นี่คือสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับ ‘long COVID’ ทั้งอาการและการรักษา

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า อาการ ‘ลอง โควิด’ (long COVID) หรือโควิดระยะยาว หรืออาการหลังป่วยจากโควิด-19 มักเกิดขึ้นในบุคคลที่สงสัยว่าติดเชื้อหรือได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ SARS CoV-2 หลังอาการจากการติดเชื้อผ่านพ้นไปแล้ว 3 เดือน

A Person with Long Covid Symptoms

Pastor Ben Thomas got COVID-19 early at the start of the pandemic. He's still suffering with breathing and heart problems two years later. Source: Getty Images/Alejandra Villa Loarca/Newsday RM

การศึกษาวิจัย ที่องค์การอนามัยโลกจัดให้ทำนั้น กล่าวอ้างว่า อาการ ‘ลองโควิด’ (long COVID) หรือโควิดระยะยาว อาจกินเวลายาวนานอย่างน้อยสองเดือน และอาการนี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่นๆ

“อาการทั่วไปของ ‘ลองโควิด’ (โควิด-19 ระยะยาว) ได้แก่ ความเหนื่อยล้า การหายใจไม่อิ่ม และมีภาวะความรู้คิดบกพร่อง” รายงานระบุ

“อาการอาจกำเริบขึ้นใหม่ หลังการฟื้นตัวครั้งแรกจากอาการโควิด-19 เฉียบพลัน หรือเกิดต่อเนื่องจากกอาการป่วยครั้งแรก อาการอาจผันผวนขึ้นๆ ลงๆ หรือกำเริบขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป” เอกสารดังกล่าว ระบุ
Clinic for Post-Covid Sufferers
Long-covid patient Jörg Schneider does breathing training in a gymnastics room at the Teutoburger Wald Clinic in Germany. Source: Friso Gentsch/picture alliance via Getty Images
 ซึ่งการศึกษาวิจัยที่คิดคำจำกัดความทางคลินิกนี้ขึ้น ระบุว่าอายุที่มากและเพศสภาพ เป็นปัจจัยในการเกิดอาการ ‘ลองโควิด’ (โควิดระยะยาว) โดยผู้หญิงรายงานถึงปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังมากกว่าผู้ชาย

ไม่มีการประมาณการที่แน่ชัดเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยด้วยอาการโควิดระยะยาว

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษใช้ข้อมูลการสำรวจการติดเชื้อโควิด-19 ในท้องถิ่น เพื่อรายงานว่ามีผู้คน 1.5 ล้านคนกำลังพบกับปัญหาอาการโควิดระยะยาว จากการรายงานเข้ามาด้วยตนเอง โดยเป็นข้อมูลของวันที่ 31 มกราคม 2022

การศึกษาวิจัยโครงการหนึ่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์พบว่า ราวร้อยละ 5 ของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 มีอาการของ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาว

อาการของ ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาว ตามที่ระบุโดยกระทรวงสาธารณสุขของรัฐวิกตอเรีย ระบุว่า อาจรวมถึงอาการต่อไปนี้ คือ:

  • การหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจถี่ๆ
  • ไอ
  • เมื่อยล้า/หมดแรง
  • มีปัญหาในการใช้สมาธิ/ความจำ
  • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ – ความวิตกกังวล, ซึมเศร้า, ความเครียด, ความรู้สึกผิด
  • สูญเสียการรับรู้กลิ่นหรือรส
  • ปวดหัว
  • ปัญหาการนอนหลับ
  • หัวใจเต้นแรง/ใจสั่น/หัวใจเต้นเร็ว/เจ็บหน้าอก
  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ
A protester holds up a placard demanding research and an end to Long Covid-19 during ademonstration.
A protest group in Parliament Square, London in March 2022 demands the government invest into researching Long Covid-19. Source: AAP/Martin Pope/SOPA Images/Sipa USA
สถาบันสุขภาพและสวัสดิการแห่งออสเตรเลียกำลังดำเนินโครงการเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ในระดับประเทศกับข้อมูลด้านการบริหารจัดการ โดยคาดว่าจะสามารถช่วยให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาการของ ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาวได้

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ยังได้รับทุนวิจัยสำหรับการศึกษาวิจัย 2 โครงการที่เป็นแยกจากกัน ซึ่งจะทำการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส และผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นต่อเซลล์สมอง

ราชวิทยาลัยแพทย์ทั่วไปแห่งออสเตรเลีย (Royal Australian College of General Practitioners หรือ RACGP) ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติจำนวนหนึ่งสำหรับแพทย์ทั่วไป (GP) ในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการป่วยหลังการติดเชื้อโควิดผ่านพ้นไปแล้ว

RACGP ได้เผยแพร่คู่มือสำหรับผู้ป่วยในการจัดการความเหนื่อยล้าและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการโควิดระยะยาว

แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะยังหาความเห็นชอบร่วมกันไม่ได้ว่ามีผู้คนจำนวนเท่าไรที่ได้รับผลกระทบและการวิจัยก็เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น แต่ก็มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าอาการ ‘ลองโควิด’ หรือโควิดระยะยาว จะเป็นปัญหาต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า แม้ว่าการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงก็ตาม

หากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ ให้โทรศัพท์ติดต่อบริการฉุกเฉินที่หมายเลข 000 ทันที และบอกเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ว่าคุณเคยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ก่อนหน้านี้

  • หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจถี่ๆ อย่างรุนแรง หรือหายใจลำบาก
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • มีอาการเป็นไข้เกิดขึ้นใหม่หรือไข้กลับมา
  • ความสามารถในการใช้สมาธิแย่ลงและรู้สึกสับสนเพิ่มขึ้น
  • ตื่นยาก
หากคุณพบอาการอื่นๆ หลังจากหายจากฟื้นตัวจากโควิก-19 แล้ว โปรดติดต่อแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือติดต่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพอื่นๆ (ที่มาของข้อมูล: Healthdirect)


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดต่อสอบถามบริการสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 13 May 2022 2:16pm
Updated 13 May 2022 2:18pm
By Massimiliano Gugole
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends