ห้าวิธีแก้ปวดประจำเดือนของผู้หญิงสมัยก่อน

การปวดประจำเดือนนั้นมีมาควบคู่กับการสืบพันธุ์ของมนุษยชาติ ต่อไปนี้เป็นวิธีแก้ปวดประจำเดือนซึ่งผู้หญิงเคยใช้ก่อนจะมี ดร. กูเกิล หรือหยูกยาสมัยใหม่ที่เราสามารถหาซื้อได้

Image of a woman reclining on a couch

Source: Image obtained by SBS Life

 

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full version of this story in English on SBS Life .

บทความนี้เป็นการให้ความรู้ทั่วไปเท่านั้น และไม่ได้แนะนำหรือรับรองวิธีการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น บทความนี้ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของท่านได้

การปวดประจำเดือนเป็นสาเหตุความทุกข์กายของสตรีนับล้านคนทั่วโลก และเป็นสิ่งที่ผู้หญิงประสบควบคู่มากับการสืบพันธุ์ของมนุษยชาติ

แต่เมื่อสมัยก่อนที่ยังไม่มี ดร. กูเกิลหรือยาไอบูโพรเฟนสำหรับการปวดประจำเดือน (ซึ่งชื่อทางการแพทย์เรียกว่าดิสเมโนร์เรีย dysmenorrhea) ก็มักจะมีการใช้วิธีบรรเทาแบบดั้งเดิม ซึ่งก็รวมไปถึงหยูกยาแบบโบร่ำโบราณต่างๆ

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนของวิธีการที่ผู้หญิงใช้รักษาการปวดประจำเดือน ก่อนยุคการแพทย์แผนตะวันตก

1. ใช้เลือดประจำเดือน

สำหรับวัฒนธรรมโบราณหลายๆ แห่ง เลือดประจำเดือนนั้นนับว่าเป็น ซึ่งเชื่อมโยงกับดวงจันทร์ หากอ้างอิงจาก เทพีผู้เป็นมารดาคนหนึ่งในวัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย จะเสกให้เกิดการปฏิสนธิด้วยการนำตุ๊กตาปั้นดินเผามาทาด้วยเลือดประจำเดือน

แม้ว่าเรื่องเล่านี้อาจฟังดูสุดโต่ง ก็ยังคงมีผู้ปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวนี้ ด้วยการนำเลือดประจำเดือนมาทาลงบนร่างกายของตัวเอง โดยคุณสามารถรับชมได้ทาง ‘ยาจริงหรือความเชื่อ’ (Medicine or Myth) ซีรีส์ใหม่ของเอสบีเอส

คุณยาสมินา สาววัย 26 ปี ผู้ปรากฏตัวในตอนแรกของซีรีส์นี้กล่าวว่า เธอปฏิบัติตามวิธีการรักษามดลูกตามความเชื่อแบบชามาน (Shamanic womb healing ritual) และใช้เลือดประจำเดือนของเธอเองเพื่อลดการปวดประจำเดือน

“ทุกๆ เดือน ดิฉันจะจัดพื้นที่สำหรับพิธีทำสมาธิ และฉันก็จะใช้เลือด[ประจำเดือน]เพื่อเชื่อมจิตเข้าสู่สมาธิ อาจจะด้วยวิธีหยดลงบนมือของดิฉัน หรือทำการประพรมลงบนดวงตาที่สามของฉัน[ระบายเลือดบนใบหน้า]” คุณยาสมินาเผยกับเอสบีเอส

“หลังจากนั้นฉันก็จะเอามือข้างหนึ่งของฉันมาทาบลงบนหัวใจ อีกข้างหนึ่งทาบลงบนมดลูก เพื่อเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ส่วนต่างๆ นั้นเข้าด้วยกัน แล้วก็สูดลมหายใจเข้าสู่ร่างกาย”

คุณยาสมินายืนยันว่า พิธีดังกล่าวช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งของเธอ ทว่าพิธีกรรมแบบชาร์มานนี้ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนและก็ไม่ได้รับความสนใจมากเท่าใดนักจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

2. การนวดแบบมิซาน

มิซาน (Mizan) เป็นคำภาษาอาหรับซึ่งแปลว่า ‘สมดุล’ ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นการทำตามอย่าง ซึ่งเชื่อมโยงไปได้ถึงวัฒนธรรมอาหรับ โมรอกโก และแอฟริกาใต้ ซึ่งใช้เทคนิกของการนวดท้องน้อย เพื่อรักษาสมดุลของมดลูก

คุณนาซีมา ฮาฟเฟอจี เป็นนักบำบัดแบบมิซานและผู้ประกอบการแพทย์แผนจีนโบราณ เธอกล่าวว่า การนวดแบบมิซานนั้นอาจช่วยรักษาอาการปวดเกร็งได้ หากว่ามดลูกของคุณนั้นอยู่ผิดตำแหน่ง

“ผลที่เกิดตามมาก็คือคุณจะปวดประจำเดือน เพราะว่าเลือดนั้นไม่ได้ไหลอย่างที่ควร” คุณฮาฟเฟอจีกล่าวกับเอสบีเอส “เมื่อคุณนวดบริเวณท้องน้อย คุณก็จะทำให้ออกซิเจนไปถึงบริเวณนั้นด้วย และที่ใดที่มีออกซิเจนก็จะเกิดการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นใหม่”

3. การรมด้วยกล่องมอกซา

มอกซิบัสชัน (moxibustion) เป็นวิธีรักษาการปวดประจำเดือนที่ได้รับความนิยมสูง โดยมีที่มาจากวงการแพทย์แผนจีนโบราณ วิธีการนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ในการแพทย์แผนจีนโบราณ โดยจะทำด้วยการเผาแท่งมักเวิรท (mugwort) ตากแห้งที่เรียกกันว่ามอกซา (moxa) แล้วก็นำไปวนๆ บริเวณเชิงกรานของผู้หญิง โดยแท่งมอกซานั้นสามารถนำไปวางไว้ในกล่องที่ทำจากไม้มอกซาก่อนก็ได้ แต่ผู้ประกอบการบางรายก็จะใช้เพียงแท่งมอกซาโดดๆ เท่านั้น

แนวคิดเบื้องหลังพิธีกรรมนี้ก็คือการให้ความร้อนจากแท่งมอกซากระตุ้นให้เลือดไหลเวียนขึ้นมาที่ผิวหนังด้านหน้าเพื่อบรรเทาอาการปวดเกร็ง

พบว่าการรักษาด้วยวิธีมอกซิบัสชันโดยใช้กล่องให้ความร้อนนั้น มีประสิทธิผลในการบรรเทาการปวดประจำเดือนและอาการอื่นๆ เนื่องจากมีการใช้ความร้อนเข้ากระตุ้น อย่างไรก็ตามยังจำเป็นจะต้องมีการศึกษาคนคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนจีนโบราณดังกล่าวนี้

4. วารีบำบัด

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่  และผู้สมัครเข้าเรียนระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยยูทีเอส คุณรีเบคกา รีด กล่าวกับเอสบีเอสว่า วารีบำบัดนั้นเป็นวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศเยอรมนี

คุณรีดกล่าวว่า “นั้นมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานในยุโรป” โดยเธอเป็นนักวิจัยจากโครงการ  International Naturopathy Research Leadership Program ที่มหาวิทยาลัย UTS

“วิธีการนั่งแช่น้ำนั้นจะใช้อ่างขนาดประมาณอ่างอาบน้ำทารก คุณนั่งลงไปแล้วก็เติมน้ำอุ่นจนถึงระดับสะโพก”

น้ำที่ระดับตื้นๆ นั้นจะทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บ (perineum) ของคุณ และส่งผลต่ออาการปวดประจำเดือนของคุณด้วยวิธีคล้ายคลึงกับกล่องมอกซา: “มัยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดขึ้นสู่ผิวหนังด้วยการให้ความร้อนกับบริเวณเชิงกราน”

คุณรีดกล่าวว่า ที่ประเทศออสเตรเลีย แพทย์อาจแนะนำให้คุณแช่น้ำร้อนผสมเกลือเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อไม่ว่าจะจากสาเหตุใดก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะแช่ตามแบบแผนโบราณ ก็จะสามารถหาชุดอุปกรณ์สำหรับนั่งแช่ที่เรียกว่าซิตซ์บาธ (sitz bath kits) ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับโถส้วมได้ จากร้านขายยาบางแห่ง

5. ยาสมุนไพร

การรักษาแผนธรรมชาติบำบัดและโฮมีโอพาธี แนะนำให้ใช้สมุนไพรหลากหลายชนิดสำหรับการปวดประจำเดือน โดยมีพื้นฐานมาจากความรู้โบราณดั้งเดิมเกี่ยวกับสมุนไพร

คุณรีดอธิบายว่าสมุนไพร แบล็กโคฮอช (black cohosh) นั้นมักจะใช้กันเพื่อรักษาอาการหมดประจำเดือนในผู้หญิง

 (Chaste tree หรือ Vitex angus-cactus) ก็เป็นที่แนะนำกันโดยทั่วไปเช่นเดียวกัน โดยสารสกัดจากพืชแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดังกล่าวนั้น ว่ากันว่าจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ โดยคุณรีดกล่าวว่า “มันช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ ได้แก่เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน และลดฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งกำหนดรอบประจำเดือนของผู้หญิง”
ยารักษาทางเลือกต่างๆ นั้นเป็นเพียงความเชื่อหรือว่าจะมีโอกาสที่จะอยู่ควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน? รายการ ‘เมดิซินออร์มิธ?’ ติดตามชาวออสเตรเลียทั่วๆ ไปซึ่งมานำเสนอวิธีการรักษาต่างๆ อันหลายหลายและบ้างครั้งก็เป็นที่โต้แย้ง ต่อหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญซึ่งนำโดย ดร. ชาร์ลี โต๊ะ ด้วยความหวังที่จะได้รับคัดเลือกให้ถูกนำไปทดลอง(ทางวิทยาศาสตร์)อย่างจริงจัง

#Medicineormyth เป็นซีรีส์ความยาวแปดสัปดาห์ที่จะเริ่มออกอากาศในวันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม เวลา 20.30 น. ทางเอสบีเอส และเอสบีเอสออนดีมานด์

Share
Published 22 May 2019 1:43pm
Updated 22 May 2019 11:02pm
By Yasmin Noone
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Life


Share this with family and friends