รัฐฯ หนุนตรวจประวัติการใช้ความรุนแรงสปอนเซอร์วีซ่าคู่ครอง

องค์กรช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครอบครัวเตือนการเปลี่ยนระบบวีซ่าคู่ครองของรัฐบาล อาจกระทบผู้หญิงมากกว่าผู้กระทำผิด

Acting Minister for Immigration, Citizenship, Migrant Services and Multicultural Affairs Alan Tudge.

Acting Minister for Immigration, Citizenship, Migrant Services and Multicultural Affairs Alan Tudge. Source: AAP

ชาวออสเตรเลียที่ต้องการสปอนเซอร์คู่ครองของตนให้สามารถอาศัยในประเทศจะต้องรับการตรวจประวัติว่าเคยมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ และต้องแจ้งผลการตรวจประวัติให้คู่ครองของตนทราบก่อนที่จะยื่นใบสมัครวีซ่า รัฐบาลออสเตรเลียแจ้งว่าการเปลี่ยนแปลงล่าสุดนี้จะช่วยปกป้องผู้ย้ายถิ่นจากการใช้ความรุนแรงในบ้านหรือความรุนแรงในครอบครัว

นาย อลัน ทัดจ์ รักษาการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ได้เปิดเผยข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นครั้งแรกในการประกาศร่างงบประมาณเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่าข้อมูลด้านลบใดๆ ที่ตรวจพบจากการตรวจประวัติของผู้ที่ยื่นขอสปอนเซอร์วีซ่านั้นจะแจ้งให้คู่ครองอีกฝ่ายทราบ เพื่อที่พวกเขาจะได้พิจารณาข้อมูลเหล่านั้นเพื่อการตัดสินใจว่าจะดำเนินเรื่องยื่นสมัครวีซ่าคู่ครองที่มีค่าสมัครสูงนี้หรือไม่

ผลการตรวจประวัตินี้จะรวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ที่อาจนำไปสู่อันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยังมีการแจ้งประวัติการกระทำความผิดและการถูกจับกุมในอดีตอีกด้วย อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะยังมีอิสระในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการพิจารณาใบสมัครวีซ่านั้นๆ หรือไม่

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้

ในขณะที่ศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือเรื่องความรุนแรงในครอบครัวนั้นเห็นด้วยกับกระบวนการที่แจ้งให้คู่ครองอีกฝ่ายรับทราบถึงผลของการตรวจสอบประวัติ อย่างไรก็ตามพวกเขาเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ตกที่นั่งลำบากเพราะเป็นการจำกัดทางเลือกที่จะทำให้พวกเขาสามารถอาศัยในออสเตรเลีย

คุณ มิชอล มอร์ริส ประธานกรรมการบริหารขององค์กรอินทัช (InTouch) ซึ่งเป็นองค์กรที่เน้นการให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัวของผู้ย้ายถิ่นได้กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่การที่ผู้หญิงถอนตัวไม่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ตนตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงต่อตำรวจเนื่องจากกลัวว่าคู่ครองของตนจะไม่สามารถสปอนเซอร์ตนได้ในอนาคต

เธอยังตั้งข้อสังเกตว่าหลายๆ คนที่แต่งงานหรือมีบุตรด้วยกันในช่วงที่พวกเขายื่นสมัครวีซ่าคู่ครองแล้ว นั่นหมายถึงว่ามันอาจจะเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากต่อผู้หญิงกลุ่มนี้ที่จะออกจากความสัมพันธ์ของพวกเขาแม้ว่าผลการตรวจสอบจะเป็นไปในทางลบ

 “การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ทางเลือกในการอาศัยอยู่ในออสเตรเลียของพวกเธอลดลงเพราะว่าพวกเธอไม่มีทางไหนที่จะสามารถอาศัยอยู่ที่นี่ได้”

“และถึงแม้ว่าพวกเธอจะอาศัยในออสเตรเลียมาเป็นเวลาหลายปี มีวีซ่าทำงานและมีบุตรด้วยกันก็ตาม พวกเขาก็ไม่สามารถอยู่ที่นี่ได้ถ้าปราศจากองค์ประกอบของการรับรองความสัมพันธ์ของพวกเขา ซึ่งมันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้พวกเขาอาศัยในออสเตรเลีย”

ในปัจจุบันผู้ที่ถือวีซ่าคู่ครองชั่วคราว (provisional partner visa) จะสามารถยื่นสมัครวีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรได้ ถ้าหากพวกเขาสามารถแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นเหยื่อของความรุนแรงถึงแม้ว่าในเวลานั้นทั้งคู่จะจบความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วก็ตามและภายใต้กฎหมายใหม่วีซ่าประเภทครอบครัวชั่วคราว (family visa provision) จะยังคงให้บริการต่อไปสำหรับผู้ที่ถือวีซ่าคู่ครองชั่วคราว

สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้ถือวีซ่าชั่วคราว

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาได้รับรายงานว่าผู้ที่ได้รับวีซ่าคู่ครองจำนวนกว่า 2,450 รายที่ได้แจ้งเรื่องการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คุณ มอร์ริสชี้ว่า

 “เราต้องพิจารณาอย่างรอบด้านว่าเรามองสถานการณ์ของผู้หญิงแต่ละคนและความสัมพันธ์ของพวกเขาอย่างไร”

ในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีการรายงานว่าผู้ย้ายถิ่นชั่วคราวตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในรัฐวิคตอเรียพบว่า

คุณ โมนิค แดม ผู้จัดการด้านการป้องกันความรุนแรงและผู้สนับสนุนการงดใช้ความรุนแรงจากองค์กร DVNSW เปิดเผยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องความรับผิดชอบของรัฐบาลต้องแน่ใจว่าเหยื่อจากการใช้ความรุนแรงทั้งหลายจะสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเรื่องรายได้ ที่อยู่อาศัยและการสนับสนุนด้านสังคมไม่ว่าพวกเขาจะถือวีซ่าประเภทใดก็ตาม

 “ผู้หญิงและผู้ที่มีความหลายหลายทางเพศที่ถือวีซ่าชั่วคราวประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าคู่ครอง วีซ่าครอบครัว วีซ่าผู้ดูแล วีซ่านักท่องเที่ยว หรือคนที่ถือวีซ่าบริดจิง ก็ล้วนได้เผชิญกับความรุนแรงทางเพศและครอบครัวทั้งนั้น”

 “ไม่มีใครควรที่ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการถูกฆาตกรรมหรือตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือกนอกจากที่จะกลับไปเผชิญกับผู้ที่ใช้ความรุนแรง เพียงเพราะว่าพวกเขาไม่มีที่ไป รัฐบาลควรที่จะขยายขอบเขตความช่วยเหลือของวีซ่าครอบครัวชั่วคราวแก่ผู้ที่ถือวีซ่าชั่วคราวทุกคน”

คุณมอร์ริส ยังได้เรียกร้องให้มีวีซ่าประเภทใหม่สำหรับผู้ย้ายถิ่นชั่วคราวผู้ที่ต้องออกจากความสัมพันธ์เนื่องจากการใช้ความรุนแรง เพื่อที่จะเป็นการช่วยเหลือและให้โอกาสพวกเขาเพื่ออาศัยในออสเตรเลีย ได้มีสิทธิในการทำงาน มีสิทธิได้ความช่วยเหลือเรื่องการรักษาพยาบาล และสิทธิในการมีที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลา 2-5 ปีจนกว่าพวกเขาจะตั้งหลักได้

 “การลดโอกาสในการอาศัยในออสเตรเลียลงไม่ใช่ทางออกสำหรับปัญหานี้ และปัญหานี้นั้นกระทบต่อฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย”

จะเริ่มใช้กฎใหม่นี้เมื่อไหร่

การตรวจสอบประวัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นๆ ด้วยเช่น ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง กระทรวงมหาดไทยได้คาดการณ์ว่าจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศไปได้ในระยะเวลา 4 ปีกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ และมีการตั้งเป้าว่าจะเริ่มใช้การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตั้งแต่ปลายปีหน้า (2021) เป็นต้นไปและจะบังคับใช้กับผู้สมัครรายใหม่เท่านั้น
การตรวจสอบประวัติโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเป็นส่วงนหนึ่งของกระบวนการยื่นสมัครวีซ่าอยู่แล้ว แต่ภายใต้ข้อกำหนดใหม่นี้การตราจประวัติของสปอนเซอร์จะต้องดำเนินการก่อนที่จะมีการยื่นใบสมัคร 

ผู้ย้ายถิ่นที่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้มีความเสี่ยงสูงจะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเนื่องจากพวกเขาอาจจะไม่สามารถเข้าหาเครือข่ายความช่วยเหลือในออสเตรเลียได้หรืออาจจะไม่ทราบวิธีที่จะขอความช่วยเหลือ”  นาย ทัดจ์ชี้ว่า

 “มันเป็นสำคัญว่าคุณเป็นใครหรือคุณมาจากไหน ไม่ว่าคุณจะอาศัยที่นี่หรือถือวีซ่าชั่วคราวหรือเป็นพลเมืองออสเตรเลียก็ตาม ไม่ว่าใครก็ไม่ควรที่จะตกอยู่ในวังวนของความสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรง”

และจะมีประกาศเกี่ยวกับรายละเอียดของกระบวนการการตรวจสอบประวัติในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ถ้าคุณหรือใครที่คุณรู้จักได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศหรือความรุนแรงในบ้านหรือครอบครัว สามารถติดต่อได้ที่ 1800RESPECT หรือ 1800 737 732หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  หรือติดต่อหมายเลขฉุกเฉินได้ที่ 000

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

ชาวออสเตรเลียอายุยืนขึ้น แต่คุณภาพชีวิตแย่ลง




Share
Published 20 October 2020 2:53pm
Updated 30 October 2020 7:05pm
By Maani Truu
Presented by Chayada Powell


Share this with family and friends