกโลกเหนือในช่วงฤดูร้อน ซึ่งโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เล็กน้อย”

นายแพทย์อาหมัด ฮาซาเนียน (Dr Ahmad Hasanien) แพทย์รักษาทั่วไป (General Practitioner) ในซิดนีย์ที่มีคุณวุฒิความเชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งผิวหนัง กล่าวว่าการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากเกินไป อาจสร้างความเสียหายต่อเซลล์ผิวหนังชั้นดีเอ็นเอ (DNA) ได้
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อรังสีอัลตราไวโอเลตกระทบผิวหนัง มันจะเริ่มเปลี่ยนดีเอ็นเอของเซลล์ผิวชั้นนอก เรากำลังพูดถึงผิวชั้นแรกที่มีความลึกของชั้นผิวสูงสุด 2 มิลลิเมตร วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า เซลล์มะเร็งเริ่มก่อตัว ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดอ่อนๆ จนถึงมะเร็งระยะกลาง และมะเร็งระยะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
หากความเสียหายไม่ได้รับการซ่อมแซมจากกลไกการซ่อมแซมโดยดีเอ็นเอจากภายในร่างกาย เซลล์ที่ผิดปกติจะเริ่มรุกลาม กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกตินี้ ซึ่งสุดท้ายจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

“ในวันปกติ ดัชนียูวีของดวงอาทิตย์ในออสเตรเลียอยู่ที่ระดับ 12 ผมจะหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก การพาลูกๆ ออกไปข้างนอก หากเราดูดัชนียูวีในฤดูหนาว ซึ่งระดับสูงสุดอาจอยู่ที่ 3 หรือ 4 ซึ่งคือระดับเบาถึงปานกลาง และมีช่วงเวลาที่สั้น ผมว่าสองสามชั่วโมง แต่ในฤดูร้อน ช่วงเวลาตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงบ่าย 4 โมงครึ่ง เกือบจะอยู่ที่ระดับ 12 ถึง 14 ตลอดเวลา”
Bondi beach
ชายหาดบอนได (Bondi Beach) Source: Matteo Colombo/Getty Images
คุณเพจ เพรสตัส (Paige Preston) ประธานคณะกรรมาธิการมะเร็งผิวหนังที่สถาบันมะเร็งออสเตรเลีย เชิญชวนให้คนออสเตรเลียตรวจสอบระดับรังสียูวีในพื้นที่ก่อนออกจากบ้าน โดยใช้แอปซันสมาร์ท (Sunsmart) หรือตรวจสอบเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

“เราขอแนะนำให้ชาวออสเตรเลียใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เมื่อรังสียูวีอยู่ที่ระดับ 3 ขึ้นไป โดยการสวมใส่ชุดที่ปกป้องผิวให้มากที่สุด ทาครีมกันแดด ที่มีค่าเอสพีเอ (SPA) อยู่ที่ 30 หรือมากกว่านั้นหรือแบบกันน้ำ ใส่หมวกที่ปกปิดหน้า คอ และหู หลบใต้ร่มเงาและใส่แว่นกันแดด การใช้อุปกรณ์ทั้ง 5 สิ่งนี้จะให้การปกป้องที่ดีที่สุดแก่คุณ”

ผู้ที่มีสีผิวคล้ำ มีเมลานินซึ่งช่วยป้องกันความเสียหายของผิวในชั้นดีเอ็นเอ คุณไวท์แมนกล่าว
การมีสีผิวคล้ำจะช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ และเหตุผลคือเม็ดสีเมลานินที่ผิวหนังของเราผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติจะสร้างเกราะป้องกันเล็กๆ ที่สามารถปกป้องจากรังสียูวีได้ โดยมันสร้างเกราะป้องกันเล็กๆ รอบๆ เซลล์ผิวหนังชั้นนิวเคลียส (nucleus) เหมือนเป็นเกราะ และดูดซับรังสียูวี และป้องกันได้ดีมาก มันหยุดการทำลายผิวชั้นดีเอ็นเอ
แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ ที่มีผิวคล้ำจะไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง

นายแพทย์ฮาซาเนียนกล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังของเขามีผิวสีเข้ม และกระตุ้นให้ทุกคนใช้ชีวิตกลางแดดอย่างฉลาด

“ทุกคนแตกต่างกัน ในทางการแพทย์ แพทย์ที่ดีจะบอกคนไข้ว่า โปรดหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง’ รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง และคนที่มีผิวสีคล้ำ หรือคนที่มีผิวสีอ่อน พวกเขามีปัจจัยเสี่ยงเทียบเท่ากัน คนผิวสีคล้ำมีสิ่งปกป้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้รับการปกป้องเสมอไป ทุกคนสามารถเป็นมะเร็งผิวหนังได้ แม้จะมีผิวสีคล้ำ”
Dark skin person on a beach
ผู้หญิงผิวแทนบนชายหาด Source: Elizabeth Fernandez/Getty Images
การไม่ออกไปเผชิญแดดข้างนอกเลยอาจทำให้ขาดวิตามิน ดี โดยเฉพาะคนที่มีผิวสีคล้ำ คุณเพจ จากสถาบันมะเร็งกล่าวว่า ควรปรึกษาแพทย์จีพี (GP) เรื่องการรับประทานวิตามิน ดี เป็นอาหารเสริม มากกว่าที่จะออกไปเจอแดดเป็นเวลานาน
บางกลุ่มมีความเสี่ยงเรื่องการขาดวิตามิน ดี คนเหล่านี้มีเมลานินมากกว่าและมีผิวสีคล้ำกว่า คนที่สวมใส่เสื้อผ้าปกปิดผิวด้วยเหตุผลทางศาสนาหรือวัฒนธรรม และผู้สูงอายุ แต่สิ่งที่สำคัญคือ จำไว้ว่าพวกเขาอาจจะเป็นมะเร็งผิวหนังได้ จากการได้รับรังสีจากแดดเป็นเวลานาน ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องระดับวิตามิน ดี ของคุณ และหารือว่าการรับประทานวิตามินเสริมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่สำหรับคุณ และพิจารณาดู ไม่แนะนำให้ได้รับแสงแดดเป็นเวลานาน เพราะนั่นจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนัง
คุณไวท์แมนเตือนผู้ที่พยายามทำผิวเป็นสีแทนในฤดูร้อนนี้ โดยเชื่อว่ามันจะช่วยปกป้องพวกเขาจากอันตรายจากแสงแดด เขากล่าวว่าการทำผิวแทนสร้างความเสียหายต่อผิวหนังและดีเอ็นเอ

“การทำผิวแทนเป็นการสร้างระบบใหม่ เหตุผลที่ผิวของเราเป็นสีแทนเป็นการตอบสนองของผิว เพราะเราจะเริ่มมีสีแทนหลังเรารักษาระดับความเสียหายของเซลล์ผิวของเราไว้ มันหมายความว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว และผิวพยายามจะหยุดความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นอีก เมื่อคุณมีผิวสีแมน มันช่วยป้องกันแสงแดด นั่นคือสิ่งที่มันมีวิวัฒนาการ แต่สำหรับผู้ที่พยายามทำผิวสีแทน วิธีที่พวกเขาพยายามทำให้ผิวเป็นสีแทนคือด้วยการสร้างอันตรายต่อผิวและดีเอ็นเอผิวของพวกเขา”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share