ออสฯ สั่งแล้ว ยาเม็ดรักษาโควิด ‘โมลนูพิราเวียร์’

ออสเตรเลียสั่งแล้ว 3 แสนโดส ยาเม็ดแคปซูลต้านเชื้อโควิด ‘โมลนูพิราเวียร์’ งานวิจัยพบลดโอกาสเสียชีวิต-รักษาพยาบาลถึง 50%

An experimental drug for severe COVID-19 cuts the risk of hospitalisation or death by about half, interim clinical trial results suggest.

Source: AAP

ประเด็นสำคัญ

  • รัฐบาลออสเตรเลียสั่งซื้อยา ‘โมลนูพิราเวียร์’ ยาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดบรรจุแคปซูลสำหรับรับประทานจำนวน 3 แสนโดส คาดประชาชนเข้าถึงได้ต้นปี 2022
  • นอกจากวัคซีนโควิดแล้ว ออสเตรเลียยังมีโซโทรวีแมบ (Sotrovimab) และเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) การรักษาแบบแอนตีบอดีสำหรับผู้ป่วยโควิด แต่มีความยุ่งยากเพราะต้องฉีดผ่านสารละลายทางเส้นเลือดดำ โมลนูพิราเวียร์ มีจุดเด่นที่รับประทานได้ และไม่ต้องแช่เย็น
  • นักวิทย์ฯ เตือนเชื้อจะยังคงอยู่แม้ทั้งโลกฉีดวัคซีนแล้ว เพราะยังไม่มีวัคซีนใดป้องกันเชื้อระบาดได้ 100% ชี้ควรหาวิธีการรักษาที่แตกต่าง เพื่อรับมือกับเชื้อโควิดหลากหลายสายพันธุ์

(6 ต.ค.) ออสเตรเลียได้สั่งซื้อยา โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) จำนวน 300,000 โดส ซึ่งยาดังกล่าวคือยาต้านไวรัสชนิดบรรจุแคปซูลที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิต และการเข้ารักษาในโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึงร้อยละ 50

ตัวยาดังกล่าวได้รับการพัฒนาและผลิตโดย บริษัท เมอร์ค ชาร์ป แอนด์ โดห์ม (Merck Sharp & Dohme) ซึ่งเป็นบริษัทยาสัญชาติอเมริกัน ที่กำลังอยู่ในช่วงท้ายของการทดลองทางคลินิก
วัคซีนโควิด และการรักษาใหม่ในลักษณะนี้ จะช่วยเสริมกำลังของแผนเปิดเมืองระดับชาติ ในการเปิดออสเตรเลียได้อีกครั้ง และยังคงเปิดอยู่เช่นนั้นได้อย่างปลอดภัย นายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าว
“ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนของเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรายังคงลงทุนและจับตาอย่างการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และเรากำลังรักษาสิทธิ์การเข้าถึงวิธีการรักษาใหม่ที่มีความหวังนี้”

โมลนูพีราเวียร์ (Molnupiravir) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการรักษาลำดับแรก สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง

ก่อนหน้านี้ บริษัทผู้ผลิตยาดังกล่าวได้ประกาศผลการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า การรักษาด้วยตัวยานี้ลดอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ได้ประมาณร้อยละ 50

โดยคาดว่า ประชาชนในออสเตรเลียจะสามารถเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ได้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 เป็นต้นไป เมื่อตัวยานี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของออสเตรเลีย (ทีจีเอ)

‘วิธีที่ง่ายดายในการช่วยเหลือผู้คน’

ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้ใช้ตัวยาอย่างโซโทรวีแมบ (Sotrovimab) และเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นยาฉีด ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้ว แต่ความแตกต่างของโมลนูพิราเวียร์นั้น คือตัวยานี้เป็นลักษณะยาเม็ดบรรจุแคปซูลที่ให้ผู้ป่วยโควิด-19 วัยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 เวลาเป็นเวลา 5 วัน

นอกจากนี้ โมลนูพิราเวียร์ สามารถเก็บได้โดยไม่ต้องแช่เย็น ทำให้ประชาชนธรรมดาและผู้ที่อยู่ในสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง สามารถใช้ยาดังกล่าวได้
ด้วยตัวยาที่เป็นชนิดเม็ด แน่นอนว่านั่นหมายถึงวิธีที่ง่ายดายในการช่วยเหลือผู้คน ยานี้จะสามารถเข้าถึงได้บนพื้นฐานความต้องการทั่วออสเตรเลีย นายเกร็ก ฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าวต่อผู้สื่อข่าวเมื่อวันจันทร์ (4 ต.ค.)
ขณะเดียวกัน ออสเตรเลียก็ได้รับยาโซโทรวิแมบ (sotrovimab) เพิ่มอีกจำนวน 15,000 โดส ซึ่งตัวยาดังกล่าวเป็นการรักษาโควิด-19 ชนิดแอนติบอดีที่ฉีดผ่านสารละลายทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 5 วัน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการ เพื่อยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสขยายพันธุ์ภายในร่างกาย โดยคาดว่าจะมีสต็อกยาโซโทรวิแมบในออสเตรเลียมากกว่า 30,000 โดสภายในปีนี้
Minister for Health Greg Hunt
Federal Health Minister Greg Hunt. Source: AAP
ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถลดการเข้ารักษาพยาบาล และการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรง

“มันจะช่วยกระตุ้นร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน ในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยในหลายกรณี มันจะหมายถึงความแตกต่างระหว่างการเข้าหรือไม่ต้องเข้ารักษาพยาบาล เข้าหรือไม่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู และในบางกรณีมันจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้” นายฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าว

ต้องมีทางเลือกในการรักษา เพื่อรับมือกับไวรัสต่างสายพันธุ์

ขณะที่วัคซีนนั้นยังคงเป็นหนทางหลักในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 แต่ ศาสตราจารย์เอดเรียน เอสเตอร์แมน (Adrian Esterman) นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการค้นหาวิธีการรักษาใหม่ ๆ

“นับตั้งแต่การแพร่ระบาดใหญ่เริ่มต้น ยังไม่มีการเน้นการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการรักษาใหม่ๆ มากนัก” ศาสตราจารย์เอดเรียน กล่าว

“และถึงแม้ประชากร 100% จะได้รับการฉีดวัคซีนจนครบโดสแล้ว มันก็จะยังคงมีไวรัสแพร่กระจายอยู่ เนื่องจากไม่มีวัคซีนชนิดใดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดได้ 100% 

แต่ในขณะเดียวกัน การทำให้แน่ใจว่าผู้คนทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนจนครบโดส จะสามารถลดความรุนแรงของโรคระบาด และความต้องการในการรักษาลงไปได้เป็นอย่างมาก

“มันยังเร็วไปสำหรับหนทางการรักษา และเรายังคงรอให้การทดลองจำนวนมากให้แล้วเสร็จ เพื่อดูว่ามีการรักษาในรูปแบบอื่นที่มีประโยชน์ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19ศาสตราจารย์เอสเตอร์แมน กล่าว

“ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เราจะพบกับการพัฒนาของเทคโนโลยีวัคซีนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการรับมือกับเชื้อต่างสายพันธุ์เหล่านี้ และนี่อาจเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานระหว่างวัคซีนสำหรับเชื้อต่างสายพันธุ์”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ออสเตรเลียเตรียมห้องเรียนอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด


Share
Published 6 October 2021 4:47pm
Updated 6 October 2021 4:58pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends