คนจีนคนแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย เขาคือใคร

Mak Sai Yingg's grandson, Private John Joseph Shying (State Library of NSW).jpg

หลานชายของ หมาก ไซ ยิง คือ พลทหาร จอห์น โจเซฟ ไชอิง (State Library of NSW)

Get the SBS Audio app

Other ways to listen

คนจีนคนแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในออสเตรเลียเดินทางมาถึงเมื่อสองร้อยปีก่อน มาค ไซ ยิง (Mak Sai Ying) ก่อร่างสร้างตัวเป็นเจ้าของโรงแรมในพื้นที่ตะวันตกของซิดนีย์


หอสมุดแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์มีสมบัติล้ำค่ามากมาย ในจำนวนนั้น คือจดหมายเหตุที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคนจีนคนแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย

นั่นคือในปี 1818 หมาก ไซ ยิง (Mak Sai Ying) เดินทางมาถึงจากกวางโจว เขาทำงานเป็นช่างไม้ก่อนแล้วจากนั้นก็ได้เป็นเจ้าของโรงแรมขนาดเล็กหลายแห่ง

ชื่อของเขาถูกเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษว่า จอห์น ไชอิง (John Shying) ซึ่งระบุชัดเจนในเอกสารสำมะโนประชากรและชื่อผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์
กด ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
thai_120822_First ever Chinese migrant in Australia image

คนจีนคนแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย เขาคือใคร

SBS Thai

12/08/202207:30
คุณแอนนี ทอง (Annie Tong) จากหอสมุดแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ นำเอกสารเหล่านี้บางส่วนมาเปิดเผย

นอกจากนั้นเอกสารเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมีอีกมากมาย รวมทั้งรูปภาพของหลานชายของเขา คือพลทหาร จอห์น โจเซฟ ไชอิง (John Joseph Shying) และแผนที่แสดงที่ตั้งของโรงแรมขนาดเล็กของเขา

หมาก ไซ ยิง เลือกที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่พาร์รามัตตา (Parramatta) ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มีความสำคัญอันดับสองของออสเตรเลีย

ทุกวันนี้ มีอาคารขนาดใหญ่อยู่ใกล้กับจุดที่โรงแรมแห่งนั้นเคยตั้งอยู่ และกำลังมีการก่อสร้างรถรางไลท์ เรล (light rail) รอบๆ อาคารดังกล่าว

และฝั่งตรงข้ามถนนคือสุสานเซนต์แพทริก ที่ซึ่งสามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของหมาก ไซ ยิง ได้
เขาเป็นคนจีนคนแรกที่เรารู้ว่าเข้ามายังออสเตรเลีย และเขาอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ ดังนั้นเขาจึงมีความสำคัญต่อเรามาก
คุณจูดิท ดันน์ เป็นนักประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของพาร์รามัตตา
คุณจูดิท ดันน์ เป็นนักประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นของพาร์รามัตตา เธอกล่าวถึงหมาก ไซ ยิง ว่า

"เป็นบุคคลที่น่าสนใจที่สุด ที่ไม่ค่อยมีคนรู้เกี่ยวกับเขามากนัก เขาเป็นคนจีนคนแรกที่เรารู้ว่าเข้ามายังออสเตรเลีย และเขาอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ ดังนั้นเขาจึงมีความสำคัญต่อเรามาก" คุณจูดิท ดันน์ กล่าว

การอพยพมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียของหมาก ไซ ยิง ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จอย่างมาก แม้เขาจะต้องอยู่ภายใต้นโยบายด้านเชื้อชาติในสมัยนั้น

เขาไม่สามารถซื้อที่ดินได้เนื่องจากนโยบายด้านเชื้อชาติเหล่านี้ เขาจึงอาศัยความเอื้ออาทรของผู้อื่นเพื่อจะไปข้างหน้า ในที่สุดเขาก็ได้ดำเนินกิจการโรงแรมขนาดเล็กสามแห่งในพื้นที่พาร์รามัตตา

"โรงแรมเล็กๆ เกิดขึ้นทีหลัง เขาได้ยื่นขอที่ดินจากโบสถ์บนถนนสายนี้ที่อยู่ตรงหน้าเราที่นี่ เขาได้รับอนุมัติที่ดินผืนหนึ่งแต่ในสุดดูเหมือนจะไม่เกิดขึ้น จริงๆ แล้วเขาไม่ควรจะได้ถือครองที่ดินเพราะถือว่าเขาเป็นคนต่างด้าวจากจักรวรรดิจีน ดังนั้นผู้อื่นจึงซื้อที่ดินแทนเขา แต่เขาได้ทำข้อตกลงสำหรับบ้านและที่ดินในพาร์รามัตตาเป็นเวลาหลายปีด้วยความช่วยเหลือของผู้อื่น"
ในที่สุดเขาก็ได้ที่ดินผืนหนึ่งซึ่งเขาสร้างบ้านบนที่ดินผืนนั้น จากนั้นก็สร้างโรงแรมโกลเดน ไลออน อินน์ (Golden Lion Inn) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ดีเยี่ยม
"ในที่สุดเขาก็ได้ที่ดินผืนหนึ่งซึ่งเขาสร้างบ้านบนที่ดินผืนนั้น จากนั้นก็สร้างโรงแรมโกลเดน ไลออน อินน์ (Golden Lion Inn) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ดีเยี่ยม เพราะเกวียนที่ออกจากที่นี่จะไปยังวินด์เซอร์ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกอาหาร ดังนั้นจึงมีการจราจรที่คับคั่งแม้แต่ในตอนนั้น" คุณดันน์ นักประวัติศาสตร์ กล่าว

นอกจากความสำเร็จในฐานะนักธุรกิจแล้ว หมาก ไซ ยิง ก็ไม่เคยขาดผู้หญิงที่มาชอบพอเขา
เขาเป็นชายคนจีนคนแรก เขามีหน้าตาแตกต่างจากคนอื่น การพูดของเขาก็แตกต่าง บางทีเขาอาจจะแต่งตัวแตกต่างด้วย แต่กระนั้นเขาค่อนข้างจะเป็นผู้ชายที่มีผู้หญิงชอบพอมากมาย
"เขาเป็นชายคนจีนคนแรก เขามีหน้าตาแตกต่างจากคนอื่น การพูดของเขาก็แตกต่าง บางทีเขาอาจจะแต่งตัวแตกต่างด้วย แต่กระนั้นเขาค่อนข้างจะเป็นผู้ชายที่มีผู้หญิงชอบพอมากมาย เพราะมีผู้หญิงสามคนที่พร้อมจะแต่งงานกับบุคคลที่ถูกเรียกในบันทึกของทางการว่าเป็นคนต่างด้าว”

ภรรยาคนแรกของหมาก ไซ ยิง ชื่อซาราห์ ทอมป์สัน ซึ่งเขามีลูกด้วยสี่คน

หลังการตายของเธอ เขาก็ได้แต่งงานกับหญิงคาทอลิกชาวไอริช ที่เสียชีวิตลงเพียงสามปีต่อมา

ภรรยาคนที่สามของเขาคือ มาร์กาเรต แมคกาวิน หญิงชาวไอริชอีกคน ที่เขามีลูกสาวด้วยหนึ่งคน

ร่างของเธอก็ถูกฝังอยู่ที่สุสานเซนต์แพทริกในพาร์รามัตตาด้วยเช่นกัน

คุณดันน์ กล่าวว่า สุสานแห่งนี้เป็นภาพสุ่มที่แสดงให้เห็นว่าพาร์รามัตตาเป็นพื้นที่ที่มีความผสมผสานของวัฒนธรรมต่างๆ มาตลอด

"มีชาวอะบอริจินถูกฝังอยู่ที่นี่ นี่คือสุสานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราจึงมีผู้อพยพชาวอิตาลีในยุคแรกๆ เรามีชาวจีน เรามีชาวอะบอริจิน เรามีชาวสวิสเชื้อสายฝรั่งเศส ฉันได้จัดทัวร์เล็กๆ ที่ฉันเลือกคนจากเชื้อชาติต่างๆ และแสดงให้เห็นว่าเรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาช้านาน" คุณดันน์ กล่าว

กว่าสองร้อยปีต่อมา ความทรงจำเกี่ยวกับหมาก ไซ ยิง ยังคงอยู่ต่อไป

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share