สืบสานภาษาพื้นเมืองของชาวอะบอริจิน

Allyra Murray

Source: SBS

โปรเจกต์รวบรวมคำศัพท์ 50 คำในแต่ละภาษาของชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย เป็นส่วนหนึ่งของการสืบสานภาษาและวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ในสัปดาห์ระลึกถึงชาวอะบอริจินและชาวเกาะในออสเตรเลีย (National Aborigines and Islanders Day Observance Committee) หรือสัปดาห์ไนดอก (NAIDOC) เพื่ออนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติแรกในออสเตรเลีย


แหล่งข้อมูลภาษาพื้นเมืองเพื่อให้ความรู้คนออสเตรเลียเกี่ยวกับการสื่อสารในภาษาอะบอริจิน ด้วยความหวังที่จะสืบสานภาษาประจำชาติ

การทำแผนที่ภาษาที่ใช้ในแต่ละพื้นที่ของออสเตรเลียเป็นโปรเจกต์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ที่ถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง นับเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์ไนดอคในเดือนนี้
LISTEN TO
New resource aims to maintain Aboriginal languages image

สืบสานภาษาพื้นเมืองของชาวอะบอริจิน

SBS Thai

09/11/202007:32
คุณงวนกามารา ชาวเกาะยอร์ตา ยอร์ตา และคุณอะเลียรา เมอเร่ย์ ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ที่ไม่ค่อยคุ้นชินกับวัฒนธรรมของเธอมาก่อน

แต่หลังจากได้ใช้และได้ร่วมพัฒนาโปรเจกต์คำศัพท์ 50 คำ เธอก็เริ่มเชื่อมต่อสายสัมพันธ์กับพื้นเพอะบอริจินของเธอมากขึ้น

“แค่คลิกเดียวทางออนไลน์ ก็สามารถเข้าถึงได้ และการเข้าถึงออนไลน์ที่ฟรียิ่งดีเข้าไปใหญ่ การได้อยู่ในจุดที่สามารถกลับบ้าน นั่งอยู่ในห้องของฉัน และได้ยินภาษานั้นมันรู้สึกดีมากๆ และสำหรับฉันที่เป็นคนที่อยู่ในครอบครัวที่ย้ายบ้านบ่อย ฉันรู้ภาษาและวัฒนธรรมของฉันเพียงแค่เศษเสี้ยวนึงเท่านั้น”

เว็บไซต์โปรเจกต์ 50 คำศัพท์ได้ทำให้เห็นถึงความหลากหลายของภาษาของชนชาติแรกในออสเตรเลีย โดยการพาไปฟังการออกเสียงคำเหล่านั้นจริงๆ ในแต่ละพื้นที่

เครื่องมือในการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่าจะพูดคำศัพท์ 50 คำและวลีอื่นๆ ในภาษาท้องถิ่นอย่างไร โดยการฟังเสียงของเจ้าของภาษา  

ยกตัวอย่างเช่นวลี “Ikngerre-iperre Ulypme Akarre” แปลว่า “คุณชื่ออะไร? มานี่ ไปกันเถอะ”

คุณคาโด มูวะ เป็นหนึ่งในคนที่ใช้ภาษา นาลีอะ และเป็นเจ้าของเสียงของภาษานี้

เขากล่าวกับเอ็นไอทีวีหรือโทรทัศน์พื้นเมืองแห่งชาติว่า ภาษาพื้นเมืองที่ใช้ในประเทศออสเตรเลียนั้นเคยมีมากกว่า 200 ภาษา ทุกวันนี้ลดเหลือแค่ 20 ภาษา
คุณรู้ไหมว่า ภาษาประจำชาติของคนชนชาติแรกที่นี่ต้องเจอกับผลกระทบจากการล่าอาณานิคม และ 90 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนเสียชีวิตหรือสูญหายไป และทำให้ 90 เปอร์เซ็นต์ของภาษาสูญหายไปด้วย
เขากล่าวว่าการสูญเสียภาษาไปบางภาษาหมายความความเข้าใจถึงความสำคัญของดินแดนนี้ในชุมชนก็ลดลงตามไปด้วย  

“ถ้าคุณเรียนภาษาใดภาษาหนึ่ง คุณก็จะเข้าใจวิธีการคิดเฉพาะกลุ่มที่ผูกพันธ์คุณไว้กับประเทศนั้น ความฝัน การรังสรรค์และบรรพบุรษของคุณ” 

คุณอะเลียรา เมอเร่ย์ให้ความเห็นว่าผู้สูงอายุและคนในชุมชนที่มีส่วนร่วมในโปรเจกต์นี้ไม่ได้มีบทบาทแค่การอนุรักษ์เสียงของพวกเขา แต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าคำศัพท์ที่แตกต่างกันเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร

“ฉันกำลังเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ การเรียนรู้ของฉันก็นับเป็นการเดินทางด้วยตัวมันเองแล้ว ฉันคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ฉันรักในโปรเจกต์นี้คือคุณสามารถเห็นความหลากหลายของภาษาของเรา และได้เรียนรู้ว่ามีความคล้ายคลึงกันของภาษาด้วย โดยเฉพาะคำว่ามือหรือเมอร์ร่าในบางภาษา และเท้าหรือจินา คุณจะเห็นว่าคนแถบตอนเหนือของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียใช้คำนี้ด้วย ในเซาท์ออสเตรเลียหรือแม้กระทั่งวิกตอเรียก็ใช้คำนี้สำหรับมือและเท้า”

รองศาสตราจารย์สาชาวิชาภาษาศาสตร์ คุณ  นิค ทีเบอเกอร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ทำโปรเจกต์นี้

“เราอยากจะทำมันด้วยวิธีที่ใกล้ชิดกับคนอะบอริจิน เราต้องการทำงานร่วมกับคนพื้นเมืองของออสเตรเลีย เราเลยสร้างโครงงานขึ้น และเชิญคนที่พูดภาษาแต่ละภาษาเข้ามามีส่วนร่วม และนั่นคือวิธีที่เราเริ่มทำในตอนแรก”

โปรเจกต์เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว แต่ได้ปรับปรุงให้คนสามารถเข้าถึงได้ในสัปดาห์ไนดอค (สัปดาห์ของการระลึกถึงชาวอะบอริจินและชาวเกาะแห่งชาติ)

รองศาสตราจารย์ ทีเบอเกอร์กล่าวว่าในเว็บไซต์มีแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้

เราได้เสียงตอบรับจากคนอะบอริจินที่ไม่ได้ใช้ภาษาพื้นเมืองของพวกเขาแล้ว พวกเขาประทับมากใจที่ได้ยินเครือญาติของพวกเขาพูดภาษาพื้นเมือง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ใช้ภาษานี้แล้ว แต่พวกเขาก็ยังได้เชื่อมความสัมพันธ์กับครอบครัวของพวกเขาที่ยังพูดภาษาพื้นเมืองอยู่โดยการฟังเสียงที่อัดไว้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ทำให้คุณรู้คำศัพท์ 50 คำหรือไม่กี่คำ มันก็ยังสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่”

คุณอะเลียรา เมอเร่ย์ชี้ว่าถ้ามีเด็กๆ เริ่มใช้คำเหล่านี้ในสนามเด็กเล่น พวกเขาก็จะเริ่มเห็นคุณค่าของเจ้าของดินแดนดั้งเดิม

กว่า 60 ภาษาที่ถูกนำมาจัดทำ และคาดว่าจะมีการรวบรวมถึง 100 ภาษาในอนาคต

สัปดาห์ไนดอคมีถึงวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน กับหัวข้อ “ตลอดมา และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป” เพื่อเล็งเห็นคุณค่าของกลุ่มคนพื้นเมืองที่เป็นเจ้าของดินแดนนี้มากว่า 65,000 ปี


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share