Explainer

อาการแพนิก แอทแทก และหัวใจวาย มีวิธีไหนที่จะบอกความแตกต่างได้บ้าง

อาการเจ็บหน้าอกเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของอาการหัวใจวาย มันยังเป็นอาการของภาวะตื่นตระหนก (Panic Attack) อีกด้วย

A young woman sits on a couch clutching her chest.

อาการการตื่นตระหนก (Panic Attack) และหัวใจวาย มีอาการร่วมที่คล้ายคลึงกัน Credit: เก็ตตี้ อิมเมจ/ภิรมยา อินทวงศ์พันธุ์

ประเด็นสำคัญ
  • อาการต่างๆ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจถี่ และวิงเวียน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในภาวะหัวใจวายและอาการตื่นตระหนก
  • ผู้เชี่ยวชาญเน้นถึงความสำคัญในการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีอาการหัวใจวาย
  • พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างภาวะหัวใจ ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
เอมิลี่ไม่คิดว่าเธอวิตกกังวล เธอคิดว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติกับหัวใจของเธอ

เธอมีอาการตื่นตระหนกครั้งแรกในขณะที่สวมฟิตบิท หลังจากเห็นว่าเครื่องดังกล่าววัดอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 142 ครั้งต่อนาที เธอจึงเรียกรถพยาบาลทันที
ทีมแพทย์ต้องทำการตรวจเลือดเพราะ "ไม่สามารถระบุได้จากการสังเกตอาการเพียงอย่างเดียว”.

“ฉันยังคงไม่รู้ว่ามันต่างกันยังไง ตอนที่ฉันมีอาการตื่นตระหนก ฉันยังคิดว่า “ฉันควรจะเรียกรถพยาบาลหรือไม่” เอมิลี่บอกกับเอสบีเอส

แล้วอาการของโรคตื่นตระหนกและหัวใจวายคืออะไร?

งานวิจัยใหม่ซึ่งนำทีมโดยมหาวิทยาลัยโมนาช ได้เปิดเผยว่า ชาวออสเตรเลียหนึ่งในห้าคนไม่ทราบว่าอาการของโรคหัวใจวายเป็นอย่างไร

นาตาลี ราฟโฟล์ ผู้จัดการโปรแกรมการดูแลสุขภาพของมูลนิธิหัวใจ และเภสัชกรโรคหัวใจคลินิก กล่าวว่า อาการตื่นตระหนกและหัวใจวายมีอาการที่เหมือนกันอยู่หลายอย่าง

อาการเจ็บหน้าอกเป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของอาการหัวใจวาย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

นอนไม่หลับทำอย่างไรดี?

“มันอาจจะเป็นอาการปวดหนึบๆ หรือมันอาจจะเจ็บแปลบ และเฉียบพลัน อาการเจ็บสามารถแผ่กระจายออกไปที่แขน คอ ขากรรไกร ไหล่ หรือแม้กระทั่งหลังของคุณ” นางสาวราฟโฟล์บอกกับสำนักข่าวเอสบีเอส

“และโชคไม่ดีที่อาการเจ็บหน้าอก หรือแรงกดที่แผ่กระจายไปทั่วก็เกิดขึ้นระหว่างที่คุณมีอาการ แพนิก แอทแทก”

อาการที่ทับซ้อนกันอื่น ๆ ได้แก่ หายใจไม่ออกและหายใจลำบาก คลื่นไส้ หนาวสั่นและเหงื่อออก เป็นลม อ่อนเพลีย และเวียนศีรษะ

“ผู้หญิงมีโอกาสมากกว่าผู้ชายที่จะประสบกับอาการที่ไม่ใช่อาการปวดทรวงอก ในกรณีที่มีอาการหัวใจวาย” นางสาว ราฟโฟล์ กล่าวเสริม

ควรทำอย่างไรหากคุณมีอาการเหล่านั้น?

คุณราฟโฟล์เน้นความสำคัญของการขอความช่วยเหลือในทันที เช่น โทรหา Triple Zero (000) ถ้าคุณกำลังประสบกับอาการหัวใจวายแม้ว่าคุณจะไม่แน่ใจว่าเป็นอาการวิตกกังวลหรือหัวใจวาย

ตอนนี้เอมิลี่สามารถระบุอาการ แพนิก แอทแทกของเธอได้ดีขึ้น แต่ถ้าเธอประสบกับภาวะเครียดมากกว่าปกติ เธอก็ยังพบว่ามันยากที่จะบอกได้ว่าเธอมีอาการแพนิก แอทแทกหรือมันคืออย่างอื่น

GP ของเธอส่งเธอไปพบแพทย์โรคหัวใจ เพื่อตรวจหาปัญหาหัวใจอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

เอมิลี่เชื่อว่าคนที่มีความวิตกกังวลต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมว่า เมื่อใดคือเวลาที่พวกเขาควรจะขอความช่วยเหลือ นอกจากนี้เธอยังต้องการที่จะเห็นการรณรงค์ให้ผู้คนรับรู้มากเกี่ยวกับอาการโรควิตกกังวล

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

จับสัญญาณปัญหาสุขภาพจิต

“แน่นอนเลยว่า ข้อมูลเกี่ยวกับอาการวิตกตกังวลมีไม่เพียงพอ... มันแย่มากและมันทำให้ทำอะไรไม่ได้ มีการสนับสนุนช่วยเหลือน้อยมาก และข้อมูลที่มีก็เล็กน้อย และไม่เพียงพอ" เธอกล่าว

การจัดการความวิตกกังวลและอาการ แพนิก แอทแทก

ภาวะตื่นตระหนก (Panic) เป็น “การตอบสนองความกลัวที่เกิดขึ้นฉับพลัน” คุณลินดา วิลเลียมส์ นักจิตวิทยาและผู้นำทางคลินิกสำหรับสุขภาพจิตเยาวชนและ องค์กรสุขภาพจิต ReachOut

แพนิก แอทแทกมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการทางกายร่วมด้วย ซึ่งมักจะรวมถึงความรู้สึกรับรู้ถึงความกลัว หรืออันตราย

“มันเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่จะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกตัดขาดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว หรือเกิดความกลัวที่รุนแรง" เธอกล่าว

คุณวิลเลียมส์กล่าวกว่าคนที่ประสบกับอาการตื่นตระหนก ควรไปรับการตรวจกับแพทย์

“มันเป็นสิ่งสำคัญที่ค้นหาว่ามีปัจจัยทางกายภาพใด ที่มีส่วนทำให้เกิดอาการเหล่านี้" เธอกล่าว

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดหากใครบางคนประสบกับภาวะ แพนิก แอทแทก สิ้งที่สามารถทำคือการหายใจช้าๆ และลึก – ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในขณะที่มีการอาการดังกล่าว

“เมื่อเราหายใจเร็วและสั้น มันจะสร้างวงจรที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกำลังมีภัยคุกคาม” คุณวิลเลียมส์กล่าว

เพื่อช่วยในเรื่องนี้ คุณสามารถโทรศัพท์สายด่วนถึง Lifeline ที่เบอร์โทรศัพท์ 13 11 14 หรือ Kids Helpline ที่เบอร์โทรศัพท์ 1800 55 1800 เวลาที่ได้พูดกับใครบางคน หรือได้รับการแนะนำถึงวิธีการหายใจ “มันสามารถช่วยให้รู้สึกสงบขึ้นได้” เธอกล่าวเสริม

มีการเชื่อมโยงระหว่างความวิตกกังวลและปัญหาหัวใจหรือไม่?


จากคำแนะนำของคุณ ราฟโฟล์ มีความเชื่อมโยงหลักสองประการระหว่างความวิตกกังวลและปัญหาหัวใจ

ประการแรกคือความเครียดทางอารมณ์ เช่นความเศร้าโศกที่รุนแรง สามารถทำให้เกิดอาการหัวใจวายโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีบุคคลนั้นมีการอุดตันในหลอดเลือดแดงของพวกเขาอยู่แล้ว

ความเชื่อมโยงอีกอย่างก็คือ “ความสัมพันธ์แบบสองทาง” ระหว่างภาวะสุขภาพจิตและโรคหัวใจ


เรารู้ว่าคนที่มีภาวะสุขภาพจิตที่สำคัญเช่นภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต และเรายังรู้ว่า คนที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจมีแนวโน้มที่จะพัฒนาความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามากขึ้น
คุณ ราฟโฟล์กล่าว

เธอแนะนำให้พูดคุยกับแพทย์ของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุตั้งแต่อายุ 45 ปีเป็นต้นไป


ในที่สุด เอมิลี่ก็เลิกสูบบุหรี่และดื่มสุรา หลังจากที่แพทย์โรคหัวใจบอกเธอว่า การขจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบรรเทาความวิตกกังวลของเธอเกี่ยวกับปัญหาหัวใจ นอกจากนี้ เธอยัง “ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตของเธอ” รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ฉันไม่รู้ว่ามันช่วยลดความวิตกกังวลของฉัน หรือช่วยให้สุขภาพโดยรวมของฉันดีขึ้น... แต่แน่นอนเลยว่า มันช่วยลดอาการแพนิก แอทแทกของฉันลง ทำให้ฉันรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่าฉันดูแลสุขภาพหัวใจของฉันด้วย
เธอกล่าว

หากพบอาการหัวใจวาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือโทรหา Triple Zero (000)

ข้อมูลการสนับสนุนสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีความวิตกกังวลที่ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

หากต้องการการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต สามารถติดต่อ Beyond Blue ที่เบอร์โทรศัพท์ 1300 22 4636 ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
เป็นศูนย์ให้การช่วยเหลือสำหรับผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 30 March 2023 12:00pm
Updated 30 March 2023 5:20pm
By Kathleen Farmilo
Presented by Jittralada Siewiera
Source: SBS


Share this with family and friends