โครงการใหม่ช่วยหญิงผู้ย้ายถิ่นก่อตั้งธุรกิจอย่างมั่นใจ

แม้จะมีพรสวรรค์และทักษะ แต่สตรีผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องเผชิญอุปสรรคในการก่อตั้งธุรกิจเป็นของตนเองเมื่อมาอยู่ในออสเตรเลีย แต่ขณะนี้กำลังมีโครงการใหม่ในเมลเบิร์น เพื่อช่วยเหลือพวกเธอให้ก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้นไปได้

Migrant businesswomen at the Casa Bonita Cultural and Empowerment Hub.

Migrant businesswomen at the Casa Bonita Cultural and Empowerment Hub. Source: SBS

บนถนนที่มีร้านค้าตั้งอยู่มากมายในย่านตะวันตกชั้นในของนครเมลเบิร์น ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งกำลังพยายามทำความฝันที่จะมีธุรกิจของตนเองให้เป็นความจริง

ที่ คาซา โบนิตา ศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมและการสร้างพลัง  ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางร้านรวงบนถนนในย่านเซดดอน (Seddon) นักธุรกิจหญิง 6 คน กำลังจับกลุ่มกันอยู่รอบโต๊ะที่มีเครื่องประดับสตรี เสื้อผ้าออกกำลังกาย และของแต่งบ้านวางอยู่เต็มไปหมด

พวกเธอกำลังหารือกันอย่างกระตือรือร้นว่า ผลิตภัณฑ์ใดที่จะนำไปจัดตกแต่งในตู้โชว์สินค้าหน้าร้านในช่วงก่อนเทศกาลวันแม่ของออสเตรเลีย และจะจัดวางอย่างไรให้ดึงดูดใจลูกค้า จากนั้น พวกเธอก็แสดงความเห็นกันอย่างมากมายว่า จะจัดผลิตภัณฑ์ลงกล่องหรือใส่ถุงให้ลูกค้าอย่างไรจึงดึงดูดใจได้มากที่สุดในลักษณะของขวัญ

ความร่วมมือกันของผู้หญิงกลุ่มดังกล่าว เป็นจุดประสงค์ที่วิสาหกิจทางสังคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้น รวมทั้ง เพื่อเป็นที่จัดแสดงสินค้าหัตถกรรมและเป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมลาตินอเมริกา ขณะที่ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานคนอื่นๆ ก็ได้รับเชิญให้ใช้พื้นที่นี้ทำงานและจำหน่ายสินค้าของตนด้วย

คุณ ลิเลียนา บราโว คีรอส รู้ดีว่า ยากลำบากเพียงไรที่จะก่อตั้งธุรกิจขึ้นได้ในประเทศใหม่ที่เพิ่งย้ายไปอยู่
Social entrepreneur Liliana Bravo Quiroz is supporting other migrant women to realise their business dreams.
Social entrepreneur Liliana Bravo Quiroz is supporting other migrant women to realise their business dreams. Source: SBS
เธอมาจากประเทศโคลอมเบีย และมาอยู่ในออสเตรเลียในฐานะนักเรียนต่างชาติ ก่อนจะอยู่ที่นี่ต่อ เนื่องจากอันตรายที่ประเทศบ้านเกิดของเธอ

คุณคีรอส ที่เป็นทั้งเจ้าของธุรกิจและแม่ผู้นี้ กล่าวว่า เธอต้องฝึกฝนอย่างมากกว่าจะมั่นใจพอที่จะพูดภาษาอังกฤษ พร้อมบอกว่า การสร้างเครือข่ายนั้นใช้เวลา และการไม่มีครอบครัวอยู่ใกล้ๆ ที่จะช่วยดูแลลูกๆ ให้ได้นั้น ท้าทายอย่างมาก เมื่อต้องพยายามทำหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน

เธอได้ก่อตั้ง โฮลา โบนิตา (Hola Bonita) ซึ่งเป็นแบบจำลองธุรกิจ ซึ่งมีร้านค้าเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานให้มีประสบการณ์ทางธุรกิจ ขณะที่ได้ปรับปรุงทักษะภาษาอังกฤษไปพร้อมกัน
“เราจำเป็นต้องสร้างโอกาสให้กับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์เลยในออสเตรเลีย เพราะพวกเธอมีพรสรรค์อย่างมาก” คุณคีรอส บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“พวกเธอสามารถก่อตั้งธุรกิจ ที่สามารถสนับสนุนผู้หญิงคนอื่นๆ ได้ ด้วยการสร้างงาน”

การเป็นพี่เลี้ยงอย่างมีความหมาย

โครงการนำร่องที่ศูนย์ดังกล่าว ได้ช่วยเป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนต่างชาติมาแล้ว 5 คน โดยช่วยให้พวกเธอได้มีประสบการณ์ทางธุรกิจโดยตรง รวมทั้ง การสอนเรื่องการทำธุรกิจออนไลน์ การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง การตกแต่งร้าน การจัดวางสินค้าให้ดึงดูดใจ และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

สิ่งเหล่านี้ได้ช่วยให้คุณเบรนดา กิล ผู้ร่วมโครงการชาวโคลอมเบีย มีความมั่นใจที่จะพัฒนาธุรกิจขายต้นไม้และกระถางต้นไม้ที่ทำด้วยมือ ในสวนด้านหลังของศูนย์ ซึ่งเรียกว่า เอล บอสเค โบตานิโก (El Boske Botanico)
Mentoring gave international student Brenda Gil the confidence to pursue her business idea.
Mentoring gave international student Brenda Gil the confidence to pursue her business idea. Source: SBS
“ฉันได้เรียนรู้ว่าจะก่อตั้งธุรกิจของตนเองได้อย่างไร จะบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างไร และเรื่องอื่นๆ ทุกอย่างที่จำเป็นต้องทำสำหรับธุรกิจ” คุณกิล กล่าว “ลิเลียนาสอนฉันในเรื่องเหล่านั้น”

“นั่นทำให้ฉันพร้อม เมื่อมีโอกาสให้ที่นี้ ให้ฉันได้ก่อตั้งธุรกิจของตนเอง”

คุณกิลกำลังเรียนการนวดเพื่อรักษา และหวังความในอนาคตจะสามารถนำทักษะด้านนี้ของเธอและความรักในธรรมชาติมารวมเป็นธุรกิจได้
การเช่าพื้นที่เล็กๆ ที่ค่าเช่าไม่แพงในศูนย์แห่งนี้ ยังได้ช่วยให้ ริดทิมา ซาชเดวา ที่เกิดในอินเดีย สามารถทดสอบตลาดเกี่ยวกับสินค้าของเธอได้ และช่วยให้เธอสามารถปรับธุรกิจให้เข้ากับตลาดในออสเตรเลีย ก่อนตัดสินใจหาพื้นที่ทำธุรกิจอย่างถาวร

“คุณจำเป็นต้องเข้าใจตลาด มันแตกต่างอย่างมากจากที่ที่คุณจากมา” คุณซาชเดวา เจ้าของธุรกิจ เฮเมรา แล็บ (Hemera Labs) ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์งานปักผ้าทำมือ กล่าว
Ridhima Sachdeva has business experience in Europe and India, but says she had to start from scratch in Australia.
Ridhima Sachdeva has business experience in Europe and India, but says she had to start from scratch in Australia. Source: SBS
คุณซาชเดวา เรียนการปักผ้ามาจากสถาบัน โรยัล สกูล ออฟ นีดเดิลเวิร์ก (Royal School of Needlework) ในกรุงลอนดอน และได้เคยก่อตั้งธุรกิจออกแบบรองเท้าในประเทศอังกฤษ เธอจึงเข้าใจดีถึงกระแสความนิยมของตลาดในยุโรปและเอเชีย แต่เมื่อย้ายมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อสองปีก่อน เธอตั้งเริ่มใหม่หมด
“ฉันไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐาน ระบบบัญชีเป็นอย่างไร ซึ่งความจริงมันแตกต่างอย่างมาก สุนทรียภาพด้านการออกแบบที่นี่ในออสเตรเลียเป็นอย่างไร”

“นั่นจึงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ฉันต้องค้นหาข้อมูล เมื่อฉันย้ายมาอยู่ที่นี่”

ผ่านการกิจกรรมและการสร้างเครือข่ายต่างๆ ที่ศูนย์แห่งนี้ เธอจึงได้เรียนรู้ว่า ผู้บริโภคชื่นชอบผ้าพันคอที่ทำจากผ้าไหมอย่างมาก ดังนั้น เธอจึงค่อยๆ เพิ่มผ้าพันคอผ้าไหมลงในคลังสินค้าเพื่อจำหน่ายของเธอ

อุปสรรคในการเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship)

ไม่แปลกที่ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยจะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ อุปสรรคด้านภาษาและการขาดเครือข่ายมักเป็นปัจจัยที่สำคัญ

นอกจากนี้ การขาดการยอมรับด้านคุณวุฒิจากต่างประเทศ รวมทั้ง มีประสบการณ์จำกัดด้านระบบการจัดเก็บภาษีและระบบบัญชีของออสเตรเลีย อีกทั้ง ระเบียบกฎเกณฑ์ของอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้สามารถส่งผลกระทบได้

การถูกเลือกปฏิบัติเพราะเชื้อชาติและศาสนา ยังสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

แต่เจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานมักก่อตั้งธุรกิจของตนเอง เพราะพวกเขาไม่สามารถหางานอื่นทั่วๆ ไปได้ จากรายงานด้านธุรกิจขนาดเล็กของผู้ย้ายถิ่นฐาน ของซีจียู (CGU's Migrant Small Business Report)

รศ.อะฟรีน ฮัค (Afreen Huq) จากโครงการปริญญาตรีด้านผู้ประกอบการทางธุรกิจ ของมหาวิทยาลัย อาร์เอ็มไอที กล่าวว่า “ความท้าทายที่ผู้ประกอบการที่เป็นหญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยต้องเผชิญนั้น แตกต่าง หรืออาจจะมากกว่าผู้ประกอบการผู้ย้ายที่มีภูมิหลังเดียวกัน”
RMIT Associate Professor Afreen Huq says female migrants starting businesses face different barriers to their male counterparts.
RMIT Associate Professor Afreen Huq says female migrants starting businesses face different barriers to their male counterparts. Source: SBS
“ผู้หญิงต้องรับสองบทบาทควบคู่กันไป เหมือนกับการยืนสองขาบนโลกสองใบ”

“พวกเธอนำความคาดหวังทางวัฒนธรรมและบรรทัดฐานเกี่ยวกับเพศชายและหญิงติดตัวมาด้วยตั้งแต่เกิดและเติบโตขึ้นมา และถูกคาดหวังให้ต้องปฏิบัติตาม”

สำหรับผู้หญิงบางคน “พวกเธอมีภาระของการเป็นผู้ดูแลหลักสำหรับลูกๆ และผู้สูงอายุ และขณะเดียวกัน ยังต้องช่วยเหลือครอบครัวด้วยการหารายได้เสริมด้วย”

การช่วยโอบอุ้มผู้มีความสามารถ

คุณลุซ เรสเทรโป ผู้ย้ายถิ่นฐานชาวโคลอมเบีย กำลังช่วยแก้ไขปัญหานี้ ระหว่างการล็อกดาวน์ช่วยการระบาดอย่างหนักของเชื้อโควิด-19 ในรัฐวิกตอเรียเมื่อปีที่แล้ว เธอได้ร่วมก่อตั้งวิสาหกิจทางสังคม ที่ใช้ชื่อโครงการว่า ไมแกรนต์ วีแมน อิน บิซิเนส (สตรีผู้ย้ายถิ่นในธุรกิจ )

“มีช่องว่างในตลาดสำหรับการสนับสนุนหญิงผู้ประกอบการที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานให้ก้าวหน้าและขยายธุรกิจของพวกเธอได้” คุณเรสเทรโป กล่าว

โครงการนี้เป็นกระบอกเสียงให้มีโอกาสมากขึ้นสำหรับหญิงผู้ย้ายถิ่นฐานในการก่อตั้งธุรกิจของตนเอง และช่วยให้พวกเธอสามารถทำความคิดริเริ่มที่มีให้เป็นจริงขึ้นมาได้
Co-founder of Migrant Women in Business Luz Restrepo at the family run business Trio Syrian Cuisine with refugees Joumana Charaf and Akram Abou Hamdan.
Co-founder of Migrant Women in Business Luz Restrepo at the family run business Trio Syrian Cuisine with refugees Joumana Charaf and Akram Abou Hamdan. Source: SBS
หนึ่งในความพยายามแรกๆ ของโครงการคือ การก่อตั้งตลาดออนไลน์ ที่ใช้ชื่อว่า เมด บาย แมนี แฮนด์ (Made by Many Hands) ซึ่งเป็นพื้นที่ขายสินค้าออนไลน์จากธุรกิจที่ดำเนินการโดยผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานโดยเฉพาะ

“มันได้รับการออกแบบมาให้ใช้ง่ายสำหรับผู้มีทักษะด้านดิจิทัลและทักษะด้านการอ่านเขียนจำกัด เพื่อให้พวกเธอสามารถจัดแสดงสินค้าและบริการของตนได้” คุณเรสเทรโป กล่าว

“เรายังได้มีบริการเฮล์ปเดสก์ (Helpdesk คือบริการตอบคำถามและแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ใช้งานระบบ) เพื่อช่วยให้ผู้หญิงเหล่านั้นสามารถดูแลร้านค้าออนไลน์ของตนเองได้”
ร้อยละ 85 ของรายได้จากการขายสินค้าจะไปยังผู้ขายทันที ส่วนที่เหลือร้อยละ 15 จะไปยังโครงการ ไมแกรนต์ วีแมน อิน บิซิเนส (สตรีผู้ย้ายถิ่นในธุรกิจ ) สำหรับการปรับปรุงแพลตฟอร์มออนไลน์

เมื่อตลาดออนไลน์แห่งนี้ตั้งตัวได้อย่างมั่นคงแล้ว กำไรจากแพลตฟอร์มจะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นทุนสำหรับโครงการพัฒนาทักษะต่างๆ และพัฒนาความสามารถในการอ่านเขียนและคิดเลข เพื่อช่วยให้ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐาน สามารถกลายเป็นผู้ประกอบการที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาใครได้

“พวกเราไม่ใช่ผู้ที่เปราะบาง” คุณเรสเทรโป กล่าว “พวกเราสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตได้ดี พวกเรากล้าหาญ มีไหวพริบ และชาญฉลาด ซึ่งพวกเราเพียงต้องการโอกาสเรียนรู้ เพื่อหาหนทางในสภาพแวดล้อมใหม่เท่านั้น”

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 26 April 2021 12:54pm
Updated 26 April 2021 2:55pm
By Phillippa Carisbrooke
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends