รำลึก ANZAC ที่ช่องเขาขาด ณ ทางรถไฟสายมรณะ

The railway track monument at Hellfire Pass Memorial Museum.

ช่องเขาขาด บนเส้นทางรถไฟสายมรณะ จ.กาญจนบุรี ในวันแอนแซก (ANZAC) 25 เมษายน ของทุกปี Source: Wikimedia/DAVID ILIFF CC-BY-SA 3.0

ย้อนประวัติศาสตร์ช่องเขาขาดและการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะจากไทยไปยังพม่า โดยทหารสัมพันธมิตร ที่เป็นเชลยสงครามและแรงงานชาวเอเชียในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง


วันแอนแซก (ANZAC) เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความหมายอย่างมากต่อชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ วันที่ 25 เมษายน ของทุกปี เป็นวันที่ชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รำลึกถึงเหล่าทหารกล้าที่ยกพลขึ้นบก ณ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรกัลลิโพลี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และยังเป็นการระลึกถึงทหารผ่านศึกของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในทุกสมรภูมิด้วย ในประเทศไทย ที่ช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกจุดหนึ่งที่ชาวออสเตรเลียเดินทางไปทำพิธีในวันแอนแซก โดยมีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สอง

ฟังรายงาน
LISTEN TO
History of Hellfire Pass in Thailand and ANZAC image

รำลึก ANZAC ที่ช่องเขาขาด ณ ทางรถไฟสายมรณะ

SBS Thai

22/04/202108:35
กิจกรรมหลักที่สำคัญในวันแอนแซก เริ่มต้นตั้งแต่ยามเช้าตรู่ของวัน เรียกว่าพิธี Dawn Service นับเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เหล่าทหารยกพลขึ้นบกที่กัลลิโพลี กิจกรรมที่ตามมาจากนั้น จะมีการเดินสวนสนามของขบวนทหารผ่านศึกและทหารที่เกษียณอายุ พิธีแสดงความเคารพและรำลึกถึงทหารที่เสียสละในสงครามที่อนุสรณ์สถานสงคราม กิจกรรมหลักเหล่านี้จัดขึ้นตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศออสเตรเลีย

ในประเทศไทยมีการจัดพิธีแอนแซก ในวันที่ 25 เมษายนของทุกปีเช่นกัน โดยจัดขึ้นที่ช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรขนานนามว่า Hellfire Pass หรือช่องไฟนรก

หากย้อนช่วงเวลาไปยังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ไทย-พม่า ที่มีความยาว 415 กิโลเมตร ผ่านป่าทึบและหุบเขา จากอำเภอบ้านโป่ง ในประเทศไทย ไปสู่ประเทศพม่า ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ ญี่ปุ่นใช้แรงงานชาวเอเชีย ราว 270,000 คน และใช้เชลยสงครามชาวออสเตรเลียน อังกฤษ ดัตช์ และอเมริกัน รวม กว่า 60,000 คน

กรรมกรและเชลยสงครามต้องทำงานอย่างหนักกลางป่าทึบ การแผ้วถางป่า การขุดเจาะช่องเขา และการก่อสร้างสะพานข้ามแม้น้ำ ล้วนทำด้วยแรงงานมนุษย์

คาดกันว่าเชลยสงครามราว 12,399 คนและกรรมกรชาวเอเชียราว 70,000-90,000 คน เสียชีวิตไปในการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้

ฟังเรื่องราวความเป็นมาของวันแอนแซก พร้อมด้วยประวัติศาสตร์อันน่าสะพรึงกลัวของการสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะและช่องเขาขาด ได้จากรายงานพิเศษของเอสบีเอส ไทย ด้านล่างนี้
LISTEN TO
History of Hellfire Pass in Thailand and ANZAC image

รำลึก ANZAC ที่ช่องเขาขาด ณ ทางรถไฟสายมรณะ

SBS Thai

22/04/202108:35
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share