Feature

อาหารส่วนใหญ่ของ ‘เจมส์’ เก็บจากถังขยะ ว่าแต่การ ‘คุ้ยถังขยะ’ ผิดกฎหมายหรือไม่

วัยรุ่นจำนวนมากกำลังเผชิญความอดยากมากกว่าที่เคยเป็น และจำนวนหนึ่งเลือกวิธีการหาอาหารจากถังขยะแทน ท่ามกลางการตรวจสอบของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับราคาของชำ ว่าแต่การ‘คุ้ยถังขยะ’ หรือ ‘dumpster diving’ ผิดกฎหมายหรือไม่? ขึ้นอยู่กับอะไร?

A man with his face blurred, looking into a skip bin filled with food

Some are turning to dumpster diving as more young people are going hungry in Australia than ever before. Source: Getty

ทันทีที่เข็มนาฬิกาถึงเที่ยงคืน ขณะที่พวกเราส่วนใหญ่กำลังหลับไหล เจมส์ (นามสมมติ) เริ่มออกคุ้ยถังขยะหลังซูเปอร์มาร์เก็ตในย่านตะวันออกชั้นในของซิดนีย์

เขาคือ “นักคุ้ยถังขยะ” หรือ "dumpster diving" สิ่งที่เขาทำคือการกระโจนเข้าไปหาอาหารที่ถูกทิ้งหลังจากขายไม่ได้ เขาและแฟนสาวมักจะได้อาหารพร้อมทาน อาหารกระป๋อง ขนมปัง ผัก ผลไม้สด ช็อกโกแลต ซึ่งพวกมันถูกทิ้งโดยซูเปอร์มาร์เก็ต

เจมส์ในวัย 28ปี แทบจะไม่สามารถซื้อของชำและจ่ายบิลค่าโทรศัพท์ได้หลังจากจ่ายค่าเช่า 300 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ ในขณะเดียวกันที่หนี้สินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (HECS) เพิ่มอีก 4.8 เปอร์เซ็นต์ เขาระบุว่าปัจจุบันเขามีหนี้กู้ยืมเรียน 90,000 ดอลลาร์ที่ต้องจ่าย

ก่อนจะมาเริ่มคุ้ยถังขยะ เขาจะกันเงินเพื่อค่าอาหารที่ถูกที่สุด ตุนวัตถุดิบ อาทิ ถั่ว หรือยอมอดบางมื้อ

“ฉันเพิ่งติดนิสัยกินให้น้อยลง” เขากล่าว
Close up shot of pumpkins, sausages, bananas, coleslaw, burger buns and other food items all in their packages
ในบรรดาสิ่งที่ค้นพบ ได้แก่ กล้วย ฟักทอง ไส้กรอก และอาหารบรรจุกล่อง Credit: Simon Eden
นับตั้งแต่เริ่มคุ้ยถังขยะบ่อยขึ้นในช่วงหกสัปดาห์ที่ผ่านมา เขาพบว่าเขาสามารถประหยัดเงินค่าอาหารได้ประมาณ 50 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์จากสิ่งที่เขาเก็บได้จากถังขยะ

“เริ่มรู้สึกว่าถ้าอยากได้อาหาร ผมก็แค่ไปคุ้ยถังขยะ ที่ซึ่งสามารถพบอาหารดีๆ ในนั้น”
เขากล่าวด้วยว่าสินค้าส่วนใหญ่ที่เขาเก็บได้ยังอยู่ในสภาพที่ดี

“มากกว่า 50 เปอร์เซ็น ยังกินได้” เขากล่าว
ถ้ามันยังอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉันคงไม่กล้าซื้อมัน
เจมส์

หนุ่มสาวจำนวนมากกำลังเผชิญภาวะอดอยาก

ในรายงานปี 2023 ของ Foodbank หน่วยงานการกุศลที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้เช่าอาศัยกำลังเผชิญสภาวะอดอยากรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

เอียน แลง (Ian Laing ) ผู้จัดการทั่วไปที่ดูแลการกลยุทธ์ของ Foodbank กล่าวว่า รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง "การก้าวกระโดดครั้งใหญ่" ในความต้องการในบริการของพวกเขา

“ครึ่งหนึ่งของผู้เช่าอาศัยในออสเตรเลียกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการหาอาหาร ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันจำนวนดังกล่าวคือคนหนุ่มสาวที่โดยทั่วไปมีฐานะค่อนข้างดีในด้านรายได้ และนั่นเป็นสถิติที่น่าตกใจจริงๆ” แลงกล่าว

เขากล่าวว่าค่าครองชีพที่สูงขึ้น เช่น ค่าเช่า บิลต่างๆ ค่ายานพาหนะและค่าของชำ ต่างเป็นส่วนที่ทำให้คนหนุ่มสาวยอมที่จะอดอาหาร
beside a bin lies several cardboard boxes packed with packaged goods including cereal and chips
บ่อยครั้งพบอาหารถูกโยนทิ้งในบรรจุภัณฑ์เดิม Credit: Simon Eden

“เมื่อคุณเอาค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้มาวางทาบกับทุกส่วน เราจะพบข้อเท็จจริงบางอย่าง”

แลงกล่าวอีกว่า เขาไปตกใจหากผู้คนจะหันไปคุ้ยถังขยะเพื่อตอบโจทย์ทั้งหมดที่ว่ามา
“ผมคิดว่าในภาพความเป็นจริง ผู้คนที่กำลังเผชิญกับความยากลำบาก ผู้คนที่ต้องคิดว่าอาหารมื้อถัดไปจะเอาจากไหน ผู้คนที่กำลังทนทุกข์ สิ่งเหล่านี้ต่างนำพาผู้คนไปสู่การต้องทำอะไรสักอย่าง ที่มันจำเป็นต้องทำ”

ในรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่ากลุ่มคนที่เผชิญกับความอดยากเป็นครั้งแรก กำลังเพิ่มขึ้นในหมู่คนวัยหนุ่มสาว พบว่าราว 81 เปอร์เซ็นต์อายุต่ำกว่า 45 ปี

“ครัวเรือนจำนวนมากกำลังเผชิญหน้ากับการตัดสินใจที่สุดเลวร้ายว่าอะไรและเมื่อไหร่ที่พวกเขาจะกิน และยังรวมถึงการลดปริมาณอาหารที่พวกเขากินลงอีกด้วย” แลงกล่าว
“ผู้คนกำลังเลือกวิธีอดหารบางมื้อ หรือบางคนอาจหนักถึงการเลือกไม่กินอะไรเลยตลอดทั้งวัน”

“มันเป็นเรื่องที่ชวนใจสลายมากๆ สำหรับครัวเรือนจำนวนมากเพราะพวกเขากำลังเผชิญกับความลำบากอย่างมากในการหาอาหารที่เพียงพอสำหรับสมาชิกทุกคนในบ้าน”

ในรายงาน Foodbank ระบุว่า หนึ่งในสามของผู้ที่จ่ายเงินผ่อนบ้าน กำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบากในการหาอาหารให้เพียงพอ

คณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (Australian Competition and Consumer Commission) ได้สำรวจผู้คน 21,481 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนเกี่ยวกับซูเปอร์มาร์เก็ตที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งพบว่าคนหนุ่มสาวชาวออสเตรเลียและครัวเรือนที่มีรายได้น้อย "จำนวนมาก" ใช้จ่ายมากถึง "หนึ่งในสี่ของรายได้สุทธิกับการซื้อของชำ"

คณะกรรมการวุฒิสภากำลังดำเนินการสอบสวนราคาซูเปอร์มาร์เก็ต โดยจะรายงานขั้นสุดท้ายในวันที่ 7 พฤษภาคม
That’s really heartbreaking for lots of households because they're just struggling to get enough on the table to feed all of the members of the household.
Ian Laing, Foodbank

ทำไมอาหารจำนวนมากถูกทิ้งขว้าง?

ประเทศออสเตรเลียมีข้อกำหนดเฉพาะที่กำลังช่วงเวลาที่อาหารนั้นๆ สามารถกินได้ และกินไม่ได้

องค์กรด้านมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia and New Zealand )ระบุไว้ว่า อาหารที่มีการกำหนดว่า วันที่ใช้ได้ (use-by date) ไม่สามารถกินได้เมื่อถึงวันที่กำหนด และมันจะผิดกฎหมายหากมีการขายหลังจากวันที่กำหนดบนฉลาก เนื่องจากมันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

Food Standards กล่าวในแถลงการณ์ว่าภายใต้ข้อปฏิบัติด้านมาตรฐานอาหาแห่งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารจำเป็นต้องผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยและเหมาะสมในการบริโภค และจำเป็นต้อง"ทำให้แน่ใจว่าเศษอาหารไม่สะสมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากพื้นที่ทิ้งขยะในสถานที่"
food_waste_inforgraphic_v03___1_.jpg
Source: SBS
ขณะที่ อาหารที่ระบุว่า ควรบริโภคก่อน (best-before) นั้นสามารถบริโภคได้ปลอดภัยแม้จะเลยวันที่กำหนดกว่าอาหารที่ระบุ วันที่ใช้ได้ (use-by date) อย่างไรก็ดีคุณภาพของอาหารนั้นอาจลดลง

อาหารที่ใช้ฉลาก ควรบริโภคก่อน (best-before) สามารถขายได้อย่างถูกกฎหมายหลังจากวันที่กำหนด ตราบเท่าที่อาหารชิ้นนั้นยัง “เหมาะที่จะบริโภคโดยมนุษย์”

ขยะจากครัวเรือนออสเตรเลียนั้นกว่า 7.6 ล้านตันเป็นขยะจากอาหาร คิดเป็นเงินราว 19.3 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี อ้างอิงจากรายงานของสถาบันออสเตรเลีย (Australia Institute) เมื่อปีที่แล้ว โดยระบุว่าจากจำนวนดังกล่าวสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 ถึง 2,500 ดอลลาร์ต่อครัวเรือน
Discarded green vegetables
รายงานของสถาบันในออสเตรเลียเปิดเผยว่าประเทศนี้ทิ้งอาหารไป 7.6 ล้านตันทุกปี Source: SBS / The Feed

กำไรของผู้ค้าปลีกจาก “ขยะอาหาร” (food waste)

รายงานดังกล่าวระบุว่า ผู้ค้าปลีกรายใหญ่อย่าง Coles และ Woolworths มีแรงจูงใจที่แข็งแกร่งในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ช่วยลดขยะอาหาร เช่น การนำฉลากควรบริโภคก่อนออกจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้

“อ้างอิงจากค่าเฉลี่ยของกำไรของอุตสาหกรรม ผู้ค้าปลีกอาหารทำเงินราว 1.2 พันล้านดอลลาร์จากขยะเหล่านี้” รายงานระบุ

“ไม่ว่าอาหารนั้นจะถูกบริโภคหรือไม่ก็ตามก็ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่ซูเปอร์มาร์เก็ตกังวล การปฏิรูปเพื่อลดปริมาณอาหารที่ผู้คนซื้อและที่กลายเป็นขยะต่างหากที่จะทำให้กำไรของพวกเขาลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
การสำรวจความคิดเห็นสำหรับรายงานฉบับนี้พบว่าชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่สนับสนุนการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อลดขยะอาหาร "การสนับสนุนอย่างล้นหลาม (ร้อยละ 78) สำหรับการปฏิรูปฉลากก่อนใช้และควรบริโภคก่อน และร้อยละ 72 สนับสนุนมาตรฐานเครื่องสำอางที่ผ่อนคลายลง".

The Feed ได้รับแถลงการณ์จากทั้ง Coles และ Woolworths แต่ละบริษัทกล่าวว่า พวกเขาได้ร่วมมือกับองค์กรที่ดูแลด้านอาหารเพื่อช่วยรับเอาอาหารที่ขายไม่ได้แต่ปลอดภัยที่จะบริโภคไปใช้ต่อ

Coles กล่าวว่าทุกสาขา "มีวิธีแก้ปัญหาการสิ้นเปลืองอาหาร” ส่วนทางด้าน Woolworths ระบุว่าพวกเขาทำงานอย่างหนักเพื่อลดขยะอาหารถือเป็น "การทำธุรกิจที่ดีเช่นกัน"

ในปี 2017 รัฐบาลออสเตรเลียได้เปิดตัวแผนยุทธศาสตร์ขยะอาหารแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการลดขยะอาหารของออสเตรเลียลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 แผนดังกล่าวระบุว่าสาเหตุหนึ่งของการเกิดขยะอาหารคือ "ความสับสน" เกี่ยวกับวันที่ควรบริโภคและวันหมดอายุ

การคุ้ยถังขยะ ผิดกฎหมายหรือไม่?

อธิบายอย่างง่าย เรื่องนี้ยังคงเป็นอะไรที่ “เทาๆ” ในข้อกฎหมาย ขึ้นอยู่กับว่ารัฐนั้น พื้นที่เป็นอย่างไร หรือแม้แต่ประเภทของถังขยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญา แอนดรูว์ เทียดท์ (Andrew Tiedt) มาอธิบายเรื่องนี้

“มันมีสถานการณ์ที่ชัดเจนบางอย่างที่พฤติกรรมดังกล่าวจะผิดกฎหมายอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คุณต้องเข้าไปในพื้นที่ส่วนบุคคลเพื่อเข้าถึงถังขยะ” เทียดท์กล่าว

ภายใต้กฎหมายอาญา สิ่งนี้จะถือเป็น "การบุกรุก" แต่มีข้อยกเว้นอยู่
“อย่างไรก็ตาม เมื่อถังขยะใกล้จะถึงเวลาเก็บแล้ว อย่างน้อยที่สุดตรงนั้นก็คือพื้นที่สีเทา”

“มันขึ้นอยู่กับโดยเฉพาะว่าเป็นถังขยะประเภทไหน ไม่ว่าจะเป็นถังขยะของสภาหรือถังขยะส่วนตัว แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นถังขยะของใครและมีไว้สำหรับอะไร”

สภาทั่วประเทศออสเตรเลียมีกฎหมายที่แตกต่างกัน และ เทียดท์ ชี้ให้เห็นว่ามีถังขยะบนที่ดินของสภาและที่ดินส่วนบุคคลของรัฐ ซึ่งทำให้สิ่งต่างๆ มีความซับซ้อน

“ถ้าคุณเข้าไปในพื้นที่ด้านหลังของ Woolworths และคุณไม่มี 'ใบอนุญาต' ที่จะอยู่ที่นั่น เหมือนกับที่คุณทำถ้าคุณไปช้อปปิ้งจากทางด้านหน้า หมายความว่า คุณกำลังบุกรุก และนั่นผิดกฎหมาย”

ค้าขาย “ขยะ”

ขณะที่อาหารคือสิ่งหลักสำหรับเจมส์ แต่ไซมอน เอเดน วัย 61 ปี ซึ่งอาศัยที่ Adelaide อ้างว่าเขาพบสิ่งของมูลค่าสูงมากมาย รวมถึงสมาร์ททีวี 9 เครื่องที่ยังใช้งานได้ดีจากการคุ้ยถังขยะ
A man smiles in a hat and t shirt that reads "best dumpster diver ever" while holding a thumbs up on a busy street during the day
Simon Eden คุ้ยถังขยะมากกว่า 40 ปี. Credit: Simon Eden
“บ้านของผมเต็มไปด้วยของที่คุ้ยมาจากถังขยะ ผมเริ่มขายมันผ่านมาอีเบย์”

“บริษัทรวยๆ คิดแล้วคิดอีกที่จะรีไซเคิลสินค้าเหล่านั้น พวกเขาเลยเลือกที่จะทิ้งมัน”

ขณะที่เอเดนภูมิใจกับสิ่งที่เขากำลังทำ นักคุ้ยถังขยะคนอื่นๆ กล่าวในเฟซบุ๊กกรุ๊ปว่าพวกเขารู้สึกอายที่จะพูดถึงสิ่งที่พวกเขาทำในช่วงการออกเดต
Two large TVs unplugged with a cable dangling outside a blue bin skip titled "general waste"
นอกจากอาหารแล้ว Eden ยังพบเสื้อผ้าและโทรทัศน์หลายเครื่องจากการถังขยะอีกด้วย Credit: Simon Eden
หนึ่งในผู้ใช้งานเขียนไว้ว่า “รู้สึกอายกับสิ่งที่กำลังทำ ฉันรักการคุ้ยถังขยะ แต่ฉันเกลียดภาพลักษณ์ที่ออกไป”

อย่างไรก็ตาม หลายคนชื่นชมนักคุ้ยถังขยะ โดยยกว่านี่คือการกระทำที่ส่งผลบวกต่อสิ่งแวดล้อม
“ฉันเคยรู้สึกอายที่จะยอมรับมัน จนกระทั่งฉันพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของสิ่งของในบ้านที่ถูกชมโดยแขกเรือนนั้นมาจากถังขยะ ปัจจุบันฉันชอบบอกผู้คนว่าฉันได้ช่วยสิ่งของแทนที่มันจะจบลงที่หลุมฝังกลบใต้ดิน” หนึ่งในผู้ที่มาคอมเมนต์ใต้โพสต์

Share
Published 1 May 2024 1:17pm
By Matt Gazy
Presented by Warich Noochouy
Source: SBS


Share this with family and friends